สรุปข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (ทั่วประเทศ) ตามที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้แถลงไปเมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2563 โดยมีผลบังคับใช้ วันที่ 26 มีนาคม 2563 – 30 เมษายน 2563 และรวมคำถามคำตอบที่หลาย ๆ คน สงสัย สิ่งใดที่ห้ามทำ ให้ทำ และควรทำ มาให้ทุกคนได้อ่านแบบกระชับ เข้าใจง่าย
สรุป! พ.ร.ก. ฉุกเฉิน แบบกระชับ เข้าใจง่าย
[สรุปฉบับที่ 1] : ข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (ทั่วประเทศ)
- มีผลบังคับใช้ วันที่ 26 มีนาคม 2563 – 30 เมษายน 2563
📍 คำสั่งข้อกำหนดแบบสรุป
❌ ห้ามทำ
ห้ามเข้าพื้นที่เขตกำหนด
เช่น ตามที่เขตพื้นที่ ผู้ว่าฯกทม.สั่งปิดสถานบันเทิง สนามมวย สนามกีฬา หรือ ผู้ว่าฯต่างจังหวัดสั่งปิดสถานบันเทิง ประกาศก่อนหน้านี้ เป็นต้น
- (ก่อนหน้านี้บางจังหวัดไม่ได้มีคำสั่งปิดสถานที่ #แต่ตอนนี้ต้องมีคำสั่งปิด เพราะเป็นกรณีการป้องกัน แต่ไม่จำเป็นต้องสั่งปิดหรือห้ามเหมือนกันหมดทุกแห่งอยู่ที่ท่านจะพิจารณา)
- แต่มีสถานที่บางอย่างที่ไม่ได้ห้าม แต่ให้พิจารณาไว้ก่อนตามความเหมาะสม เช่น สถานที่สาธารณะ แหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติ เช่น ชายหาดบางแสน หัวหิน พัทยา ชายหาดสัตหีบ ให้ผู้ว่าฯ พิจารณาตามความเหมาะสม เพราะบางแห่งไม่มีคนไป บางแห่งมีคนไปมั่วสุมจำนวนมาก บางแห่งมีชาวต่างชาติ หรือศาสนสถาน
ห้ามคนทั้งหลาย เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ไม่ว่าจะมาทางบก เรือ อากาศ
- ยกเว้น ผู้มีสัญชาติไทย แต่ต้องมีเอกสารใบรับรองแพทย์ fit-to-fly health certificates) ถ้าหาใบรับรองแพทย์ไม่ได้ให้ติดต่อสถานทูต
ผู้ที่เข้าประเทศไทยมาได้
- คณะทูตประจำประเทศไทย
- ผู้ส่งสินค้าเสร็จแล้วกลับออกไปโดยเร็ว (มีเวลาจำกัด)
- ผู้ที่มาจากยานพาหนะ เช่น คนขับรถ นักบิน สจ๊วต แอร์โฮสเตส
- บุคคลที่ได้รับการยกเว้นจาก นายกรัฐมนตรี หรือ หัวหน้าผู้รับผิดชอบ
ห้ามชุมนุม คนหมู่มาก
- (เว้นแต่ปฏิบัติตามมาตราการการป้องกันที่ถูกต้องตามหลักการแพทย์)
- ห้ามเผยแพร่ข่าวเท็จ ข่าวลวง ข่าวปลอม ทำให้ตื่นตระหนกเกี่ยวกับโควิด-19
✅ ให้ทำ หรือ ให้เตรียม
(ไม่มีตรงไหนบังคับประชาชน แต่บังคับส่วนราชการ) เช่น
- ให้กระทรวง ทบวง กรม หน่วยงานของรัฐ เตรียมมาตราการช่วยเหลือประชาชน
- ให้ส่วนราชการหน่วยงานต่างๆ เตรียมโรงพยาบาลสนาม เตรียมสถานที่อื่นๆเป็นสถานที่รับผู้ป่วย เตรียมหายา เตรียมหาเวชภัณฑ์
🤝 ควรทำ
ข้อกำหนด ฉบับที่ 1 เป็นคำแนะนำประชาชน (แต่ให้ระวังข้อกำหนดฉบับที่ 2 และ 3 แต่ตอนนี้ยังไม่ประกาศ)
คำว่า “ควร” จะยกเป็น “ห้าม” หรือ “สั่งให้ทำ” ทันที
- สำหรับประชาชนนั้น “ควรอยู่บ้าน” ควรที่จะไม่ออกนอกบ้าน (ในเวลานี้ไม่ได้สั่งห้ามแต่ก็จวนแล้ว เตือนไว้ก่อน)
- บุคคล 3 ประเภท ต่อไปนี้เป็นบุคคลที่ทางการแพทย์ได้ระบุว่ามีความเสี่ยงต่อการติดโรคสูงมาก #จึงขอให้อยู่บ้าน (เว้นแต่ออกไปทำธุรกิจ ธุรกิจกรรมบางอย่างที่จำเป็น)
- ผู้สูงอายุ 70 ปี ขึ้นไป
- บุคคลที่มีโรคประจำตัว ตามที่ระบุ เช่น โรคเบาหวาน โรคปอด โรคทางเดินหายใจ เป็นต้น
- เด็กเล็ก ต่ำกว่า 5 ขวบ
การเดินทางข้ามจังหวัด
- ตอนนี้ยังอยู่ในมาตราการ “ควร” #ยังสามารถเดินทางได้แต่ว่ามีขั้นตอนที่ยุ่งยากมากขึ้น
- มีด่านมากขึ้นและตรวจสอบว่าบุคคลในรถมีการนั่ง ยืน เว้นระยะห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร หรือไม่?
- ผู้โดยสารทุกคน สวมหน้ากากอนามัย หน้ากากผ้า หรือไม่?
- เรียกลงมาตรวจวัดอุณหภูมิ ร่วมทั้งอาจจะใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ
- ตรวจดูว่าดื่มสุรา สังสรรค์มาหรือไม่?
- อาจจะติดตั้งแอปพลิเคชันติดตามตัว
- สำคัญสุด คือ บัตรประจำตัวประชาชน
- กรอกใบฟอร์ม บ้านอยู่ที่ไหน? จะไปไหน? เบอร์โทรอะไร? (ถ้าในรถมีผู้โดยสารคนใดติดเชื้อโควิด-19 จะได้ติดตามตัวผู้สัมผัสได้ทันที)
📍 สถานที่ที่รัฐบาลสนับสนุนให้เปิด (อย่าปิด)
- เช่น โรงงาน
- ธนาคาร , ตู้ ATM
- ร้านอาหาร (แต่ให้ซื้อกลับบ้าน)
- ห้างสรรพสินค้าให้เปิดเฉพาะแผนกซุปเปอร์มาร์เก็ต แผนกอาหาร แผนกยา แผนกสินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวัน
- การบริการขนส่งสินค้า
- การซื้อหาอาหารยังทำได้เป็นปกติ
- แต่ห้ามกักตุนสินค้า
- ธุรกิจหลักทรัพย์ สถาบันการเงิน
- สถานที่ราชการ (เปิดปกติ)
- โรงพยาบาล
- ร้านขายยา
- คลินิก
- ธุรกิจเดลิเวอรี่
📍 ฉบับที่ 2 และฉบับที่ 3 ยังไม่ออกแต่ถ้าออกจะเข้มข้นขึ้น
รวมคำถามข้อสงสัยเกี่ยวกับ พ.ร.ก ฉุกเฉิน
❓ ปิดประเทศหรือยัง?
- ตอบ : ยังไม่ปิด เพราะเราเปิดให้คนไทยกลับเข้ามาได้
❓ ปิดเมือง ปิดข้ามจังหวัดหรือยัง?
- ตอบ : ยัง ยังเดินทางได้อยู่ (แต่จะยุ่งยากลำบากในการเดินทาง เพราะจะมีด่านตรวจสอบอยู่)
❓ ประกาศเคอร์ฟิว หรือยัง?
- เคอร์ฟิว คือ ห้ามออกจากสถานที่ (โดยมีเวลากำหนด)
- ตอบ : ยังไม่ได้ประกาศเคอร์ฟิว
- เคอร์ฟิว กับ การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน แต่การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เพียงให้รัฐมีอำนาจ
- ยังออกจากบ้านได้ (เว้นแต่บุคคล 3 ประเภท คือ ผู้สูงอายุ 70 ปีขึ้นไป เด็กเล็กต่ำกว่า 5 ขวบ และบุคคลมีโรคประจำตัว ตามที่แพทย์กำหนด เช่น โรคไต โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคตับแข็ง เป็นต้น)
❓ ทำไมไม่ตั้งรัฐมนตรีมาเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบ ทำไมตั้งปลัดกระทรวง?
- ตอบ : ใน พ.ร.ก. ได้กำหนดไว้ว่าต้องมีหัวหน้าผู้รับผิดชอบ โดยแต่งตั้งข้าราชการประจำ ซึ่งมีตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดี
❓ แล้วรัฐมนตรีประจำกระทรวงล่ะ?
- ตอบ : ยังปฏิบัติงานอยู่โดยเฉพาะด้านนโยบาย ส่วนอำนาจหน้าที่ยังคงมีเหมือนเดิม แต่ปลัดกระทรวงจะทำงานในด้านนี้และลงลึกไปอีก