กำจัดไข้เลือดออก ด้วยพลังชุมชน

“ไข้เลือดออก” เป็นปัญหาที่ผูกผันมากับประเทศไทยอย่างยาวนานมาก ด้วยสภาพแวดล้อมของประเทศเราเป็นเขตร้อนชื้นเหมาะแก่การเพาะพันธุ์ของประชากรยุง และทำให้ร่างกายของเจ้ายุงแข็งแกร่ง กระทั่งเมื่อปี 2559 ได้มีมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๙ “สานพลังปราบยุงลาย โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน” จากความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม ทบทวนวงจรชีวิตยุงลาย ก่อนที่จะมา…

Home / NEWS / กำจัดไข้เลือดออก ด้วยพลังชุมชน

“ไข้เลือดออก” เป็นปัญหาที่ผูกผันมากับประเทศไทยอย่างยาวนานมาก ด้วยสภาพแวดล้อมของประเทศเราเป็นเขตร้อนชื้นเหมาะแก่การเพาะพันธุ์ของประชากรยุง และทำให้ร่างกายของเจ้ายุงแข็งแกร่ง กระทั่งเมื่อปี 2559 ได้มีมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๙สานพลังปราบยุงลาย โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน” จากความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม

ทบทวนวงจรชีวิตยุงลาย

ก่อนที่จะมา สานพลังปราบยุงลาย โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน เรามาทบทวนความจำกับวงจรชีวิตยุงกันก่อนดีกว่า

วงจรชีวิตยุง ประกอบด้วย ไข่ > ลูกน้ํา > ตัวโม่ง > ยุงเต็มวัย ซึ่งจะมีวงจรชีวิต 9-14 วัน (ตัวเมียอายุประมาณ 1-3 เดือน ตัวผู้อายุประมาณ 6-7 วัน) เมื่อยุงตัวเมียอายุได้ 2-3 วันจึงเริ่มออกกินเลือดเพื่อเข้าสู่วงจรวางไข่อีกครั้ง

ทำไมถึงปราบยุงลายไม่สำเร็จ!!?

หากพิจารณาแนวทางและวิธีการควบคุมและกําจัดลูกน้ําและยุงลายอย่างครบวงจรชีวิตแล้ว การปฏิบัติยังไม่จริงจัง ไม่ทั่วถึง และไม่ยั่งยืน ทั้งที่การแก้ปัญหา ยุงลาย จําเป็นต้องมีความต่อเนื่อง โดยที่แต่ละคนมีส่วนร่วมและรับผิดชอบ ทั้งนี้เพราะเป็นปัญหาที่เกิดจากพฤติกรรมของคนที่ขาดการร่วมกันดูแลสิ่งแวดล้อมที่มี ลูกน้ํา ยุงลาย อยู่ในบริเวณชุมชุน

ควบคุมความรุนแรงของสถานการณ์โรคไข้เลือดออก

สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก และไข้ติดเชื้อไวรัสซิกา อาจจะก่อความเสียหายรุนแรง ทางสุขภาพ และเศรษฐกิจ หากไม่ได้สานพลังทุกภาคส่วนที่จะปราบลูกน้ํากำจัดยุงลายด้วยกระบวนการมี ส่วนร่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากภาคประชาชน ให้เกิดความทั่วถึงทั้งประเทศ และยั่งยืนถาวร

การควบคุมปัญหาโรคติดต่อที่นําโดยยุงลาย จําเป็นต้องอาศัยการขับเคลื่อนทั้งใน ระดับประเทศ ระดับจังหวัด องค์กร เครือข่าย ชุมชน สังคม ครอบครัว และตัวบุคคล รวมทั้งการนํากระบวนการทางกฎหมายที่มีอยู่มาใช้บังคับ เช่น การดูแลสิ่งแวดล้อม ธรรมนูญสุขภาพ กองทุนสุขภาพในระดับพื้นที่ ระบบสุขภาพอําเภอ กระบวนการสมัชชาสุขภาพจึงเป็นเครื่องมือสําคัญในการสานพลังเครือข่ายทุกระดับเพื่อขับเคลื่อนงานสู่รูปธรรม

ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน

โดยภาคีเครือข่ายสมัชชาสุขภาพและองค์กรภาคีที่เกี่ยวข้อง จึงร่วมกันดําเนินการพัฒนามาตรการของพื้นที่ ในการดําเนินการปราบยุงลายอย่างครบ วงจร ทั่วถึงและยั่งยืน โดยเริ่มจากการเสริมสร้างความมีระเบียบวินัยให้กับประชาชน เพื่อความปลอดภัยของตนเอง และครอบครัว ใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมและความรับผิดชอบของทุกภาคส่วน ตลอดจนการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ทุกระดับ ตั้งแต่ระดับบุคคลจนถึงระดับชุมชน ขณะเดียวกัน คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.) ก็ได้กําหนดให้การปราบยุงลายเป็นเป้าหมายการดําเนินงาน โดยเชื่อมโยงกลไกการปราบยุงลายของจังหวัดกรุงเทพมหานคร

ในพื้นที่เขตสุขภาพเพื่อประชาชนนั้นๆ รวมถึงการติดตาม ประเมินผล และรายงานผลให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ

นอกจากนี้ ยังมีสํานักงานสาธารณสุขจังหวัด สํานักอนามัย กรุงเทพมหานคร ร่วมกับ ศูนย์ควบคุม โรคติดต่อนําโดยแมลง หรือสํานักงานป้องกันควบคุมโรค หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด สถาบันการศึกษาในพื้นที่ หน่วยงานด้านสาธารณสุขภาครัฐทุกระดับในจังหวัด

สนับสนุนองค์ความรู้

เพื่อการสนับสนุนองค์ความรู้ด้านวิชาการ และกระบวนการในการปราบยุงลายอย่างมีส่วนร่วม เช่น การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม และองค์ความรู้ในเรื่องโรคติดต่อนําโดยแมลง ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทุกระดับ สํานักงานปกครองจังหวัด สํานักงานท้องถิ่นจังหวัด ภาคีเครือข่ายสุขภาพภาคประชาชน และหน่วยงานหรือองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

พร้อมประสานความร่วมมือกันระหว่างสํานักงานปกครองจังหวัด สํานักงานท้องถิ่นจังหวัด ทําให้เกิดแผนการดําเนินกิจกรรมที่ชัดเจนในทุกระดับ ส่งเสริมและพัฒนาให้เกิดการเรียนการสอน หรือการอบรมเกี่ยวกับการปราบยุงลายในท้องถิ่น

‘สานพลังปราบยุงลาย โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน’

  1. สมาชิกเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัด ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน และภาคประชาชน จึงร่วมกันพิจารณาดําเนินการโดยกระบวนการสมัชชาสุขภาพพื้นที่ ให้เกิดนโยบายสาธารณะ ระดับจังหวัดเพื่อ สานพลังปราบยุงลาย โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน เริ่มจากการดําเนินงานกําจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ในบ้านรอบบ้าน และพื้นที่สาธารณะอย่างเป็นรูปธรรม จริงจังและต่อเนื่อง เช่น ส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการทางธรรมชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น, รวมกลุ่มสร้างเครือข่าย และหมู่บ้านปลอดลูกน้ํายุงลาย เป็นต้น
  2. สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการจัดทําข้อกําหนดท้องถิ่น (ข้อบัญญัติท้องถิ่น หรือเทศบัญญัติ) ให้มีมาตรการปราบยุงลายโดยชุมชน พร้อมทั้งปฏิบัติตามอย่างจริงจัง เช่น การกําจัดแหล่ง เพาะพันธุ์ยุงลาย การกําจัดขยะ ในทุกพื้นที่ อย่างเป็นระบบ ทั่วถึงและยั่งยืน เป็นต้น
  3. เข้าร่วมในระบบสุขภาพอําเภอ ในการประสานติดตาม ประเมินผล สนับสนุนการขับเคลื่อน ในพื้นที่ทุกระดับอย่างจริงจังอย่างเป็นรูปธรรม เช่น การจัดทําธรรมนูญสุขภาพระดับตําบล และกลไกอําเภอ ควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน เป็นต้น
  4. สนับสนุนให้นํามาตรการปราบยุงลายโดยชุมชน กําหนดไว้ในธรรมนูญสุขภาพระดับพื้นที่

การช่วยเหลือจากองค์กรต่างๆ  

นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค ยังเป็นหน่วยงานหลัก ประสานงาน กับ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์

กระทรวง การท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวง อุตสาหกรรม กระทรวงกลาโหม กระทรวงแรงงาน กรุงเทพมหานคร สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศ ไทย สํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ องค์กรด้านศาสนาอื่น ๆ และชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขแห่ง ประเทศไทย

รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ องค์กรภาคเอกชน และประชาสังคมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันดําเนินการ จัดทําแผนปฏิบัติงานและแนวทางการดําเนินงาน ในการปราบยุงลายแบบบูรณาการทุกภาค ส่วนโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน ให้เสร็จภายใน ๑ ปี รวมถึงประสานและสนับสนุนการปราบยุงลายในพื้นที่รับผิดชอบอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดําเนินงาน มีการติดตาม ประเมินผล และรายงานผลเป็นระยะ อย่างน้อยปีละสอง ครั้ง และเผยแพร่ต่อสาธารณะ

 ซึ่งกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงสาธารณสุข จะคอยสนับสนุนให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกข้อบัญญัติท้องถิ่นหรือเทศบัญญัติ โดยอาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติการ สาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๔ ในการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ในพื้นที่รับผิดชอบ เช่น สถานที่ก่อสร้าง สถานที่รกร้างว่างเปล่า สถานที่รวบรวมขยะ แค้มป์คนงานก่อสร้าง ที่พักอาศัยชั่วคราว และบ้านเช่า เป็นต้น สนับสนุนให้เกิดการบังคับใช้อย่างจริงจัง

ขณะที่ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนการดําเนินการ วิจัยและพัฒนา สานพลังปราบยุงลาย โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน และเผยแพร่ข้อมูลผลงานวิจัยให้ประชาชนและ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ

กระทรวงสาธารณสุข สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สํานักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ สํานักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และกรุงเทพมหานครโดยสํานักอนามัย ส่งเสริม สนับสนุน และประชาสัมพันธ์ การสานพลังปราบยุงลาย โดยใช้พื้นที่เป็นฐานด้วยกลไกเครื่องมือ บุคลากรที่มีอยู่ โดยให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนด้วย

หลังจากนั้นเป็นต้นมา คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จะมาร่วมกับกรมควบคุมโรค จัดประชุมขับเคลื่อนมติและกระตุ้นการทำงานระดับจังหวัด และใช้เครื่องมือกระบวนการทำงานต่างๆ ให้เกิดประโยชน์ เช่น สมัชชาสุขภาพจังหวัด ธรรมนูญสุขภาพตำบล และระบบสุขภาพอำเภอ (District Health System: DHS) สืบไป

ติดตามพื้นที่ตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จในการจัดการลูกน้ำยุงลาย ในคลิป ปฏิบัติการลุก ปลุก เปลี่ยน 3 ตอน นวัตกรรมธงสามสี ปราบลูกน้ำยุงลาย ได้ที่ Youtube : Healthstation official https://www.youtube.com/watch?v=pY4gcw4h3ZA

ขอบคุณข้อมูลจาก : เอกสารมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 9 https://www.nationalhealth.or.th/node/1901 https://www.samatcha.org/sites/default/files/document/0904_Res_9_4.pdf