รถเมล์

คมนาคม ผุดไอเดียติดเครื่องฟอกอากาศบนรถเมล์ ด้าน อ.เจษฯ ไม่เห็นด้วย

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ออกเปิดเผยว่า ขณะนี้กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) อยู่ระหว่างหารือร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ในการจัดทำเครื่องฟอกอากาศเคลื่อนที่…

Home / NEWS / คมนาคม ผุดไอเดียติดเครื่องฟอกอากาศบนรถเมล์ ด้าน อ.เจษฯ ไม่เห็นด้วย

ประเด็นน่าสนใจ

  • คมนาคมคิดแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ด้วยการติดตั้งเครื่องฟอกอากาศบนหลังคารถเมล์
  • โดยใช้หลักการเคลื่อนที่ของรถ เพื่อนำอากาศเข้ามาในท่อ และมีไส้กรองอากาศ
  • ด้าน อ.เจษฯ ไม่เห็นด้วย เพราะเหมือนการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำใช้ไม่ได้จริง
  • ชี้หากอยากแก้ปัญหาจริง ควรเปลี่ยนหันมาใช้รถไฟฟ้าแทน

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ออกเปิดเผยว่า ขณะนี้กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) อยู่ระหว่างหารือร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ในการจัดทำเครื่องฟอกอากาศเคลื่อนที่ ซึ่งจะติดบนหลังคารถ

โดยจะเริ่มติดตั้งกับรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ นำร่องเส้นทางละ 3 คัน ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 129 เส้นทาง ทั่วกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมแล้วประมาณ 387 คัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5

สำหรับเครื่องฟอกอากาศเคลื่อนที่ จะใช้หลักการเคลื่อนที่ของรถเพื่อนำอากาศเข้ามาในท่อ และมีไส้กรองอากาศ ซึ่งในสัปดาห์หน้าจะเริ่มทดลองให้รถเมล์ ขสมก.ติดตั้งบนหลังคา ในการทดสอบค่าของอากาศว่าเครื่องดังกล่าวสามารถฟอกได้ตามทฤษฎีหรือไม่ เพื่อเป็นต้นแบบที่จะใช้กับรถคันอื่นๆ ต่อไป และขยายผลไปในพื้นที่ต่างจังหวัดต่อไปด้วย

ทั้งนี้ จากการทดสอบแบบจำลองสถานการณ์ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่าหากรถวิ่งด้วยความเร็ว 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะฟอกอากาศได้ 2 หมื่นคิวต่อ 1 ชั่วโมง ต่อ 1 คัน ซึ่งคนปกติจะใช้อากาศบริสุทธิ์หายใจประมาณ 0.5 คิวต่อชั่วโมง ซึ่งรถเมล์ 1 คัน หากวิ่ง 1 ชั่วโมง อากาศบริสุทธิ์จะรองรับคนได้ 40,000 คน

ทั้งนี้หลังจากข่าวดังกล่าวได้เผยแพร่ออกไป ทำให้ อ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความไม่เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว เพราะเป็นเหมือนการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ สิ้นเปลืองงบประมาณ และหากจะแก้ไขปัญหาฝุ่งพิษจริง ก็ควรเปลี่ยนเป็นรถไฟฟ้าแทน

ไปกันใหญ่แล้วครับ มีการเด้งรับไอเดียกันด้วย … ทำเครื่องฟอกอากาศในสภาพพื้นที่เปิด แบบบนหลังคารถเมล์อย่างนั้น มันตำน้ำพริกละลายแม่น้ำชัดๆ นอกจากจะเปลืองงบประมาณแล้ว ยังแสดงถึงความเขลาทางวิชาการด้วยนะครับ

เอาเครื่องฟอกอากาศที่คิดจะไปติดบนหลังคารถเมล์นั้น ลงมาติดในห้องผู้โดยสารของพวกรถเมล์ปรับอากาศ (ที่เวลาส่วนใหญ่จะปิดประตูไว้ ทำให้เหมือนกับเป็นสภาพพื้นที่ปิด) ยังจะมีประโยชน์มากกว่ามากครับ

และถ้าผู้บริหารทางกระทรวงคมนาคมและ ขสมก. มีวิสัยทัศน์ มีกึ๋นจริง ก็ควรจะต้องมีแผนการเปลี่ยนรถเครื่องยนต์สันดาปดีเซลทั้งหมด ให้กลายเป็นรถเมล์ไฟฟ้าได้แล้วครับ นั่นคือทางออกเดียวที่จะแก้ปัญหานี้ได้อย่างยั่งยืน

อ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์