ประชุมสภา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ

ตามนัด! ฝ่ายค้านวอล์กเอาท์ ลงมติร่าง พ.ร.บ. งบปี 63 รอบสอง

วันนี้ ที่ สัปปายะสภาสถาน ห้องประชุม รัฐสภาแห่งใหม่ ถนนเกียกกาย นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุมสภาฯ เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 เป็นรายมาตราในวาระที่ 2-3 วงเงิน…

Home / NEWS / ตามนัด! ฝ่ายค้านวอล์กเอาท์ ลงมติร่าง พ.ร.บ. งบปี 63 รอบสอง

ประเด็นน่าสนใจ

  • การลงมติเฉพาะวาระ 2 และ 3 ของร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ 63 เป็นกระบวนการใหม่จากการคำวินิจฉัยของศาล รธน.
  • ประธานสภาฯ ย้ำเป็นเรื่องที่ชอบด้วยกฎหมาย

วันนี้ ที่ สัปปายะสภาสถาน ห้องประชุม รัฐสภาแห่งใหม่ ถนนเกียกกาย นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุมสภาฯ เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 เป็นรายมาตราในวาระที่ 2-3 วงเงิน 3,200,000 ล้านบาท

โดยการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ไม่มีฝ่ายค้านเข้าร่วม หลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยกรณี ส.ส. เสียบบัตรแทนกัน ระหว่างการลงมติ ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ว่าไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และสั่งให้มีการลงคะแนนใหม่เฉพาะในวาระ 2 และ 3 ใหม่

ซึ่ง ส.ส.พรรคฝ่ายค้าน นำโดยพรรคเพื่อไทย ต่างร่วมลงชื่อเป็นองค์ประชุม แต่หลังจากนั้นได้ออกจากห้องประชุมโดยไม่ร่วมลงมติแต่อย่างใด แม้ ส.ส. ฝ่ายค้านมีสิทธิ “อภิปรายซ้ำ” แต่ ฝ่ายค้านก็ไม่ประสงค์จะร่วมสังฆกรรม

ด้าน นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ฝ่ายค้านคนแรกมาลงชื่อเป็นองค์ประชุมตั้งแต่ 07.35 น. เพราะตั้งใจอย่างเต็มที่ให้ประเทศมีกฎหมายงบประมาณใช้ แต่รัฐบาลกลับยังมาไม่ถึง 200 คน อีกทั้งยังเตือน ส.ส. ฝ่ายค้านว่า อย่าทิ้งบัตรไว้ในช่องเสียบบัตรตอนวอล์กเอาท์

จิรายุ ห่วงทรัพย์

ขณะที่ น.ส.พรรณิการ์ วานิช ส.ส.บัญชีรายชื่ออนาคตใหม่ ได้ลุกขึ้นกล่าวว่า การที่สภาต้องเสียเวลามาพิจารณาเรื่องนี้ทั้งที่มีการลงมติเสร็จไปแล้ว เรื่องความรับผิดชอบของบุคคลจากการเสียบบัตรแทนกันเป็นเรื่องต้องพิจารณา

แต่ที่สำคัญคือมาจากคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่สั่งให้สภาดำเนินการ ซึ่งตามหลักประชาธิปไตย ยึดหลักว่าอำนาจสูงสุดเป็นของรัฐสภา แม้มีการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจอธิปไตย 3 ฝ่ายได้

แต่คำถามคือ “ศาลมีอำนาจเหนือสภาหรือไม่” และ “คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญขัดต่อรัฐธรรมนูญเองหรือไม่ เพราะท่านบอกว่าร่าง พ.ร.บ. ไม่ชอบ แต่ไม่เป็นโมฆะ ดังนั้นจึงอยากให้สภาที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนยืนยันหลักการเอาไว้

อย่างไรก็ดี นายชวน หลีกภัย ประธานสภาฯ ได้กล่าวชี้แจงว่าที่มาที่ไปของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ว่าเป็นเรื่องที่สภาขอให้ศาลวินิจฉัย ไม่ใช่อยู่ดี ๆ ศาลรัฐธรรมนูญจะมายุ่งกับสภา และเรื่องนี้ประธานสภาผู้แทนราษฎรไม่สามารถวินิจฉัยเองได้ จึงรับเรื่องจากสมาชิกแล้วส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย และคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันทุกองค์กร หลีกเลี่ยงไม่ได้

ส่วนกรอบเวลาพิจารณา 105 วันนั้น ซึ่งครบวันที่ 19 ม.ค.63 ถือว่าสภาได้ปฏิบัติถูกต้องแล้ว เพราะพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ ปี 63 เสร็จสิ้นตั้งแต่วันที่ 11 ม.ค. 63 ส่วนกระบวนการที่เกิดขึ้นวันนี้ เป็นกระบวนการใหม่อันเกิดจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

ซึ่งก่อนบรรจุระเบียบวาระ ได้หารือกับหลายฝ่ายอย่างทั่วถึง สิ่งทำเป็นไปตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และดำเนินการถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ

ทั้งนี้ ถ้าดุลพินิจในการทำงานครั้งนี้ผิดพลาด ผมต้องร่วมรับผิดชอบ พร้อมย้ำอีกว่า เรายึดกฎหมาย อย่าคิดว่าเราเสียเกียรติไหม การเคารพกฎหมายบ้านเมืองเป็นความมีเกียรติอย่างยิ่ง แต่ละฝ่ายมีอำนาจของตัวเอง เราไม่ได้อยู่ในฐานะต้องปฏิบัติตามตุลาการศาลรัฐธรรมนูญโดยไม่มีเหตุผล ตุลาการไม่มีสิทธิมาก้าวก่ายเรา หากเราไม่ขอไป

.