ก่วมแดง ภูกระดึง

รู้จัก ต้นก่วมแดง พรรณไม้ที่มีชื่อเสียงที่สุดของ ภูกระดึง

อุทยานแห่งชาติภูกระดึง ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ 2 ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2505 ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย ครอบคลุมพื้นที่ 217,576.25 ไร่…

Home / NEWS / รู้จัก ต้นก่วมแดง พรรณไม้ที่มีชื่อเสียงที่สุดของ ภูกระดึง

อุทยานแห่งชาติภูกระดึง ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ 2 ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2505 ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย ครอบคลุมพื้นที่ 217,576.25 ไร่ มีดอกไม้พรรณไม้สวยแปลกตาหลายชนิด หนึ่งในนั้นมี ต้นก่วมแดง หรือที่ทุกคนนิยมเรียกว่า ใบเมเปิ้ล เป็นหนึ่งในพรรณไม้สวยงามที่มีชื่อเสียงของภูกระดึง ในบทความนี้มีข้อมูลเกี่ยวกับพรรณไม้ชนิดนี้มาให้ได้อ่านกัน

รู้จัก ต้นก่วมแดง

ลักษณะของ ต้นก่วมแดง

ภาพจาก : สำนักอุทยานแห่งชาติ – National Parks of Thailand, สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 11 (พิษณุโลก)หมายเหตุ ภาพนี้เป็นต้นใบเมเปิ้ลแดง ณ อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า
  • ก่วมแดง หรือ ไฟเดือนห้า มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Acer calcaratum Gagnep. ชื่อวงศ์ คือ ACERACEAE และมีชื่อเรียกพื้นเมือง ได้แก่ ก่วมแดง, ไฟเดือนห้า, เมเปิลแดง, มะเยาดง (เลย) เป็นพืชในสกุลเมเปิล วงศ์เงาะ
  • เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ สูงได้ถึง 12-25 ม. ลำต้นแตกกิ่งต่ำ เปลือกเรียบ สีเทาอมน้ำตาล เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกลมยาว
  • ใบเว้าเป็น 3 แฉก ปลายใบแหลม ขอบเรียบ โคนใบเว้าตรงรอยต่อก้านใบชัดเจน ใบด้านกว้างส่วนมากยาวกว่าด้านยาว ยาว 6-15 ซม. โคนกลมหรือเว้าตื้น ขอบเรียบ เส้นแขนงใบรูปฝ่ามือ
  • ก้านใบยาว 1.5-4.5 ซม. เปลี่ยนเป็นสีแดงก่อนร่วง ช่อดอกแบบช่อเชิงหลั่นออกสั้น ๆ ตามปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีแดง ยาวประมาณ 2 มม. ด้านนอกมีขนสั้นนุ่ม
  • ลักษณะของดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว ฐานดอกมีต่อมน้ำหวานรูปวงกลมสีแดง ช่อดอกสั้นออกตามปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงก้านดอกยาว 1.5-2 ซม. ก้านชูอับเรณูยาว 3-4 มม.
  • ในดอกเพศผู้ อับเรณูสีแดง จานฐานดอกอยู่ด้านนอกวงเกสรเพศผู้เกลี้ยง
  • ผลแห้ง รูปไข่ กว้างประมาณ 7 มม. ยาวประมาณ 5 มม. ปีกยาว 3-5 ซม. แต่ละช่อมีผล 1-4 ผล ช่อผลตั้ง ชูผลขึ้นข้างบน

แหล่งกระจายพันธ์ุ / พบได้ที่ไหนในไทย

ก่วมแดง มีเขตการกระจายพันธุ์ที่แคบ สภาพนิเวศน์ที่ชอบคือ ชอบขึ้นตามป่าดิบเขาหรือตามริมลำธาร บนภูเขาหินทราย ลำธารบนภูเขา ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,300-2,200 เมตร

ภาพจ่าก : สำนักอุทยานแห่งชาติ – National Parks of Thailand, สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 11 (พิษณุโลก)หมายเหตุ ภาพนี้เป็นต้นใบเมเปิ้ลแดง ณ อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า

การกระจายพันธุ์ที่ต่างประเทศ ส่วนมากพบใน พม่า, เวียดนามตอนเหนือ และประเทศจีน (ยูนนาน) ในประเทศไทยจะพบทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดน่าน (ดอยภูคา ภูเข้ และอุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน) ภาคกลางพบที่ภูหินร่องกล้า และภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดเลย (ภูกระดึงและภูหลวง)

ช่วงเวลาใบเปลี่ยนสี

ก่วมแดง จะออกดอกเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม และผลจะแก่เดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน สำหรับนักท่องเที่ยวที่อยากไปชมภาพความงดงามในช่วงเวลาใบเมเปิ้ลเปลี่ยนสีจากสีเขียวเป็นสีแดง หรือไม่ก็สีแดงอิฐ และใบร่วงหล่นจากต้นลงสู่พื้นดินอย่างสวยงาม แนะนำให้ไปในช่วงฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงเดือนธันวาคม-ต้นกุมภาพันธ์

ภาพ : th.aectourismthai.com

บทความแนะนำ