คลิปเสียง คลิปเสียงปลอม ทักษิณ ธนาธร พรรคอนาคตใหม่

สมาคมนักข่าวฯ ออกแถลงการณ์ หลังเกิดกรณีคลิปเสียงปลอมธนาธร

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์ร่วม หลังเกิดกรณีคลิปเสียงปลอมธนาธร-ทักษิณ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย Thai Journalists Association ได้ออกแถลงการณ์ร่วม ขอให้สื่อมวลชนต้องใช้ “เสรีภาพบนความรับผิดชอบ” ร่วมสกัดกั้นข่าวปลอม แถลงการณ์ระบุว่า จากกรณีที่รายการข่าวข้นคนเนชั่น ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์เนชั่นทีวี เมื่อคืนวันอังคารที่…

Home / NEWS / สมาคมนักข่าวฯ ออกแถลงการณ์ หลังเกิดกรณีคลิปเสียงปลอมธนาธร

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์ร่วม หลังเกิดกรณีคลิปเสียงปลอมธนาธร-ทักษิณ

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย Thai Journalists Association ได้ออกแถลงการณ์ร่วม ขอให้สื่อมวลชนต้องใช้ “เสรีภาพบนความรับผิดชอบ” ร่วมสกัดกั้นข่าวปลอม

แถลงการณ์ระบุว่า

จากกรณีที่รายการข่าวข้นคนเนชั่น ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์เนชั่นทีวี เมื่อคืนวันอังคารที่ 19 มีนาคม ที่ผ่านมา นำเสนอคลิปเสียงสนทนาของคนสองคนเกี่ยวกับการต่อรองตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งไม่มีที่มาแน่ชัด จนถูกตั้งคำถามว่าเป็นคลิปเสียงปลอมที่มีการตัดต่อมาหรือไม่

ต่อมามีการนำประเด็นจากคลิปเสียงดังกล่าวไปสัมภาษณ์นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งบทสัมภาษณ์เป็นไปในทำนองตำหนิการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน จากนั้นผู้บริหารเนชั่นได้ออกแถลงการณ์ยืนยันในหลักการและมาตรฐานวิชาชีพข่าว และต่อมาผู้ประกาศข่าวที่นำคลิปเสียงมานำเสนอได้ยอมรับในรายการเดิมเมื่อคืนวันที่ 20 มีนาคม พร้อมทั้งขอโทษเพราะไม่ทราบว่าคือคลิปเสียงปลอม

สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติในฐานะองค์กรวิชาชีพสื่อ เฝ้าติดตามและรับทราบถึงเสียงสะท้อนที่เต็มไปด้วยความห่วงใยจากเพื่อนร่วมวิชาชีพ เห็นว่า สังคมในปัจจุบันที่เป็นโลกแห่งข้อมูลข่าวสารออนไลน์และโซเชียลมีเดีย ดังนั้นสื่อมวลชนต้องใช้เสรีภาพบนความรับผิดชอบมากขึ้น ต้องพร้อมให้ความเป็นธรรมกับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการนำเสนอข่าวตามหลักจริยธรรมแห่งวิชาชีพ และพร้อมน้อมรับคำแนะนำ การวิพากษ์วิจารณ์ และการถูกตรวจสอบจากสังคมที่มีความเข้มข้นมากขึ้น

นอกจากนี้ สื่อมวลชนยังต้องคำนึงถึงมาตรฐานวิชาชีพที่บัญญัติไว้ในข้อบังคับจริยธรรมของสภาวิชาชีพต่างๆ ทั้งที่มีอยู่เดิม และที่เพิ่มเติมตามสถานการณ์ปัจจุบันโดยสื่อมวลชนไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ หรือสื่อออนไลน์ ต้องทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบ กลั่นกรองข้อมูล ข่าวลือ ข่าวลวง ข่าวปลอม (Fake news หรือ Disinformation) ก่อนการนำเสนอ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ในระดับสากล จนกลายเป็นอีกภารกิจหลักขององค์กรสื่อ และสื่อมวลชนทุกแขนงในการสกัดกั้นข่าวลือ ข่าวลวง ไม่ให้แพร่กระจายออกไปในวงกว้าง โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง เพื่อไม่ตกเป็นเครื่องมือทางการเมืองของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และนำเสนอข่าวสารอย่างถูกต้องเป็นที่น่าเชื่อถือของสังคมต่อไป