ข่าวสดวันนี้ ปารีณา ไกรคุปต์

ปารีณา โพสต์ชวนฉลอง หลังพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบ

ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตัดสินยุบพรรคอนาคตใหม่ และตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรค 10 ปี กรณีทางพรรคได้กู้เงินจากนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคมาใช้ในการดำเนินกิจการทางการเมืองไปเมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 21 ก.พ. 2563 ที่ผ่านมานั้น ล่าสุด น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.ราชบุรี…

Home / NEWS / ปารีณา โพสต์ชวนฉลอง หลังพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบ

ประเด็นน่าสนใจ

  • ขู่จัดการให้ถึงที่สุดคนไม่น้อมรับคำตัดสินของศาล
  • โทษละเมิดอำนาจศาลคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 500 บาท

ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตัดสินยุบพรรคอนาคตใหม่ และตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรค 10 ปี กรณีทางพรรคได้กู้เงินจากนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคมาใช้ในการดำเนินกิจการทางการเมืองไปเมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 21 ก.พ. 2563 ที่ผ่านมานั้น

ล่าสุด น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.ราชบุรี จากพรรคพลังประชารัฐ ก็ได้โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัว ปารีณา ไกรคุปต์ แสดงความเห็นถึงเรื่องดังกล่าว โดยระบุว่า หลังจากยุบพรรคอนาคตใหม่ ขอเชิญทุกคนรวมตัวกันไปฉลองเดินหน้าประเทศไทย

พร้อมกันนี้ น.ส.ปารีณา ยังระบุต่อว่า ทุกคนต้องเรียนรู้ที่จะให้ความเคารพ เพราะคำตัดสินศาลถือเป็นอันสิ้นสุด และหากผู้ใดไม่เคารพศาล ตนพร้อมเดินหน้าเอาผิดถึงที่สุด

สำหรับความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ทางเพจ iLaw เผยว่า ความผิดนี้ได้เขียนไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 30-33 มีโทษตั้งแต่ไล่ออกจากบริเวณศาล หรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 500 บาท ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองความสงบเรียบร้อยในการพิจารณาคดี

ทั้งนี้เมื่อคดีใดมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว การวิพากษ์วิจารณ์ทางสื่อมวลชนย่อมไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลคำพิพากษาที่เกิดขึ้นแล้วได้ มาตรา 32(2) จึงไม่ได้คุ้มครองหลังคดีถึงที่สุดไปแล้วด้วย

ดังนั้น หากคดีใดศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดไปแล้ว แม้ว่า สื่อมวลชนจะวิพากษ์วิจารณ์โดยใช้ข้อเท็จจริงที่คลาดเคลื่อนไป หรือมีเนื้อหามุ่งโจมตี ชักจูงใจ ให้มีอิทธิพลเหนือผู้ใดโดยไม่สุจริต ก็ไม่อาจเอาความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามมาตรา 32 มาใช้ได้

อย่างไรก็ดี หากภายหลังคดีถึงที่สุดแล้วมีผู้ใดกล่าวโจมตีศาลอย่างไม่เป็นธรรม มีเจตนาไม่สุจริต ก็ยังอาจเป็นความผิดได้ฐาน “ดูหมิ่นศาล” ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 198 ซึ่งการดำเนินคดีฐานดูหมิ่นศาลจะไม่มีกระบวนการพิจารณาคดีที่พิเศษ

แต่จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนเช่นเดียวกับคดีอาญาทั่วไป โดยต้องมีการตั้งข้อกล่าวหา การสอบสวน ในชั้นตำรวจ ชั้นอัยการ และส่งฟ้องคดี ซึ่งผู้ต้องหามีสิทธิปฏิเสธ มีสิทธิต่อสู้คดี และนำเสนอพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตัวเองได้เต็มที่