ภัยแล้ง

13 จังหวัด ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือ ภัยแล้ง

สถานการณ์น้ำแล้งในปีนี้ เริ่มแล้ว มีจังหวัดที่มีการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) แล้วจำนวน 13 จังหวัด ประกอบไปด้วย เชียงราย น่าน นครพนม มหาสารคาม บึงกาฬ หนองคาย บุรีรัมย์…

Home / NEWS / 13 จังหวัด ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือ ภัยแล้ง

ประเด็นน่าสนใจ

  • สถานการณ์ภัยแล้งมาเร็วกว่าที่ประเมิน เนื่องจากปริมาณน้ำต้นทุนน้อยกว่าปี 2561
  • มีการประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติภัยแล้งแล้วกว่า 3,700 หมู่บ้าน ใน 13 จังหวัด
  • เชียงรายหนักสุด 650 หมู่บ้าน ใน 14 อำเภอ

สถานการณ์น้ำแล้งในปีนี้ เริ่มแล้ว มีจังหวัดที่มีการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) แล้วจำนวน 13 จังหวัด ประกอบไปด้วย เชียงราย น่าน นครพนม มหาสารคาม บึงกาฬ หนองคาย บุรีรัมย์ กาฬสินธุ์ กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา เพชรบูรณ์ อุทัยธานีและนครราชสีมา รวม 68 อำเภอ 417 ตำบล 3,770 หมู่บ้าน/ชุมชน

สำหรับในภาคเหนือ มีทั้งหมด 3 จังหวัด 21 อําเภอ 122 ตําบล 950 หมู่บ้าน โดยจังหวัดเชียงรายมากที่สุดคือ กว่า 650 หมู่บ้าน ในพื้นที่ อ.ดอยหลวง (3 ต. 33 ม.) อ.เวียงแก่น (4 ต. 41 ม.) อ. เมืองฯ (7 ต. 48 ม.) อ.เวียงชัย (2 ต. 18 ม.) อ.แม่จัน (9 ต. 63 ม.) อ.เชียงของ (7 ต. 102 ม.) อ.ขุนตาล (3 ต. 55 ม.) อ.เวียงเชียงรุ้ง (3 ต. 37 ม.) อ.พาน (6 ต. 27 ม.) อ.เทิง (10 ต. 76 ม.) เชียงแสน (6 ต. 47 ม.) แม่ฟ้าหลวง (4 ต. 25 ม.) อ.พญาเม็งราย (5 ต. 40 ม.) อ.ป่าแดด (5 ต. 21 ม.)

  • จ.น่าน ได้แก่ อ.นาน้อย (5 ต. 45 ม.)
  • จ. เพชรบูรณ์ ได้แก่ อ.น้ําหนาว (4 ต. 28 ม.) อ.เมืองฯ (6 ต. 22 ม.) อ.ศรีเทพ (6 ต. 55 ม.) อ.หนองไผ่ (10 ต. 53 ม.) อ.หล่มเก่า (7 ต. 36 ม.) อ.หล่มสัก (8 ต. 60 ม.)

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีประกาศเขตพื้นที่ภัยแล้งแล้ว 7 จังหวัด รวม 31 อำเภอ 215 ตำบล 2,171 หมู่บ้าน/ชุมชน แบ่งเป็นจังหวัดดังนี้

  • จ. นครพนม อ.ปลาปาก รวม8 ตำบล 51 หมู่บ้าน
  • จ.มหาสารคาม ได้แก่ อ.แกดํา (1 ต. 3 ม.) อ.โกสุมพิสัย (9 ต. 91 ม.) อ.ชื่นชม (4 ต. 46 ม.) อ.เชียงยืน (8 ต. 116 ม.) อ.พยัคฆภูมิพิสัย (14 ต. 195 ม.) อ.ยางสีสุราช (7 ต. 91 ม.)
  • จ.บึงกาฬ ได้แก่ อ.พรเจริญ (7 ต. 58 ม.) อ.เมืองฯ (12 ต. 77 ม.) อ.ปากคาด (6 ต. 51 ม.) อ.โซ่พิสัย (7 ต. 66 ม.)
  • จ.หนองคาย ได้แก่ อ.ท่าบ่อ (5 ต. 15 ม.) อ.เฝ้าไร่ (5 ต. 73 ม.) อ.รัตนวาปี (5 ต. 37 ม.) อ.สระใคร (3 ต. 41 ม.) อ.เมืองฯ (4 ต. 12 ม.) อ.โพนพิสัย (11 ต. 144 ม.) อ.สังคม (5 ต. 25 ม.) อ.โพธิ์ตาก (2 ต. 9 ม.)
  • จ.บุรีรัมย์ อ.พลับพลาชัย (5 ต. 56 ม.) อ.ประโคนชัย (16 ต. 175 ม.) อ.โนนดินแดง (1 ต. 8 ม.) อ.ละหานทราย (2 ต. 11 ม.) อ.หนองหงส์ (7 ต. 98 ม.) อ.นางรอง (14 ต. 133 ม. 1 เทศบาล 7 ชุมชน)
  • จ.กาฬสินธุ์ อ.ยางตลาด (4 ต. 27 ม.)
  • จ.นครราชสีมา ได้แก่ อ.โนนสูง (8 ต. 109 ม. 1 เทศบาล 13 ชุมชน) อ.จักราช (6 ต. 53 ม.) อ.ปักธงชัย (16 ต. 179 ม.) อ.โชคชัย (9 ต. 63 ม.) อ.เทพารักษ์ (4 ต. 36 ม.)

และพื้นที่บริเวณภาคกลางมีได้รับผลกระทบจากภัยแล้งแล้วรวม 3 จังหวัด 16 อําเภอ 80 ตําบล 649 หมู่บ้าน ประกอบไปด้วย

  • จ.กาญจนบุรี ได้แก่ อ.พนมทวน (4 ต. 27 ม.) อ.เลาขวัญ (7 ต. 90 ม.) อ.ท่าม่วง (2 ต. 14 ม.) อ.บ่อพลอย (4 ต. 9 ม.) อ.หนองปรือ (1 ต. 6 ม.) อ.ห้วยกระเจา (4 ต. 49 ม.)
  • จ.ฉะเชิงเทรา ได้แก่ อ.บ้านโพธิ์ (1 ต. 3 ม.) อ.แปลงยาว (4 ต. 13 ม.)
  • จ.อุทัยธานี ได้แก่ อ.เมืองฯ (8 ต. 48 ม.) อ.ทัพทัน (10 ต. 87 ม.) อ.หนองขาหย่าง (9 ต. 53 ม.) อ.หนองฉาง (10 ต. 97 ม.) อ.สว่างอารมณ์ (5 ต. 58 ม.) อ.ลานสัก (6 ต. 84 ม.) อ.ห้วยคต (3 ต. 9 ม.) อ.บ้านไร่ (2 ต. 2 ม.)

โดยล่าสุด ทางปภ. ได้ลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือเบื้งต้น โดยมีการทำสำรวจพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำเพิ่มเติม หาแหล่งน้ำสำรอง ขุดเจาะบ่อบาดาล ฯลฯ พร้อมทั้งประสานกรมฝนหลวงฯ ให้ช่วยจัดทำฝนหลวง เพื่อเติมแหล่งน้ำธรรมชาติอีกด้วย

สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำน้อยกว่าปีที่แล้วกว่า 1 หมื่นล้าน ลบ.ม.

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง ปริมาตรน้ำในอ่างฯ 46,845 ล้าน ลบ.ม. คิด เป็นร้อยละ 62 (ปริมาตรน้ำใช้การได้ 23,012 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 44) น้อยกว่าปี 2561 จำนวน 10,661 ล้าน ลบ.ม. โดยวานนี้ มีน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำเพียง 27.77 ลบ.ม. สามารถรับน้ำได้อีก 26,902 ล้าน ลบ.ม.

ซึ่งปริมาณฝนที่จะตกในช่วง ม.ค.-พ.ค. นั้นจะมีน้อยมาก ทำให้การจัดการน้ำจึงจำเป็นต้องวางแผนการใช้น้ำจนถึงเดือน ก.ค. 2563

โดยกรมชลประทานได้เตรียมเครื่องสูบน้ำไว้ทั้งหมด 2,139 เครื่อง ติดตั้งไว้แล้ว 271 เครื่อง มีจัดเตรียมรถบรรทุกน้ำไว้ทั้งหมด 106 คัน

วอนหยุดทำนาปรัง-ลักลอบสูบน้ำไปใช้

ทางกรมชลประทานยังพบปัญหาการปลูกข้าวนาปรัง รอบ 2 ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ว่ามีการปลูกเกินแผนไปแล้วกว่า 7 หมื่นไร่ โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งแน่นอนว่า จะส่งผลกระทบในช่วงเดือน ก.พ.-มี.ค. ที่จะทำให้ข้าวเสียหายได้

ดังนั้น จึงวอนขอให้ทุกภาคส่วนช่วยกันประหยัดน้ำอย่างจริงจัง