น้ำ ภัยแล้ง

ภัยแล้งทุกภูมิภาคเข้าขั้นวิกฤติ เขื่อนใหญ่ 14 แห่ง มีน้ำน้อยกว่าครึ่ง

นายสำเริง แสงภู่วงค์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำภาพรวมทั้งประเทศขณะนี้ว่า ปัจจุบันแหล่งน้ำต่าง ๆ ทั่วประเทศมีปริมาณน้ำรวมทั้งสิ้น 49,789 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 61% เป็นปริมาณน้ำใช้การ 25,714…

Home / NEWS / ภัยแล้งทุกภูมิภาคเข้าขั้นวิกฤติ เขื่อนใหญ่ 14 แห่ง มีน้ำน้อยกว่าครึ่ง

ประเด็นน่าสนใจ

  • สถานการณ์น้ำทั่วประเทศขณะนี้มีปริมาณน้ำ คิดเป็น 61%
  • สทนช. ยังมั่นใจมีน้ำเพียงพอต่อการอุปโภคและบริโภค
  • แต่ต้องคุมเข้มจัดสรรน้ำให้เป็นไปตามแผนจัดสรรน้ำ

นายสำเริง แสงภู่วงค์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำภาพรวมทั้งประเทศขณะนี้ว่า ปัจจุบันแหล่งน้ำต่าง ๆ ทั่วประเทศมีปริมาณน้ำรวมทั้งสิ้น 49,789 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 61%

เป็นปริมาณน้ำใช้การ 25,714 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 44% แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 20,738 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 44

โดยล่าสุดมีเขื่อนขนาดใหญ่ 14 แห่งที่มีปริมาณน้ำใช้การได้น้อยกว่า 30% ได้แก่

  • เขื่อนแม่กวง
  • เขื่อนภูมิพล
  • เขื่อนสิริกิติ์
  • เขื่อนแม่มอก
  • เขื่อนทับเสลา
  • เขื่อนกระเสียว
  • เขื่อนจุฬาภรณ์
  • เขื่อนอุบลรัตน์
  • เขื่อนลำพระเพลิง
  • เขื่อนลำแซะ
  • เขื่อนลำนางรอง
  • เขื่อนป่าสักฯ
  • เขื่อนคลองสียัด
  • และเขื่อนหนองปลาไหล

ขณะที่แหล่งน้ำขนาดกลาง 354 แห่ง จากทั้งหมด 660 แห่งที่มีระบบติดตามได้ พบว่า อยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวังน้ำน้อยจำนวน 91 แห่ง แบ่งเป็น ภาคเหนือ 29 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 46 แห่ง ภาคกลาง 2 แห่ง ภาคตะวันออก 10 แห่ง ภาคตะวันตก 2 แห่ง และภาคใต้ 2 แห่ง

ซึ่งขณะนี้หน่วยงานต่าง ๆ ได้มีการปรับแผนการดำเนินงาน โดยใช้งบประมาณปกติของหน่วยงานในการจัดหาแหล่งน้ำสนับสนุนพื้นที่เสี่ยงได้รับผลกระทบขาดแคลนน้ำ ทั้งในเขตและนอกเขตชลประทานที่สามารถเร่งรัดดำเนินการได้ทันทีภายในระยะ 1 – 2 เดือนนี้

เล็งปรับแผนการจัดสรรน้ำให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด

ขณะเดียวกัน เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำต่าง ๆ เป็นไปตามแผน และไม่ส่งผล กระทบกับแผนการจัดสรรน้ำตลอดฤดูแล้ง สทนช.ได้มีการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบแผนและผลการจัดสรรน้ำในแหล่งน้ำต่าง ๆ ในพื้นที่เขตชลประทาน

มีมาตรการในการควบคุมจัดสรรน้ำให้เป็นไปตามแผนจัดสรรน้ำและสอดคล้องต่อปริมาณน้ำต้นทุน โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมชลประทาน กรมส่งเสริมการเกษตร และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

มีการปรับแผนจัดสรรน้ำอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่-กลางแล้ว 25 แห่ง แบ่งเป็น อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 14 แห่ง แบ่งเป็นภาคเหนือ 5 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 แห่ง ภาคตะวันออก 5 แห่ง ภาคกลาง 1 แห่ง และภาคตะวันตก 2 แห่ง

อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 11 แห่ง แบ่งเป็นภาคเหนือ 3 แห่ง และภาคตะวันออก 8 แห่ง พร้อมประชาสัมพันธ์รณรงค์ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องประหยัดน้ำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีปริมาณน้ำเพียงพอตลอดฤดูแล้งนี้

อย่างไรก็ตาม สทนช.จะบูรณาการการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาแล้งของหน่วยงานต่าง ๆ ภายใต้กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ โดยมี พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้บัญชาการ เพื่อติดตามผลการแก้ไขปัญหาภัยแล้งของทุกหน่วยงานแบบเบ็ดเสร็จ เพื่อติดตามประเมินสถานการณ์ ผลกระทบรายพื้นที่ รวมถึงมาตรการให้ความช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด

ข้อมูลข่าวจาก : สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ