รายงานสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูแล้งปี 2562/2563 วันจันทรท์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2563
สภาพนํ้าในอ่างเก็บน้ำ
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง ปริมาตรน้ำในอ่างฯ 46,618 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ 61 (ปริมาตรน้ำใช้การได้ 22,789 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 44) ปริมาตรน้ำในอ่างฯ เทียบกับปี 2561 (57,218 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 75) น้อยกว่าปี 2561 จำนวน 10,600 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ 23.39 ล้าน ลบ.ม.ปริมาณน้ำระบายจำนวน 75.12 ล้าน ลบ.ม. สามารถรับน้ำได้อีก 29,449 ล้าน ลบ.ม.
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ปริมาตรน้ำในอ่างฯ 43,830 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 62 (ปริมาตรน้ำใช้การได้ 20,383 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 43) ปริมาตรน้ำในอ่างฯ เทียบกับปี 2561 (53,814 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 76) น้อยกว่าปี 2561 จำนวน 9,984 ล้าน ลบ.ม.ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ จำนวน 20.95 ลบ.ม. ปริมาณน้ำระบายจำนวน 66.18 ล้าน ลบ.ม. สามารถรับน้ำได้อีก 27,097 ล้าน ลบ.ม.
การจัดสรรน้ำฤดูแล้ง ปี 2562/2563
กรมชลประทาน วางแผนการใช้น้ำจากโครงการชลประทานขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งประเทศในช่วงฤดูแล้งปี 2562/2563 (วันที่ 1 พฤศจิกายน 2562-30 เมษายน 2563) ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 ปริมาตรน้ำต้นทุนสามารถใช้การได้จำนวน 26,666 ล้าน ลบ.ม.
โดยวางแผนจัดสรรน้ำทั้งประเทศจำนวน 17,699 ล้าน ลบ.ม. ตามลำดับความสำคัญดังนี้
เพื่อการอุปโภค-บริโภค 2,300 ล้าน ลบ.ม. รักษาระบบนิเวศน์และอื่นๆ 6,999 ล้าน ลบ.ม. เกษตรกรรม 7,881 ล้าน ลบ.ม.
และอุตสหกรรม 519 ล้าน ลบ.ม. โดยจัดสรรน้ำในลุ่มเจ้าพระยา 4,000 ล้าน ลบ.ม. (เขื่อนภูมิพลและสิริกิติ์ 3,000 ล้านลบ.ม.
เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน 250 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนป่าสัก 250 ล้าน ลบ.ม. และลุ่มน้ำแม่กลอง 500 ล้าน ลบ.ม.) แยกเป็น เพื่อการอุปโภค-บริโภค 1,150 ล้าน ลบ.ม. เพื่อการรักษาระบบนิเวศน์และอื่นๆ 2,335 ล้าน ลบ.ม. และเพื่อการเกษตร 515 ล้าน ลบ.ม.
ผลการจัดสรรน้ำ
(อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง) ทั้งประเทศ ตั้งแต่ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 ถึงปัจจุบันใช้น้ำไปแล้ว 5,878 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 33 ของแผนจัดสรรน้ำ ส่วนในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยฯ ป่าสักฯ ) วันนี้ใช้น้ำไป 17.93 ล้าน ลบ.ม. ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 ถึงปัจจุบัน ใช้น้ำไปแล้ว 1,812.57 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 45 ของแผนจัดสรรน้ำ
การเตรียมความพร้อมและการให้ความช่วยเหลือ
กรมชลประทานเตรียมเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ เพื่อช่วยเหลือพื้นที่นาปีนาปรัง อุปโภคบริโภค พืชไร่ และอุทกภัย ในช่วงฤดูแล้ง ปี 2562จำนวน 2,139 เครื่อง ปัจจุบันได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อช่วยเหลือตามพื้นที่ จำนวน 282 เครื่อง โดยแยกดังนี้
เตรียมความพร้อมในการสนับสนุนรถยนต์บรรทุกน้ำ
กรมชลประทานเตรียมความพร้อมในการสนับสนุนรถยนต์บรรทุกน้ำรวมทั้งหมด 106 คัน (ภาคเหนือ 24 คัน,ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 22 คัน, ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก 28 คัน, ภาคใต้ 14 คัน) ศูนย์ปฏิบัติการเครื่องจักรกลและส่วนกลาง (นนทบุรี) 18 คัน