ภัยแล้ง ฤดูแล้ง สถานการณ์น้ำ

ชลประทาน ตั้งศูนย์เฉพาะกิจฯ เครื่องจักรกล สู้ภัยแล้ง

ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เป็นประธานเปิดศูนย์ปฏิบัติการเฉพาะกิจสำนักเครื่องจักรกล แก้ไขและบรรเทาวิกฤติภัยแล้ง ปี 2562/2563 กรมชลประทาน โดยมี นายสุชาติ เจริญศรี รองอธิบดีกรมชลประทาน นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม ผู้อำนวยการสำนักเครื่องจักรกล…

Home / NEWS / ชลประทาน ตั้งศูนย์เฉพาะกิจฯ เครื่องจักรกล สู้ภัยแล้ง

ประเด็นน่าสนใจ

  • กรมชลประทาน ตั้งศูนย์ปฏิบัติการเฉพาะกิจสำนักเครื่องจักรกล
  • เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคในพื้นที่ต่างๆ
  • มีศูนย์ส่วนกลางอยู่ที่ จ.นนทบุรี และอีก 7 ศูนย์สาขาในทุกภูมิภาค

ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เป็นประธานเปิดศูนย์ปฏิบัติการเฉพาะกิจสำนักเครื่องจักรกล แก้ไขและบรรเทาวิกฤติภัยแล้ง ปี 2562/2563 กรมชลประทาน โดยมี นายสุชาติ เจริญศรี รองอธิบดีกรมชลประทาน นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม ผู้อำนวยการสำนักเครื่องจักรกล กรมชลประทาน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมกิจกรรมโดยพร้อมเพียงกัน ณ พิพิธภัณฑ์สำนักเครื่องจักรกล กรมชลประทาน ปากเกร็ด

ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ฤดูแล้งในปีนี้ มีปริมาณน้ำต้นทุนอยู่ในเกณฑ์น้อยจึงต้องบริหารจัดการน้ำอย่างจำกัด และให้เป็นไปตามแผนการจัดสรรน้ำที่วางไว้ ซึ่งมีเพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศ และสนับสนุนพืชที่ใช้น้ำน้อยบางพื้นที่เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ยังคงมีประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคในพื้นที่ต่างๆ สำนักเครื่องจักรกล กรมชลประทาน

จึงจัดตั้ง “ศูนย์ปฏิบัติการเฉพาะกิจสำนักเครื่องจักรกล แก้ไขและบรรเทาวิกฤติภัยแล้ง ปี 2562/2563 กรมชลประทาน” ขึ้น ภาคใต้ศูนย์ฯ ใหญ่ของกรมชลประทาน เพื่อเตรียมพร้อมด้านเครื่องจักร เครื่องมือ สำหรับการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติภัยแล้งทั่วประเทศ

ด้าน นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม ผู้อำนวยการสำนักเครื่องจักรกล กรมชลประทาน กล่าวว่า กรมชลประทานเตรียมความพร้อมในเรื่องเครื่องจักร-เครื่องมือ เพื่อส่งไปประจำการที่ศูนย์ฯทั่วประเทศ

โดยมีศูนย์ส่วนกลางอยู่ที่ จ.นนทบุรี และอีก 7 ศูนย์สาขาในทุกภูมิภาค ได้แก่ จ.เชียงใหม่ จ.พิษณุโลก จ.ขอนแก่น จ.นครราชสีมา จ.พระนครศรีอยุธยา จ.นนทบุรี และ จ.สงขลา

ซึ่งจะกระจายส่งเครื่องจักร-เครื่องมือ จำนวน 4,316 ชิ้น แยกเป็น เครื่องสูบน้ำ จำนวน 1,935 เครื่อง รถสูบน้ำ จำนวน 258 คัน รถขุด จำนวน 499 คัน เรือขุด จำนวน 69 ลำ รถบรรทุก จำนวน 511 คัน รถบรรทุกน้ำ จำนวน 106 คัน รถแทร็กเตอร์ จำนวน 565 คัน และเครื่องจักรสนับสนุนอื่นๆจำนวน 373 เครื่อง

พร้อมทั้งสั่งการให้เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ให้เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดในทุกพื้นที่ หากต้องการความช่วยเหลือสามารถแจ้งได้ที่โครงการชลประทานในพื้นที่ หรือโทรสายด่วน 1460 หรือ เฟ:บุ๊ก เรารักชลประทาน และรอบรั้วชลประทาน

ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนวางใจว่ากรมชลประทานจะบริหารจัดการน้ำอย่างเต็มที่