“ชี้ชะตาประเทศไทย เลือกตั้ง 2562 กับเว็บไซต์ MThai.com“
กอล์ฟ ธัญญ์วาริน จากพรรคอนาคตใหม่ ประกาศผลักดันแก้หลักสูตรกระทรวงศึกษาที่สอนว่า LGBTQ เป็นกลุ่มคน “เบี่ยงเบนทางเพศ” ออกไปจากตำรา
วันที่ 22 มี.ค. 2562 ที่อาคารกีฬาเวสน์ 1 สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง ได้มีการจัดปราศรัยใหญ่วันสุดท้าย ก่อนวันเลือกตั้งของพรรคอนาคตใหม่ งานปราศรัยในครั้งนี้ผู้ที่เริ่มกล่าวปราศรัยเป็นคนแรกคือ กอล์ฟ ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ ผู้สมัคร ส.ส. บัญชีรายชื่อพรรคอนาคตใหม่ ลำดับที่ 9
ซึ่งเจ้าตัวได้ประกาศผลักดันแก้กฎหมายสมรสจากชาย-หญิงเป็นบุคคล แก้หลักสูตรกระทรวงศึกษาที่สอนว่า LGBTQ เป็นกลุ่มคนเบี่ยงเบนทางเพศออกไปจากตำรา อีกทั้งยังต้องการแก้ พ.ร.บ.ภาพยนตร์ให้เปิดรับความหลากหลาย
สำหรับแนวทางนโยบายเพื่อความเท่าเทียมทางเพศ
1. ยุติการเกณฑ์ให้ทุกเพศสามารถคัดเลือกทหารเองตามความสมัครใจ
2. การแต่งงานของผู้มีความหลากหลายทางเพศอย่างถูกต้องตาทกฎหมายให้มีความเป็นกลางทางเพศ เพื่อที่จะโอบรับทุกคนโดยไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง พรรคอนาคตใหม่มีนโยบายแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการสมรส หรือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 และ 1458 โดยยกเลิกการใช้คำว่า ชายหรือหญิง และใช้คำว่า บุคคล แทน เพื่อให้ทุกคนทุกเพศ สามารถสมรสกันและได้รับสิทธิที่พึงได้จากการสมรสได้อย่างเท่าเทียมอย่าวแท้จริง
3. สนับสนุนการพัฒนาร่างและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับความเท่าเทียมไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติในการจ้างงาน เพราะวิถีทางเพศหรืออัตลักษณ์ทางเพศ รวมถึงยกเลิกการตรวจหาเอชไอวี ก่อนเข้าทำงานหรือเข้ารับการศึกษาเพื่อหยุดการเลือกปฏิบัติต่อผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีบนฐารของมายาคติแชะความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรค
4. เพิ่มสิทธิลาคลอดเป็น 6 เดือน พรรคอนาคตใหม่เห็นว่าถ้าเราต้องการสร้างพลเมืองให้เติบโตไปอย่างมีคุณภาพ พ่อแม่ต้องดูแลลูกยามแรกเกิดอย่างเต็มที่
5. การศึกษาต้องเริ่มจากการปูพื้นฐานความเข้าใจอันลักษณ์ทางเพศ เพศสภาพ เพศวิถี สร้างค่านิยมที่เปิดกว้างต่อความหลากหลายทางเพศ และความหลากหลายของครอบครัวในรูปแบบต่างๆ เรียนรู้เรื่องโครงสร้างความเหลื่อมล้ำเรื่องเพศ การเลือกปฏิบัติ การล้อเลียนรังแก ตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงระดับมหาวิทยาลัย โดยมีเนื้อหาที่เหมาะสมแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงวัน ปรับเปลี่ยนหลักสูตรต่างๆ ที่ยังมีอคติ เพื่อเยาวชนรุ่นใหม่เข้าใจเรื่องเพศและความหลากหลายอย่างถูกต้อง
6. การรณรงค์ สร้างแคมเปญ ระดับประชาชนให้เกิดความตระหนักถึงตัวตนและปัญหาความไม่เท่าเทียมทางเพศ ร่วมมือกับเครือข่ายภาคประชาสังคมเดิม องค์กร มูลนิธิ สมาคมต่างๆ สร้างการตื่นตัวและขยายประเด็นความเสมอภาคทางเพศให้ครอบคลุมผู้คนทั้งประเทศ และความพยายามให้เกิดการมีส่วนร่วมกับภาครัฐ