ข่าวสดวันนี้ ไฟป่าออสเตรเลีย

ควันจากไฟป่าออสเตรเลียลามถึง “อเมริกาใต้”

โฆษกขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) แถลงการณ์ ระบุว่า กลุ่มหมอกควันจากไฟป่าในออสเตรเลียได้พัดข้ามพื้นที่มหาสมุทรแฟซิฟิกเป็นระยะทางหลายพันกิโลเมตร ไปถึงทวีปอเมริกาใต้แล้ว จนส่งผลให้ท้องฟ้าในพื้นที่ตอนกลางของชิลีกลายเป็นสีเทา ขณะที่ท้องฟ้าเหนือกรุงบัวโนสไอเรส ประเทสอาร์เจนตินา กลายเป็นสีแดงในช่วงตะวันตกดิน พร้อมระบุว่า กลุ่มหมอกควันดังกล่าวกำลังเคลื่อนตัวไปรอบโลก และอาจแผ่ขยายไปถึงทวีปแอนตาร์กติกาแล้วด้วย นอกจากนี้โฆษก WMO…

Home / NEWS / ควันจากไฟป่าออสเตรเลียลามถึง “อเมริกาใต้”

ประเด็นน่าสนใจ

  • สถานการณ์ความคืบหน้าไฟป่าในออสเตรเลีย
  • ล่าสุดเปลวเพลิงที่ไหม้ลุกลามผืนป่ามาเป็นเวลานานกว่าหนึ่งเดือน
  • เปลวไฟทำลายระบบนิเวศและคร่าชีวิตสัตว์ต่าง ๆ ไปแล้วเกือบ 500 ล้านตัว
  • ควันไฟส่งผลไปถึงทวิปอเมริกาใต้แล้ว

โฆษกขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) แถลงการณ์ ระบุว่า กลุ่มหมอกควันจากไฟป่าในออสเตรเลียได้พัดข้ามพื้นที่มหาสมุทรแฟซิฟิกเป็นระยะทางหลายพันกิโลเมตร ไปถึงทวีปอเมริกาใต้แล้ว จนส่งผลให้ท้องฟ้าในพื้นที่ตอนกลางของชิลีกลายเป็นสีเทา ขณะที่ท้องฟ้าเหนือกรุงบัวโนสไอเรส ประเทสอาร์เจนตินา กลายเป็นสีแดงในช่วงตะวันตกดิน พร้อมระบุว่า กลุ่มหมอกควันดังกล่าวกำลังเคลื่อนตัวไปรอบโลก และอาจแผ่ขยายไปถึงทวีปแอนตาร์กติกาแล้วด้วย

นอกจากนี้โฆษก WMO ยังระบุว่า กลุ่มหมอกควันดังกล่าวยังนำปัญหาด้านคุณภาพอากาศที่อยู่ในระดับขั้นเป็นพิษ และส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพของประชาชนด้วย พร้อมย้ำว่าไฟป่าที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก

ด้านหน่วยงานสังเกตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมของสหภาพยุโรป เปิดเผยว่า ไฟป่าออสเตรเลียที่เกิดขึ้นตั้งแต่เดือน ก.ย.2562 ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศมากถึง 400 ล้านตัน รวมถึงสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายอื่นๆ อีกจำนวนมาก ซึ่งนับเป็นการสร้างมลพิษครั้งร้ายแรง จากสถานกาณณ์ไฟป่าออสเตรเลีย ที่ยาวนานในครั้งนี้ ได้มี ดร. เฟรเดริก ซัลเทร์ และ ดร. คอรีย์ เจ.เอ. แบรดชอว์ นักนิเวศวิทยาจากศูนย์เพื่อความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพและมรดกของออสเตรเลีย (CABAH) และ นักวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่งมองว่า อาจเป็นสัญญาณเตือนล่าสุดว่าสิ่งมีชีวิตทั่วโลกกำลังก้าวเข้าสู่ภาวะการสูญพันธุ์ระดับมหึมา ครั้งที่ 6 หรือ the sixth mass extinction อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ย้อนไป ยุคแคมเบรียนเมื่อ 540 ล้านปีก่อนเป็นต้นมา โลกได้พบกับการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของสิ่งมีชีวิตมาแล้วถึง 5 ครั้ง ซึ่งโดยเฉลี่ยเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในทุก 100 ล้านปี จากเหตุความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ความเปลี่ยนแปลงฉับพลันทางธรณีวิทยาเช่นภูเขาไฟระเบิดรุนแรง หรือเหตุอุกกาบาตยักษ์จากห้วงอวกาศพุ่งชนโลก

สำหรับออสเตรเลียเป็น 1 ใน 17 ประเทศที่จัดว่ามีความหลากหลายทางชีวภาพในระดับสูง และในจำนวนนี้ ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในพื้นที่แถบที่เกิดไฟป่าครั้งล่าสุด ขณะที่ทางเว็บไซต์ wongnai ได้รวบรวม “ช่องทางบริจาคและช่วยเหลือไฟป่าออสเตรเลีย” #PrayForAustraliaหรือเข้าไป อ่านต่อได้ที่ เซ็บไซต์ wongnai.com