P-PAC คืออะไร มีความพิเศษอย่างไรกับชีวิตเรา?

เมื่อไม่นานมานี้ เรื่องของการถอดรหัสสมองเพื่อค้นหาศักยภาพในตัวด้วยลายผิววิทยา หรือ P-PAC น่าจะเป็นอะไรที่คุ้นหูกันในโลก Social บ้างก็ว่าเป็นโหราศาสตร์ บ้างก็ว่าเป็นวิทยาศาสตร์ หลากหลายมุมมอง ดังนั้นเพื่อทุกคนได้เข้าใจให้มากขึ้น เราจะมารู้จักกันว่า P-PAC คืออะไร? มีความพิเศษอย่างไรกับชีวิตเรา? P-PAC คืออะไร?…

Home / NEWS / P-PAC คืออะไร มีความพิเศษอย่างไรกับชีวิตเรา?

เมื่อไม่นานมานี้ เรื่องของการถอดรหัสสมองเพื่อค้นหาศักยภาพในตัวด้วยลายผิววิทยา หรือ P-PAC น่าจะเป็นอะไรที่คุ้นหูกันในโลก Social บ้างก็ว่าเป็นโหราศาสตร์ บ้างก็ว่าเป็นวิทยาศาสตร์ หลากหลายมุมมอง ดังนั้นเพื่อทุกคนได้เข้าใจให้มากขึ้น เราจะมารู้จักกันว่า P-PAC คืออะไร? มีความพิเศษอย่างไรกับชีวิตเรา?

P-PAC คืออะไร?

ดังนั้นก่อนจะตอบคำถามต่างๆ เรามารู้จักกับ P-PAC ก่อนดีกว่า P-PAC (Panyatara Potential Analysis Centre) หรือ ศูนย์วิเคราะห์ศักยภาพปัญญธารา ก่อตั้งขึ้นเมื่อปลายปี 2550 จากแนวคิดที่มองเห็นคุณค่าและความสําคัญของการวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคคล โดยใช้หลักการเรียนรู้เรื่อง ลายผิววิทยา สามารถศึกษาความเชื่อมโยงของการทํางานของ สมอง กับ ลายผิว

โดยมีงานวิจัยสนับสนุนมากมายทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์และด้านการแพทย์ที่น่าเชื่อถือมานานกว่า 200 ปี ได้นำแนวความคิดที่นำลายผิววิทยามาเป็นเครื่องมือในการค้นหาความสามารถหรือศักยภาพของพนักงานในองค์กร ซึ่งโครงการดังกล่าวได้กลายมาเป็น P-PAC ในปัจจุบัน

ในปัจจุบัน P-PAC ยังถูกนำมาใช้เพื่อแนะนำเด็ก เพื่อทราบถึงวิธีพัฒนาการเด็กให้สมวัย ซึ่งปัจจุบันนี้กำลังเป็นที่นิยมสำหรับพ่อแม่ที่ต้องการรู้จักตัวตนของลูก เพื่อส่งเสริมให้ลูกได้เติบโตขึ้นตามความชอบและความถนัดของตน

เข้าใจ P-PAC ให้มากขึ้น

คุณอมรรัตน์ ประทุมมา Director ของ ศูนย์วิเคราะห์ศักยภาพปัญญธารา ให้ความเห็นว่า เราต้องเข้าใจก่อนว่า ลายผิววิทยา คือ วิทยาศาสตร์เชิงสถิติ ซึ่งมีผลการวิจัยรองรับ และยังมีการเก็บลายนิ้วมือกว่า 4 แสนรูปแบบไว้ในฐานข้อมูล โดยจากผลการสำรวจลูกค้าของศูนย์ฯ ได้รับการยอมรับและประเมินความถูกต้องอยู่ที่ 88.7%

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการจะพัฒนาตัวบุคคลให้ถูกทางต้องอยู่ที่ความเข้าใจเป็นหลัก โดย คุณอมรรัตน์ เล่าถึงเคสน่าสนใจว่า เคยมีคุณแม่พาลูกมาเข้ารับการทดสอบเนื่องจากลูกมีความสนใจด้านการเล่นเปียโนจึงอยากทดสอบเพื่อความมั่นใจจะได้ส่งลูกให้พัฒนาฝีมือต่อ ซึ่งผลลัพธ์ออกมาว่าตัวเด็กมีความสามารถทั้งด้านดนตรีและด้านสังคม

แต่หลังจากผ่านไประยะเวลาหนึ่งคุณแม่พาลูกกลับมาที่ศูนย์ฯ อีกครั้ง พร้อมเล่าว่าลูกไม่อยากเรียนเปียโนแล้ว เมื่อได้สอบถามถึงต้นเหตุ ได้ทราบว่าเดิมทีตัวลูกเรียนแบบหมู่คณะ มีเพื่อนเรียนจึงทำให้ตัวเด็กสนใจการเรียนเปียโน เนื่องจากตรงตามที่ศูนย์ฯ วิเคราะห์ แต่ภายหลังที่ได้ทราบผลคุณแม่ก็เปลี่ยนคอร์สของลูกเป็นเรียนแบบเดี่ยว จึงขาดเรื่องการเข้าสังคมไป ทำให้น้องหมดความสนใจในการเล่นเปียโน ทางศูนย์ฯ จึงแนะนำให้ลองพาน้องกลับไปตรงจุดเดิมที่น้องมีความสุขดีกว่า ซึ่งผลลัพธ์ก็ออกมาดีขึ้น

ท้าพิสูจน์ P-PAC

หลังจากได้ฟังเรื่องราว ของ P-PAC แล้ว เราจึงส่งทีมงานเข้ารับการทดสอบ โดยทางศูนย์ฯ ได้แยกอัตลักษณ์ของบุคคลเป็นนก 5 ชนิด ได้แก่

  • เหยี่ยว : มุ่งมั่นกับเป้าหมาย เน้นผลลัพธ์ รักอิสระไม่ชอบให้ใครมายุ่ง
  • ห่านป่า : ทำงานตามมาตรฐาน เคารพกติกา และละเอียดรอบคอบ
  • นกยูง : เน้นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ใส่ใจในรูปลักษณ์
  • นกกระจอกเทศ :  เป็นคนอดทน มานะ บากบั่น ไม่ชอบความขัดแย้ง
  • นกแก้ว : ปรับตัวได้เก่ง สามารถตัดสินใจได้ทันทีในสถานการณ์เฉพาะหน้า

ทางผู้เข้ารับการทดสอบให้ความเห็นกับผลว่า มีความตรง 85% มีบางจุดอย่างเช่นการเล่นดนตรีที่เจ้าตัวยอมรับว่าไม่มีความสามารถ ซึ่งเกิดจากการที่ไม่ได้ฝึกแบบจริงจัง และการจัดการที่ยังไม่เป็นระบบในด้าน Workstyle จึงมีความเห็นแย้งจากผลลัพธ์บ้าง แต่นอกเหนือจากนั้น ผู้เข้ารับการทดสอบ ยอมรับว่ามีความใกล้เคียงกับอัตภาพของเขาจริงๆ

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการวิเคราะห์เป็นแค่ส่วนหนึ่งในการบอกตัวตน เพราะว่าทุกสิ่งเริ่มจากนิสัยส่วนตัวและสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ ซึ่งถ้าหากมีความมุ่งมั่นที่จะเป็นหรือทำในสิ่งที่ตัวเองชอบก็สามารถที่จะทำได้เหมือนกัน และทั้งหมดนี้ก็คือเรื่องราวของ P-PAC หลายคนที่กำลังตั้งคำถามน่าจะทำให้มีความเข้าใจขึ้นบ้างไม่มากก็น้อย การจะตัดสินว่าน่าเชื่อถือหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแต่ละคนว่าเลือกที่จะเชื่อในมุมไหน