ข่าวสดวันนี้ ปลากระเบนไฟฟ้า หมู่เกาะสิมิลัน

เตือนระวัง หลังพบปลากระเบนไฟฟ้า ที่สิมิลัน

แฟนเพจอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ได้มีการโพสต์ข้อความเตือนภัยให้นักท่องเที่ยวระมัดระวัง หลังจากพบว่าขณะนี้มีสัตว์ทะเลหายากอย่าง ปลากระเบนไฟฟ้า (Torpedo fuscomaculata) ปรากกในน่านน้ำของไทย ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้ไม่เคยพบมาก่อน โดยทางอุทยานฯ ได้ระบุข้อความว่า ได้รับแจ้งจากกลุ่มนักดำน้ำว่า พบปลากระเบนไฟฟ้าบริเวณจุดดำน้ำ Deep…

Home / NEWS / เตือนระวัง หลังพบปลากระเบนไฟฟ้า ที่สิมิลัน

ประเด็นน่าสนใจ

  • พบปลากระเบนไฟฟ้า ที่หมู่เกาะสิมิลัน
  • แนะประชาชนห้ามเข้าใกล้ เพราะถือเป็นสัตว์อันตราย ปล่อยกระแสไฟได้มากกว่า 200 โวลต์
  • หากถูกจู่โจมอาจทำให้ผู้ที่สัมผสหมดสติ และจมน้ำเสียชีวิตได้

แฟนเพจอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ได้มีการโพสต์ข้อความเตือนภัยให้นักท่องเที่ยวระมัดระวัง หลังจากพบว่าขณะนี้มีสัตว์ทะเลหายากอย่าง ปลากระเบนไฟฟ้า (Torpedo fuscomaculata) ปรากกในน่านน้ำของไทย ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้ไม่เคยพบมาก่อน

โดยทางอุทยานฯ ได้ระบุข้อความว่า ได้รับแจ้งจากกลุ่มนักดำน้ำว่า พบปลากระเบนไฟฟ้าบริเวณจุดดำน้ำ Deep six ที่ความลึก 27 เมตร ของเกาะปายู (เกาะ7) ซึ่งถือเป็นการค้นพบสัตว์ทะเลชนิดใหม่อีกครั้งที่สิมิลัน

ปลากระเบนไฟฟ้า จัดอยู่ในอันดับ Torpediniformes มีรูปร่างกลม ตามีขนาดเล็กมาก ส่วนหางแข็งแรง ไม่มีเงี่ยงหางแหลมคมเหมือนปลากระเบนในอันดับอื่น มีลำตัวหนาและอ่อนนุ่ม มีครีบหลัง 2 ตอน

และมีอวัยวะคู่หนึ่งที่สามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าได้ อยู่ทางด้านข้างของตาถัดไปถึงครีบอก ภายในมีสารเป็นเมือกคล้ายวุ้น ทำหน้าที่ในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากกว่า 200 โวลต์ กระแสไฟฟ้านี้ใช้เพื่อทำให้เหยื่อสลบหรือฆ่าเหยื่อ มักหมกตัวอยู่ใต้พื้นทราย

สามารถทำอันตรายต่อมนุษย์ได้หากเหยียบเข้า ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการชา หรือหมดสติ และอาจทำให้จมน้ำเสียชีวิตได้ หากทราบว่าในบริเวณใดมีปลากระเบนไฟฟ้าอาศัยอยู่ ควรหลีกเลี่ยงในการลงเล่นน้ำในบริเวณดังกล่าว

เนื่องจากกระแสไฟฟ้าที่ปล่อยออกมาได้มากถึง 30 แอมป์ ซึ่งมากเกินพอให้เสียชีวิตได้ในทันที แต่หากพบว่ามีนักดำน้ำถูกกระเบนไฟฟ้าจนหมดสติให้รีบนำผู้ป่วยขึ้นสู้ผิวน้ำทันทีและช่วยปฐมพยาบาลให้ผู้ป่วยหายใจ (CPR) แล้วนำส่งโรงพยาบาล

ทั้งนี้ กระเบนไฟฟ้าชนิดดังกล่าวยังไม่มีรายงานการถูกพบได้ทั่วไปในประเทศไทย แต่ก็มีโอกาสพบได้ในทะเลอันดามัน เนื่องจากรายงานการแพร่กระจายของกระเบนชนิดนี้อยู่บริเวณมหาสมุทรอินเดีย ไปจนถึงทะเลทางแถบแอฟริกาใต้ รวมถึงทะเลในแถบมัลดีฟส์ เหตุที่พบได้ที่สิมิลันช่วงนี้ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ IOD (Indian Ocean Dipole)

ซึ่งปรากฏการณ์ IOD (Indian Ocean Dipole) คือปรากฏการณ์ที่ทำให้น้ำทะเลทางฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรอินเดีย (อันดามันประเทศไทย) เกิดชั้นเทอร์โมไคลน์ (thermocline) หมายถึง การที่น้ำทะเลแยกชั้น เนื่องจากอุณหภูมิของน้ำมีความแตกต่างกัน ปกติชั้นเทอร์โมไคลน์จะอยู่ลึก

แต่เมื่อเกิด positive IOD ชั้นเทอร์โมไคลน์จะขยับขึ้นมาใกล้ผิวน้ำมากขึ้น ทำให้อาจมีน้ำเย็นเฉียบจากใต้มหาสมุทร พัดเข้ามาในเขตเกาะในอันดามัน ชั้นน้ำที่มีอุณหภูมิต่ำ ถือเป็นเขตที่สมบูรณ์ที่อุดมด้วยธาตุอาหารต่างๆ จึงทำให้สัตว์ที่ไม่ค่อยพบเจอในภาวะปรกติแวะเข้าเกาะบริเวณอันดามันในช่วงนี้

ที่มา : อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน – Mu Ko Similan National park