ปลาเม็ง เกษตรสร้างรายได้

เลี้ยง ‘ปลาเม็ง’ ส่งขาย สร้างรายได้นับแสนบาทต่อปี

ศูนย์เรียนรู้เพาะเลี้ยง ‘ปลาเม็ง’ แปลงใหญ่ขนาดใหญ่ที่สุด ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ชาวบ้านห้วยทราย ได้รวมกลุ่มกันเลี้ยงปลาเม็ง ส่งขายโดย นายกิตติศักดิ์ นาคกุล ผู้ใหญ่บ้าน กล่าวว่า เป็นผู้ริเริ่มนำปลาเม็งมาเลี้ยง จนเพาะขยายพันธุ์ประสบความสำเร็จ ก่อนที่จะร่วมกลุ่มกับชาวบ้านในพื้นที่ ร่วมกันเลี้ยงเป็นรายได้เสริม…

Home / NEWS / เลี้ยง ‘ปลาเม็ง’ ส่งขาย สร้างรายได้นับแสนบาทต่อปี

ประเด็นน่าสนใจ

  • ชาวบ้าน จ.สุราษฎร์ธานี เลี้ยง ‘ปลาเม็ง’ ส่งขายกิโลกรัม ละ 2,500 บาท
  • ปลาเม็งเป็นปลาน้ำจืดตามธรรมชาติ มีขนาดเล็กรูปร่างคล้ายปลาดุก
  • ด้านชาวบ้าน จ.นครราชสีมา นำ ‘ไม้พาเลท’ ทำเป็นเฟอรืนิเจอร์เพิ่มมูลค่า

ศูนย์เรียนรู้เพาะเลี้ยง ‘ปลาเม็ง’ แปลงใหญ่ขนาดใหญ่ที่สุด ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ชาวบ้านห้วยทราย ได้รวมกลุ่มกันเลี้ยงปลาเม็ง ส่งขายโดย นายกิตติศักดิ์ นาคกุล ผู้ใหญ่บ้าน กล่าวว่า เป็นผู้ริเริ่มนำปลาเม็งมาเลี้ยง จนเพาะขยายพันธุ์ประสบความสำเร็จ ก่อนที่จะร่วมกลุ่มกับชาวบ้านในพื้นที่ ร่วมกันเลี้ยงเป็นรายได้เสริม เพื่อแปรรูปเป็นปลาเม็งรมควันจำหน่ายสู่ตลาดร้านอาหารภายในจังหวัดและต่างจังหวัด

ปลาเม็งเป็นปลาน้ำจืดตามธรรมชาติ มีขนาดเล็กรูปร่างคล้ายปลาดุก มีเนื้อเป็นเส้นเหนียวและแน่น รสชาติหวานหอมมันอร่อย สามารถนำมาปรุงอาหารได้ทั้งแบบสดๆ เช่นแกงส้ม แกงคั่วใบรา แกงกะทิ และแบบแปรรูปรมควัน เช่น นำมายำต้มโคล้ง เป็นต้น

ทั้งนี้ ปลาเม็ง ตามธรรมชาติใกล้สูญพันธ์ เพราะโตช้า ที่ผ่านมา ใช้ระยะเวลาการเลี้ยงหลังจากผสมพันธ์ออกไข่จนโตสุด ระยะเวลา 18 เดือน หรือ 1 ปีครึ่ง ทำให้มีราคาแพง แบบสดจะจำหน่ายอยู่ที่กิโลกรัมละ 400-600 บาท ส่วนแบบแปรรูปรมควันซึ่งสามารถแช่ตู้เย็นเก็บไว้ได้นานเป็นปี กิโลกรัมละ 2,500บาท เนื่องจากแบบรมควันปลาสด 3 กก.นำมารมควันจะเหลือเพียงกิโลกรัมกว่าๆ เท่านั้น

ชาวบ้านนำ ‘ไม้พาเลท’ ทำเป็นเฟอรืนิเจอร์เพิ่มมูลค่า

ด้านชาวบ้านตะปัน ตำบลรังกาใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ได้นำไม้พาเลทมาสร้างมูลค่า ดัดแปลงเป็นเฟอร์นิเจอร์ขาย โต๊ะเก้าอี้ ชุดนั่งเล่น กินข้าว ชั้นวางรองเท้า กล่องใส่ของขนาด เป็นการต่อยอดจากไม้พาเลท หรือ บางคนเรียกว่าไม้ลัง เเทนที่จะทิ้งไร้ค่า เเต่กลับมีค่าสำหรับ นางปัทมาวัล เดือนกลาง อายุ 55 ปี ชาวบ้านตะปัน ตำบลรังกาใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

นางปัทมาวัล เล่าว่า เดิมทีมีอาชีพทำงานไม้ เเต่กำไรน้อย ไม่คุ้มทุน จึงปรับเปลี่ยนมาใช้ไม้ที่มีต้นทุนถูกลง นั่นก็คือไม้พาเลท ครั้งแรกคือนำมาประกอบโต๊ะ เก้าอี้ได้ 10 ชุด เเบ่งคร่าวๆ เป็นโต๊ะ 10 ตัว เก้าอี้ 40 ตัว ราคาขายเริ่มต้นชุดละ 1500 บาท / ไม่นับรวมเศษไม้ที่นำไปทำชั้นวางของ ชั้นวางรองเท้า ก็ขายได้ตั้งเเต่ 100 บาท นับเป็นอีกอาชีพ ที่สามารถเพิ่มมูลค่าของที่เกือบจะเป็นขยะให้มีมูลค่าได้ ยิ่งหากมีพื้นฐาน มีฝีมือและเพิ่มไอเดียสร้างชิ้นงานเท่ห์ๆ ไม่ซ้ำแบบใคร ก็สามารถทำเป็นอาชีพเสริมเป็นตัวเลือกได้อีกทางหนึ่ง