แกะรอยคดี ‘ไปป์บอมบ์’ ฝ่ากฎอัยการศึก จาก สยาม ถึงมีนบุรี ?!

เสียงระเบิด 2 จุด บริเวณทางเชื่อมรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานี สยาม (ระเบิดสยาม) กับศูนย์การค้าสยามพารากอน ถนนพระราม 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กทม.เมื่อช่วงค่ำ วันที่ 1 ก.พ.ที่่ผ่านมา…

Home / NEWS / แกะรอยคดี ‘ไปป์บอมบ์’ ฝ่ากฎอัยการศึก จาก สยาม ถึงมีนบุรี ?!

เสียงระเบิด 2 จุด บริเวณทางเชื่อมรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานี สยาม (ระเบิดสยาม) กับศูนย์การค้าสยามพารากอน ถนนพระราม 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กทม.เมื่อช่วงค่ำ วันที่ 1 ก.พ.ที่่ผ่านมา สร้างความแตกตื่นให้กับประชาชน และแรงระเบิดยังสร้างความเสียหายและฝังร่องรอยทรงจำให้กับสถานที่นั้นและผู้ที่ได้รับเจ็บ 2 ราย โดยไม่ใครเสียชีวิต

หลักฐานชิ้นโบแดงในที่เกิดเหตุ คือ “ระเบิดแสวงเครื่อง” ชนิด “ไปป์บอมบ์” ที่คนร้ายได้ใช้ท่อเหล็กขนาดความยาว 20 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 10 ซม. ใช้แผ่นเหล็กเชื่อมปิดก้นกระบอก ส่วนปากกระบอกเป็นเกลียวใช้ฝาเหล็กหมุนปิดปากกระบอก ใช้ดินระเบิดแรงต่ำ หรือดินเทาที่อาจนำมาจากประทัดยักษ์มาใส่ บรรจุตะปู น็อตทำเป็นสะเก็ด รัศมีฉกรรจ์ประมาณ 5 เมตร รัศมีสะเก็ดระเบิดอยู่ในระยะ 5-10 เมตร อานุภาพระเบิดขึ้นอยู่กับดินระเบิดที่ใส่ลงไป

สยาม, ระเบิดสยาม, ระเบิดมีนบุรี, ระเบิดสมานแมนชั่น, ระเบิด, คนร้าย, วงจรปิด, ระเบิดแสวงเครื่อง, ไปป์บอมบ์

ซึ่งภาพวงจรปิดบริเวณนั้น ชี้ชัดว่า คนร้ายจุดระเบิดด้วยสายชนวนที่ใช้ดินเทาอัดบรรจุใส่ท่อเหล็กและใช้ตะปูขนาด 2 นิ้ว เป็นสะเก็ดระเบิด เคราะห์ดี ที่คนร้ายใส่ดินระเบิดไม่ถึง 1 กก. อนุภาพจึงไม่รุนแรงพอ แต่หากใส่ดินระเบิดเต็มที่ อนุภาพทำลายล้างถึง 20-40 เมตร

ที่สำคัญ…ชิ้นส่วนระเบิดนี้ กลับมีลักษณะคล้ายคลึงกับ ระเบิดแสวงเครื่อง แรงดันต่ำชนิดไปป์บอมบ์ที่ใช้ นาฬิกาแบบดิจิตอลจุดชนวน เมื่อครั้งเหตุระเบิดที่ย่านมีนบุรี เมื่อช่วงต้นปี 2557

2 เหตุการณ์จึงถูกเชื่อมโยง และเข้าประเด็นการเมืองทันที ?

ย้อนไป เมื่อครั้งเหตุระเบิดย่านมีนบุรี นายบุญเลื่อน ปินตา และนายเกรียงไกร ศิลป์อำนวย พกพาระเบิดแสวงเครื่องชนิดไปป์บอมบ์ขณะขับรถจักรยานยนต์ออกจากบ้านพักภายในซอยราษฏร์อุทิศ ย่านมีนบุรี แต่ระหว่างทาง ระเบิดที่พกมากลับระเบิดขึ้น ทำให้ทั้งสองคนเสียชีวิต เมื่อตำรวจตรวจสอบบ้านเช่าของทั้ง 2 พบระเบิดไปป์บอมบ์ซุกซ่อนอีก 5 ลูก

ซึ่งเป็นระเบิดที่ทำจากท่อเหล็ก ขนาดเส้นทางศูนย์กลาง 6 นิ้ว ยาว 1 ฟุต และใช้ดินดำเป็นส่วนประกอบ และยังมีอุปกรณ์ประกอบระเบิดอีกหลายรายการ และตำรวจก็ออกหมายจับผู้เชื่อมโยงได้หลายราย แต่ไร้การจับกุมเพิ่มเติม ประกอบกับคดีระเบิดสมานเมตตาแมนชั่น ย่านบางบัวทอง เมื่อปี 2553 ตำรวจสามารถจับกุมผู้เชื่อมโยงได้ คือ อัมพร ใจก้อน หรือ ครูแขก แต่นายกษิ ดิษฐ์ธนรัตน์ ยังหลบหนี

3

ฉะนั้น รายละเอียดการประกอบระเบิดชนิดนี้ มีลักษณะเดียวกัน เปรียบเหมือนลายเซนต์ของบุคคล เพียงแต่ 2 เหตุการณ์นี้ ต่างตรงวิธีการจุดระเบิด ?

533402-01

ขณะที่ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ยันเสียงแข็งมาตลอดการสืบสวนคดีนี้ว่า เป้าหมายการก่อเหตุครั้งนี้ เป็นเรื่องการเมือง โดยวิเคราะห์จากเหตุลอบวางระเบิดส่วนใหญ่มาจากสร้างสถานการณ์ทางการเมือง และเหตุระเบิดครั้งนี้มีความคล้ายคลึงกับเหตุระเบิดที่มีนบุรีและสมานแมนชั่น บางบัวทอง และที่สำคัญ คนร้ายต้องเคยก่อเหตุมาหลายครั้ง เพราะมีความเป็นมืออาชีพ

และก่อนหน้านี้ มีหลายฝ่ายต่างออกมาแสดงความคิดเห็นในเหตุดังกล่าวในหลายทิศทาง บ้างก็ว่าเกิดจากเหตุความไม่พอใจที่อดีตนายกหญิงยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถูก สนช.ถอดถอนฯ เกิดจากฝีมือฝ่ายการเมืองตรงข้ามบ้าง เกิดจากกลุ่มเครือข่ายที่ก่อเหตุระเบิดที่มีนบุรีบ้าง และเกิดจากฝ่ายรัฐบาลที่สร้างสถานการณ์เอง เพื่อคงกฏอัยการศึก

แต่…พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และผบ.ทบ. ออกมาอ้ำอึ้ง ชี้ชัดไม่ได้ว่า เหตุระเบิดครั้งนี้เชื่อมโยงการเมืองหรือไม่ และขอให้หลายฝ่ายมองไปที่ประเด็นอื่นบ้าง ซึ่งหากจับคนร้ายได้ ทุกโจทก์ก็จะมีคำตอบเอง

อย่างไรก็ตาม คดีระเบิดครั้งนี้ นอกจากมีชิ้นส่วนระเบิด เป็นหลักฐานแล้ว “ภาพวงจรปิดยังเป็นไม้เด็ด” ที่สามารถจับภาพ 2 คนร้ายเพศชายรูปร่างสันทัดได้ชัดเจน ซึ่งโดยสารมารถแท๊กซี่ คนแรกสวมหมวกสีขาวปิดบังใบหน้า สวมเสื้อยืดคอกลมสีขาว นุ่งกางเกงขายาวสีดำ สวมรองเท้าผ้าใบ ในมือถือผ้าขนหนูผืนเล็กสีขาวไว้

ส่วนชายต้องสงสัยอีกคน สวมหมวกสีดำปิดบังใบหน้า ใส่เสื้อเชิ้ตแขนยาวสีขาว นุ่งกางเกงขายาวสีดำ ซึ่งทั้งคู่มีพฤติกรรมน่าสงสัยตลอดระยะเวลาประมาณ 19.00 – 20.00 น. หลังจากนั้นก็เกิดระเบิดขึ้นทั้ง 2 จุด ภายในเวลาไม่กี่วินาที

5

และขณะนี้ ศาลได้อนุมัติออกหมายจับชายต้องสงสัยทั้ง 2 คนแล้ว และอยู่ระหว่างติดตามตัวของตำรวจ โดยแนวทางการสืบสวน เชื่อว่า มีผู้ร่วมก่อเหตุมากกว่า 2 คน ซึ่งตำรวจต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานว่าจะสามารถเชื่อมโยงถึงใครได้บ้าง

แม้คดีนี้ ยังไม่สามารถระบุถึงแรงจูงใจก่อเหตุของคนร้ายได้ว่ามุ่งหวังประโยชน์ใด แต่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ภายในการควบคุมกฎอัยการศึก หลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ายึดอำนาจทางการเมือง ไม่รีรอ ตบเท้าคงอัยการศึกต่อ พร้อมเพิ่มมาตรการเฝ้าระว้งเข้มงวดทุกพื้นที่ แม้ก่อนหน้านี้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯและ รมว.กลาโหม จะเสียงแข็งว่าเฝ้าระวังเป็นอย่างดี ก็ยังพลาดได้

จากนี้ เป็นเรื่องท้าทายของรัฐบาล ที่จะต้องรักษาความน่าเชือในความมั่นคงของประเทศไว้ให้ได้ ไม่ว่า กลุ่มคนร้าย หรือ เครือข่ายใด จะท้าท้ายเข้ามาปั่นป่วนหรือสร้างสถานการณ์ด้วยวิธีใดก็ตาม

แกล้วนลิน

MThai News