คลองมะขามเฒ่า น้ำแห้งขอด ภัยแล้ง

‘คลองมะขามเฒ่า’ น้ำแห้งขอด กรมชลฯขอชาวนา งดการทำนาปรัง

สถานการณ์ความแห้งแล้งปีนี้ที่ส่อเค้าว่าจะรุนแรง เนื่องจากปริมาณฝนตกมาน้อยติดต่อกันหลายปี แหล่งน้ำใหญ่ต่างๆน้ำลดปริมาณอย่างรวดเร็ว แต่ละจังหวัดก็ต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้ากันอย่างเร่งด่วน เช่น ดั่งสภาพความแห้งแล้งของคลองมะขามเฒ่า เมื่อน้ำแห้งขอดลงเรื่อยๆ ในสภาวะภัยแล้งที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้นตามลำดับ โดยจังหวัดชัยนาท ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา มีระดับต่ำกว่าปกติ จึงส่งผลกระทบให้บริเวณปากคลองมะขามเฒ่า-อู่ทอง ที่เชื่อมจากแม่น้ำเจ้าพระยา ส่งน้ำไปยัง อ.อู่ทอง…

Home / NEWS / ‘คลองมะขามเฒ่า’ น้ำแห้งขอด กรมชลฯขอชาวนา งดการทำนาปรัง

ประเด็นน่าสนใจ

  • สถานการณ์ความแห้งแล้งปีนี้มีความรุนแรง เนื่องจากปริมาณฝนตกมาน้อยติดต่อกันหลายปี
  • ส่งผลทำให้น้ำภายใน ‘คลองมะขามเฒ่า’ แห้งขอดลดลงอย่างต่อเนื่อง
  • ทางด้านกรมชลประทาน ติดประกาศขอความร่วมมือจากชาวนางดทำนาปรัง เนื่องจากน้ำต้นทางมีไม่เพียงพอ

สถานการณ์ความแห้งแล้งปีนี้ที่ส่อเค้าว่าจะรุนแรง เนื่องจากปริมาณฝนตกมาน้อยติดต่อกันหลายปี แหล่งน้ำใหญ่ต่างๆน้ำลดปริมาณอย่างรวดเร็ว แต่ละจังหวัดก็ต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้ากันอย่างเร่งด่วน

เช่น ดั่งสภาพความแห้งแล้งของคลองมะขามเฒ่า เมื่อน้ำแห้งขอดลงเรื่อยๆ ในสภาวะภัยแล้งที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้นตามลำดับ โดยจังหวัดชัยนาท ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา มีระดับต่ำกว่าปกติ จึงส่งผลกระทบให้บริเวณปากคลองมะขามเฒ่า-อู่ทอง ที่เชื่อมจากแม่น้ำเจ้าพระยา ส่งน้ำไปยัง อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี มีสภาพที่แห้งขอดเป็นระยะทางยาว

โดยปัจจุบันคลองมะขามเฒ่า-อู่ทองที่ไหลผ่าน จ.ชัยนาท มีสภาพที่แห้งขอดจนเหลือเพียงดินโคลนติดก้นคลอง และน้ำเหลือเป็นแอ่งเล็กๆประปรายเท่านั้น ซึ่งจากสภาพดังกล่าวทำให้สัตว์น้ำที่อยู่ในคลองแห่งนี้กำลังตายไปจำนวนมากจนเป็นแหล่งหาอาหารชั้นดีของนกหลากชนิด

ทั้งนี้ยังมีซากสัตว์น้ำจำนวนไม่น้อย เช่น หอยโข่ง และหอยกาบสามเหลี่ยม ซึ่งเป็นสัตว์น้ำประจำถิ่นพบว่ามีอยู่มากในคลองมะขามเฒ่า-อู่ทอง ค่อยๆแห้งตายกลายเป็นซากนอนเกยตื้น บนดินที่แตกระแหง แม้บางจุดจะมีแอ่งน้ำที่หลงเหลืออยู่

โดยชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณเล่าว่า คลองมะขามเฒ่า เป็นคลองที่ตื้นเขิน เมื่อสองปีก่อนสภาพคลองก็เป็นแบบนี้ แต่ปีนี้ดูแห้งแล้งมากกว่าสองปีก่อน จึงมีชาวบ้านผู้ที่ประกอบอาชีพ เลี้ยงวัว เลี้ยงควายสามารถนำ วัวควายลงไปกินหญ้าในคลองได้อย่างไม่ยาก

อย่างไรก็ตามด้านกรมชลประทานได้ทำป้ายมาปิดประกาศ ขอความร่วมมือให้ชาวนางดการทำนาปรัง เนื่องจากน้ำต้นทางมีไม่เพียงพอจากสภาพฝนน้อย และปริมาณน้ำกักเก็บในเขื่อนหลักต่ำกว่าเกณฑ์