PM 2.5 พุ่งสูงขึ้น เกือบทั่วประเทศอยู่ในระดับสีส้ม-แดง

เมื่อช่วงเวลา 08.00 น. วันนี้ เว็บไซต์ Bangkokairquality.com ของ กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร รายงานค่าเฉลี่ยคุณภาพในรอบ 24 ชั่วโมง ที่ผ่านมา โดยระบุว่า…

Home / NEWS / PM 2.5 พุ่งสูงขึ้น เกือบทั่วประเทศอยู่ในระดับสีส้ม-แดง

เมื่อช่วงเวลา 08.00 น. วันนี้ เว็บไซต์ Bangkokairquality.com ของ กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร รายงานค่าเฉลี่ยคุณภาพในรอบ 24 ชั่วโมง ที่ผ่านมา โดยระบุว่า 33 จุดตรวจวัดสภาพอากาศของกรุงเทพฯ มีค่าดัชนีคุณภาพอากาศอยู่ในระดับสีส้ม ซึ่งอยู่ในระดับที่เริ่มเป็นอันตรายต่อสุขภาพประชาชนแล้ว

จุดที่มีปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 สูงที่สุดในกรุงเทพได้แก่

  • เขตพระนคร ภายในสำนักงานเขตพระนคร ปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 อยู่ที่ 80 ไมโครกรัม/ลบ.ม. ค่า AQI อยู่ที่ 175
  • เขตวังทองหลาง บริเวณด้านหน้าปั้มน้ำมัน เอสโซ่ ซอยลาดพร้าว 95 ปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 อยู่ที่ 76 ไมโครกรัม/ลบ.ม. ค่า AQI อยู่ที่ 164
  • เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม ปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 อยู่ที่ 71 ไมโครกรัม/ลบ.ม. ค่า AQI อยู่ที่ 152
  • เขตคลองเตย ภายในสำนักงานเขตคลองเตย ปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 อยู่ที่ 70 ไมโครกรัม/ลบ.ม. ค่า AQI อยู่ที่ 149

AQICN รายงานสภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพฯ หลายจุดอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพประชาชนแล้ว และอีกหลายเขตอยู่ในระดับสีส้ม

เกือบทั่วไทย สภาพอากาศอยู่ในระดับสีส้ม-แดง

เว็บไซต์ของศูนย์ศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รายงานค่าดัชนีคุณภาพอากาศ เมื่อเวลา 07.00 น. ที่ผ่านมา โดยพบว่า หลายพื้นที่ในประเทศไทยมีค่าดัชนีคุณภาพอากาศอยู่ในระดับสีแดง และส้ม มีเพียงบางส่วนเท่าที่สภาพอากาศอยู่ในระดับดี

โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่สภาพอากาศอยู่ในระดับสีส้ม คือ เริ่มเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และในระดับสีแดงที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

อุตุฯ รายงานว่า สภาพลมอ่อน สะสมฝุ่น

เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา กรมอุตุนิยมวิทยาได้รายงานสภาพอากาศวันนี้ว่า ฝุ่นละออง ในระยะ 1-2 วันนี้ บริเวณภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ลมที่พัดปกคลุมบริเวณดังกล่าวเป็นลมอ่อน และมีฝนเล็กน้อยทำให้ฝุ่นละอองยังคงสะสมได้

โดยกรมอุตุนิยมวิทยา รายงานเพิ่มเติมว่า วันที่ 18-21 มกราคม 2563 บริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งภาคตะวันออกโดยรอบอ่าวไทย มีแนวโน้มได้ร้บปัจจัยบวกจากพลังงานศักย์ของการไหลเวียนอากาศ (CAPE) ในเกณฑ์ ปานกลาง (Moderate) ส่งผลให้มีการระบาย PM2.5 ได้ดีขึ้น