ส.ส.เสียบบัตรแทนกัน โภคิน พลกุล

โภคิน ชี้! กระบวนการงบฯ 63 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

ที่ สัปปายะสภาสถาน รัฐสภาแห่งใหม่ ถนนเกียกกาย นายโภคิน พลกุล ฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย และ อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ถึงประเด็นที่มีการส่งศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ 63 กรณีเสียบบัตรแทนกัน ทั้งนี้…

Home / NEWS / โภคิน ชี้! กระบวนการงบฯ 63 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

ประเด็นน่าสนใจ

  • โภคิน ชี้ กระบวนการตราร่างงบประมาณปี 63 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ จะต้องตกไปทั้งฉบับ
  • โภคินมอง ไม่สามารถนำมาตรา 143 ของรัฐธรรมนูญมาปรับใช้ได้

ที่ สัปปายะสภาสถาน รัฐสภาแห่งใหม่ ถนนเกียกกาย นายโภคิน พลกุล ฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย และ อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ถึงประเด็นที่มีการส่งศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ 63 กรณีเสียบบัตรแทนกัน

ทั้งนี้ นายโภคินกล่าวว่า ต้องรอดูว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยออกมาอย่างไร

แต่โดยส่วนตัวเห็นว่า หากกระบวนการตราไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญแล้ว ร่างพระราชบัญญัติฯ จะต้องตกไปทั้งฉบับ

เพราะถือว่าเป็นการขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญในสาระสำคัญตามรัฐธรรมนูญมาตรา 178 เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญเคยมีแนวคำวินิจฉัยเมื่อปี 57 แล้วว่าเมื่อกระบวนการตรากฎหมายไม่ชอบย่อมจะต้องตกไปทั้งฉบับ ไม่ได้ตกไปเฉพาะบางมาตรา

ซึ่งการให้บุคคลลงคะแนนแทนตนเองไม่ว่า จะอ้างด้วยเหตุผลใดย่อมฟังไม่ขึ้น แม้ผู้นั้นจะอยู่ในห้องประชุมขณะที่มีการลงคะแนนก็ตาม

นายโภคินกล่าวอีกว่า หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ร่างพระราชบัญญัติฯตกไปทั้งฉบับจะเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ในการหาทางออกสำหรับกรณีนี้ ส่วนตัวคิดว่าไม่สามารถนำมาตรา 143 ของรัฐธรรมนูญมาปรับใช้ได้

เนื่องจาก ในมาตรา 143 ของรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องที่กำหนดให้สภาฯพิจารณาร่างกฎหมายงบประมาณให้เสร็จภายใน 105 วัน หากไม่ทันตามกรอบเวลาจะให้ถือว่าสภาฯได้ให้ความเห็นชอบและตามที่คณะรัฐมนตรีเสนอและส่งให้วุฒิสภาต่อไป

แต่สำหรับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นนั้น เป็นกรณีของกระบวนการตราที่มิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ดังนั้น หากจะมาอ้างไมได้ว่าหากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ร่างกฎหมายงบประมาณที่สภาฯแก้ไขตกไปทั้งฉบับจะนำร่างกฎหมายงบประมาณฉบับของคณะรัฐมนตรีมาบังคับใช้ เพราะเป็นคนละกรณีกัน

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า รัฐบาลสามารถตราพระราชกำหนดเพื่อบังคับใช้ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณฯได้หรือไม่นั้น นายโภคิน กล่าวตอบว่า รัฐธรรมนูญบัญญัติเป็นการเฉพาะว่า การจ่ายเงินแผ่นดินและการจัดทำงบประมาณจะต้องกระทำเป็นพระราชบัญญัติเท่านั้น

อีกทั้ง รัฐธรรมนูญยังได้บัญญัติเป็นการเฉพาะด้วยว่า กรณีใดบ้างที่คณะรัฐมนตรีสามารถตราพระราชกำหนดได้บ้าง จึงเห็นว่าการตราพระราชกำหนดในกรณีนี้ย่อมไม่สามารถกระทำได้ เพราะหากทำเช่นนั้นจะเป็นการกระทำที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ

นายโภคินกล่าวถึงประเด็น ส.ส.เสียบแทนกัน จะเป็นเหตุถูกฟ้องอาญาได้หรือไม่นั้น

นายโภคิน กล่าวเพิ่มเติมว่า มีการเสียบบัตรแทนกันจริง ถ้าอ้างอย่างนี้ก็แก้รัฐธรรมนูญซะเลย ให้เสียบแทนกันได้เลย