คลายข้อสงสัย! กรมการบินพลเรือน สอบไม่ผ่าน ไอซีเอโอ

เกิดข้อกังขา! เมื่อ กรมการบินพลเรือน ของไทยสอบไม่ผ่านการประเมินของ ‘ไอซีเอโอ‘ อะไรคือสาเหตุ ทั้ง ๆ ที่ไทยเป็นเหมือนศูนย์กลางการบินของอาเซียน หลังจากเกิดกรณีที่องค์กรการบินของญี่ปุ่น ได้ออกมาประกาศว่า ไม่อนุญาตให้สายการบินของไทยจำนวน 4 สายการบิน ได้แก่…

Home / NEWS / คลายข้อสงสัย! กรมการบินพลเรือน สอบไม่ผ่าน ไอซีเอโอ

เกิดข้อกังขา! เมื่อ กรมการบินพลเรือน ของไทยสอบไม่ผ่านการประเมินของ ‘ไอซีเอโอ‘ อะไรคือสาเหตุ ทั้ง ๆ ที่ไทยเป็นเหมือนศูนย์กลางการบินของอาเซียน

หลังจากเกิดกรณีที่องค์กรการบินของญี่ปุ่น ได้ออกมาประกาศว่า ไม่อนุญาตให้สายการบินของไทยจำนวน 4 สายการบิน ได้แก่ ไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์ นกสกู๊ต การบินไทย และไทยสไมล์ เพิ่ม, เปลี่ยน, หรือเพิ่มเที่ยวบิน หรือจุดบินในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งส่งผลกระทบต่อเครื่องบินเช่าเหมาลำ และกรมการบินพลเรือนแบบเต็ม ๆ

กรมการบินพลเรือน, ไอซีเอโอ, การบินไทย, ไทยสไมล์, ไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์, นกสกู๊ต, อาเซียน
ไอซีเอโอได้มีการตรวจสอบมาตรฐานการควบคุมสายการบิน ตามมาตรฐาน USOAP

 

คำถามแรกที่เกิดขึ้นในจของคนไทยหลาย ๆ คนรวมถึงชาวต่างชาติที่เดินทางผ่านประเทศไทยบ่อย ๆ คือ กรมการบินพลเรือนของไทย สอบตกมาตรฐานขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือ ไอซีเอโอ ที่ได้ยินกันหนาหูในช่วงนี้ ได้อย่างไร ทั้ง ๆ ที่ประเทศชั้นนำในอาเซียนกลับผ่านฉลุย

ต้องย้อนกลับไปอย่างนี้ครับ ไอซีเอโอได้มีการตรวจสอบมาตรฐานการควบคุมสายการบิน ตามมาตรฐาน ICAO Universal Safety Oversight Audit Program หรือ USOAP พบว่า ไทยมีข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัย เกี่ยวกับกระบวนการรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศ

ซึ่งผลการประเมินออกมา กรมการบินพลเรือนของไทย มีคะแนนต่ำที่สุดในอาเซียน! ทั้ง ๆ ที่ในรอบหลายปีที่ผ่านมา สายการบินของไทยก็ไม่ได้ประสบอุบัติเหตุร้ายแรงจนมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก เหมือนกับในหลายประเทศ หรือว่าเราแค่โชคดี?

ทำให้หลายฝ่ายออกมาแสดงความเห็นต่อการประเมินดังกล่าวว่า จริง ๆ แล้วมาตรฐานการบินของไทยอาจจะต่ำกว่าประเทศอื่นในอาเซียนจริง ๆ ก็ได้ ซึ่งสาเหตุอาจเป็นเพราะการเติบโตอย่างรวดเร็วของธุรกิจการบินต้นทุนต่ำ หรือโลว์คอสต์ ในช่่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ทำให้การกำกับดูแลอาจไม่ทั่วถึง

กรมการบินพลเรือน, ไอซีเอโอ, การบินไทย, ไทยสไมล์, ไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์, นกสกู๊ต, อาเซียน
องค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือ ไอซีเอโอ

 

 

ตลอดจนเป็นไปได้หรือไม่ ที่การบริหารจัดการภายในสายการบินเองยังไม่ได้มาตรฐาน อย่างเช่นในเรื่องของบุคลากร ที่เมื่อการเติบโตสูง คุณภาพของบุคลากรอาจจะไม่ได้มาตรฐานทั้งหมด เพราะความต้องการมีสูงตามการขยายตัวของธุรกิจ

หรือแม้กระทั่งการบริหารเส้นทางบินต่าง ๆ ที่เริ่มมีความถี่มากขึ้น ชั่วโมงบินของบุคลากรมีความถี่สูงขึ้น ความเสี่ยงก็อาจจะสูงขึ้นตามไปด้วย แต่นอกเหนือจากนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือเครื่องบินของสายการบินเหล่านี้ เริ่มถูกใช้งานหนักขึ้นตามเส้นทางบินที่สูง และถี่ขึ้น จนไม่ได้ถูกดูแลอย่าง 100%

เรื่องนี้เป็นเพียงการคาดการณ์ และตั้งข้อสังเกตเท่านั้นนะครับ ส่วนสาเหตุที่แ้จริงคงต้องรอ ไอซีเอโอ เป็นผู้ชี้แจง หลังจากที่กรมการบินพลเรือน และการบินไทยได้พยายามทำหนังสือชี้แจงว่า การบินของไทยนั้นมีการปรับปรุงตลอดและได้มาตรฐานแน่นอน ซึ่งขัดกับ ไอซีเอโอ ที่อ้างว่าการบินของไทยถูกแช่แข็ง ตั้งแต่พ.ศ. 2548

และทั้งหมดทั้งปวงก็ได้สะท้อนออกมาผ่านคะแนนการประเมินของ ไอซีเอโอ ที่ไทยนั้นได้คะแนนเพียง 35.6% เป็นลำดับสุดท้าย ตามมาด้วยกัมพูชา 40.2% อินโดนีเซีย 45.1% บรูไน พม่า และลาว 65% ส่วนมาเลเซียที่เกิดอุบัติเหตุถึง 3 ครั้งในรอบ 2 ปี ได้คะแนนถึง 81% และสิงคโปร์ครองแชมป์ที่ 98.9%

 

ติดตาม ‘รายงานพิเศษ’ ได้ที่นี้>>>>>>>

 

MThai News