อีกมุมหนึ่งของวิกฤต ‘โรฮิงญา’ ชนชาติที่ ‘ไม่มีใครต้องการ’

แก้ปม ‘เกมตีปิงปอง’ ถกปัญหา เพราะเหตุใดชาวโรฮิงญา จึงไม่เป็นที่ต้องการจากชาติใดๆในโลก หลังจากที่เมื่อสัปดาห์ก่อน ทางทีมข่าว MThai ได้มีการนำเสนอเรื่องราว เกี่ยวกับที่มาของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวโรฮิงญา หรือโรฮีนจา ว่าถ้าหากย้อนไป ภูมิลำเนาดั้งเดิมในช่วงของยุคล่าอาณานิคม ที่อังกฤษ ได้ยึดครองอินเดียไว้เป็นเมืองขึ้น…

Home / NEWS / อีกมุมหนึ่งของวิกฤต ‘โรฮิงญา’ ชนชาติที่ ‘ไม่มีใครต้องการ’

แก้ปม ‘เกมตีปิงปอง’ ถกปัญหา เพราะเหตุใดชาวโรฮิงญา จึงไม่เป็นที่ต้องการจากชาติใดๆในโลก

หลังจากที่เมื่อสัปดาห์ก่อน ทางทีมข่าว MThai ได้มีการนำเสนอเรื่องราว เกี่ยวกับที่มาของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวโรฮิงญา หรือโรฮีนจา ว่าถ้าหากย้อนไป ภูมิลำเนาดั้งเดิมในช่วงของยุคล่าอาณานิคม ที่อังกฤษ ได้ยึดครองอินเดียไว้เป็นเมืองขึ้น สื่อต่างประเทศบางสำนักได้กล่าวอ้างว่า ชาวโรฮิงญา มาจากแดนภารตะ ในการเป็นแนวร่วมระหว่างการทำสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งขณะนั้น ชาวพุทธต้องสู่รบกับชาวพุทธในรัฐยะไข่ ประเทศพม่า จนกลายเป็น ‘ประวัติศาสตร์บาดแผล’ ของศัตรูคู่อาฆาต ซึ่งสุดท้าย อังกฤษก็ลอยแพชาวมุสลิมโรฮิงญา ที่ยังต้องอาศัยอยู่ร่วมชายคาเมียนมา ร่วมกับ ศัตรูต่อไป คล้ายเป็นระเบิดเวลา รอการปะทุขึ้นอีกครั้ง

ทว่า สื่อต่างประเทศในแถบยุโรปอย่าง ‘ซีเอ็นเอ็น’ และ ‘บีบีซี’  มักจะนำเสนอเรื่องราวของกลุ่มโรฮิงญาในฐานะ ‘ผู้ถูกกระทำ’ แต่ในความเป็นจริงแล้ว หากมองให้รอบด้าน ในหลายแง่มุม จะเห็นได้ว่า มีเรื่องราวบางกระแส ที่ระบุถึงมุมมองอีกด้าน ของกลุ่มชาติพันธุ์นี้เอาไว้อย่างน่าสนใจ

โรฮิงญา,เกมตีปิงปอง,ผู้อพยพ,เมียนมา,พระวีระธุ

จากเสียงลือเสียงเล่าอ้าง ด้วยความไม่แน่นอนของเชื้อชาติและถิ่นฐานที่ชัดเจน นับตั้งแต่พม่าเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบเผด็จการทหาร จึงพยายามผลักดันชาวโรฮิงญาออกไปจากประเทศ เนื่องด้วยความขัดแย้งทางศาสนา ต่อชาวพุทธ อย่างที่ทราบกันได้ว่าเมียนมา เป็นประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่ เป็นพุทธศาสนิกชน ที่เคร่งครัดในศาสนา ถือได้ว่าเป็นพุทธสังคมที่มีความเข้มแข็ง และมีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ ทว่าชาวพุทธส่วนใหญ่มองว่า ชาวโรฮิงญา เป็นผู้รุกราน ตามแนวติด Islamophobia หรือแนวคิดเกลียดกลัวอิสลาม บางกระแสระบุว่า ทางการเมียนมา ต้องการสกัดไม่ให้ชาวโรฮิงญา เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองภายใน

อีกประเด็นที่น่าจับตามอง จนเกิดการตั้งคำถาม ว่าเพราะเหตุใด เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ อย่างนางอองซาน ซูจี ถึงไม่ออกมาแสดงท่าทีใดๆ ต่อวิกฤติดังกล่าว แม้ว่าจะมีกระแสบางกระแสที่ระบุว่า เธอเป็นขวัญใจของชาวมุสลิม แต่ด้วยการขับเคลื่อนของประเทศที่ย่านก้าวเข้าไปสู่ระบอบประชาธิปไตย เช่นนี้ ท่ามกลางสังคมที่อุดมไปด้วยชาวพุทธกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ การออกมาแสดงความคิดเห็นใดๆต่อปัญหาครั้งนี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน และอาจกระทบต่อฐานคะแนนเสียงของเธอไม่มากก็น้อย จึงเกิดท่าทีในเชิง ‘พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง’

จากปากของ พระวีระธุ พระอาวุโสผู้จุดชนวนความรุนแรงทางศาสนาในพม่า พระผู้เรียกตัวเองว่า ‘บิน ลาเดน แห่งพม่า’ผู้ซึ่งใช้วาจาเครียดแค้นชิงชัง ที่ได้รับการขนานนามว่า เป็นผู้สร้างความบาดหมางทางศาสนาในเมียนมา และเป็นปมสำคัญ หลังจากที่ออกมาอ้างว่า มีเหตุกระทำชำเราหญิงชาวพุทธ พร้อมทั้งกล่าวหาว่า ชาวมุสลิมในแง่ลบอย่างรุนแรง เดอะ การ์เดียน เผยว่า พระวีระธุเคยถูกดำเนินคดีในโทษฐานสร้างความเกลียดชังทางศาสนา แต่เมื่อถูกปล่อยตัวออกมา เขายังไม่ละเลิกสไตล์การเทศนา เพื่อเผยแพร่ความเกลียดชังทางเชื้อชาติและศาสนาต่อไป ครั้งหนึ่งเขาเผยว่า ชาวโรฮิงญาบุกเข้ามาพร้อมกับอาวุธครบมือ เพื่อที่จะเข่นฆ่า และยังอ้างด้วยว่าชาวมุสลิม ต้องการกดให้ชาวพุทธในประเทศกลายเป็นชนกลุ่มน้อย ในขณะที่ตนเองจะได้ก้าวขึ้นมาเป็นชนชาติส่วนใหญ่ในประเทศเสียเอง

โรฮิงญา,เกมตีปิงปอง,ผู้อพยพ,เมียนมา,พระวีระธุ
พระวีระธุ พระอาวุโสผู้จุดชนวนความรุนแรงทางศาสนาในพม่า พระผู้เรียกตัวเองว่า ‘บิน ลาเดน แห่งพม่า’

พร้อมกันนี้ ความขัดแย้งอย่างรุนแรงของทั้งสองเชื้อชาติ ปะทุอย่างรุนแรงในปี 2555 หลังจากชนวนคดีการกระทำชำเราสาวชาวพุทธในเมียนมา แพร่สะพัดออกไป สงครามย่อยๆในการประหัดประหารระหว่าง สองศาสนาจึงเริ่มขึ้น มิใช่การเป็นผู้ถูกกระทำแต่เพียงฝ่ายเดียว และเป็นเหตุให้รัฐบาลเข้ามาไกล่เกลี่ยปัญหาดังกล่าว ว่าทั้งสองกลุ่มไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติอีกต่อไป จึงจึงเป็นจุดเริ่มต้นของเกมที่เรียกว่า ‘ศึกตีปิงปอง’ ระหว่างชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายชาติขึ้น ซึ่งขณะนี้ยังไม่แน่ชัดว่าใครจะเป็นผู้แพ้

ส่วนท่าทีของบังคลาเทศ ซึ่งมีชายแดนติดกับเมียนมา ทางตะวันออกเฉียงใต้ ที่ครั้งหนึ่งเคยรับชาวโรฮิงญาเข้าประเทศ ที่แม้ประชากรส่วนใหญ่จะเป็นชาวมุสลิม มีผู้นับถือศาสนาอิสลามราวร้อยละ 88 แต่สิ่งที่เป็นใจความสำคัญ ของสาเหตุที่บัคลาเทศเองก็มิได้ต้องการรับเลี้ยงดูปูเสื่อชาวโรฮิงญา เนื่องจาก บังคลาเทศเอง ก็เป็นประเทศยากจนและมีประชากรในประเทศกว่า 133 ล้านคน ซึ่งนับได้ว่าการอยู่อาศัยในประเทศหนาแน่นอย่างมาก ทั้งยังประสบปัญหาในการการลักลอบเข้าประเทศ เป็นปัญหาใหญ่ลำดับต้นๆ ดังนั้นบังคลาเทศ จึงมิยินดีที่จะรับภาระผู้ลี้ภัยเหล่านี้เข้ามาเพิ่ม

ส่วนประเทศที่สอง และ ที่สาม ซึ่งมีทั้งเมืองพุทธและดินแดนของชาวมุสลิม ก็ไม่ประสงค์จะเข้ามารับผิดชอบปัญหาที่ตนเองไม่ได้เป็นคนก่อ ซ้ำร้าย ยังมีความกังวลว่าผู้อพยพอาจเป็นกลุ่มคนไร้ศักยภาพ ขาดความรู้ความสามารถ ไม่ได้รับการศึกษา มิดีมิร้าย หลายฝ่ายมีความกังวลว่า ผู้ลี้ภัยเหล่านี้อาจจะเข้ามาสร้างปัญหาให้คนในประเทศเพิ่มก็เป็นได้

กระนั้น มีผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์หลายราย ที่เข้ามาแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับ การเบียดเบียนสิทธิขั้นพื้นฐาน ของประชาชนของประเทศที่อยู่เดิม ไม่ว่าจะเป็นในด้าน การเสียภาษี ค่าจ้างบุคลากรทางการศึกษา และการแพทย์ ที่หากวันใดรัฐบาลรับผู้ลี้ภัยเหล่านี้เข้ามา ซึ่งก็มิอาจปฏิเสธได้ว่า หากเข้ามาประกอบอาชีพ อาจหนีไม่พ้นชนชั้นแรงงาน ที่มักจะไม่มีการเสียภาษี ประชาชนที่อยู่เดิมจำเป็นต้องแบ่งพื้นที่ และแบ่งบุคลากรขั้นพื้นฐานให้แก่บุคคลเหล่านี้ด้วย โดยที่พวกเขาไม่ได้มีส่วนในการหารายได้เข้าแผ่นดิน

เห็นได้จากตัวอย่างของกรณีที่ แพทย์ รายหนึ่งซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในจังหวัดบึงกาฬ ที่โพสต์ข้อความเป็นนัยว่า คนไข้ยากไร้ในประเทศไทย ซึ่งเป็นชาวไทยจริงๆมีจำนวนเยอะมากอยู่แล้ว แต่ด้วยหน้าที่ของการเป็นหมอ พวกเขาต้องรับรักษาคนไข้ที่มาจากฝั่งประเทศเพื่อนบ้านตามหลักมนุษยธรรม ซึ่งงบประมาณในการรับรักษาผู้ป่วยจากประเทศเพื่อนบ้านเหล่านั้น ก็มาจากภาษีของคนไทย มาจากน้ำพักน้ำแรงของคนในชาติทั้งสิ้น

MThai News