กกต เลือกตั้ง62

เลือกตั้ง62 : ‘สดศรี’ ชี้ กกต.ชุดปัจจุบัน ยังอ่อนประสบการณ์

หนึ่งในอดีต กกต. มอง กกต.ชุดปัจจุบัน ยังอ่อนประสบการณ์ในการจัดการเลือกตั้งระดับชาติ แต่ปัญหาเกิดขึ้นจากข้อจำกัดหลายอย่างที่เปลี่ยนแปลงจากการเลือกตั้งในครั้งก่อนหน้านี้ นางสดศรี สัตยธรรม อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เปิดเผยถึงมุมมองกรณีที่ประชาชนจับตาการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดปัจจุบันในหลายๆเรื่อง ทั้งการวินิจฉัยบัตรดี-บัตรเสีย บางเขตเลือกตั้งมีคะแนนมากกว่าผู้มาใช้สิทธิ์ และการส่งบัตรเลือกตั้งจากประเทศนิวซีแลนด์ล่าช้าว่า การจะมองสมรรถภาพของ…

Home / NEWS / เลือกตั้ง62 : ‘สดศรี’ ชี้ กกต.ชุดปัจจุบัน ยังอ่อนประสบการณ์

หนึ่งในอดีต กกต. มอง กกต.ชุดปัจจุบัน ยังอ่อนประสบการณ์ในการจัดการเลือกตั้งระดับชาติ แต่ปัญหาเกิดขึ้นจากข้อจำกัดหลายอย่างที่เปลี่ยนแปลงจากการเลือกตั้งในครั้งก่อนหน้านี้

นางสดศรี สัตยธรรม อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เปิดเผยถึงมุมมองกรณีที่ประชาชนจับตาการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดปัจจุบันในหลายๆเรื่อง ทั้งการวินิจฉัยบัตรดี-บัตรเสีย บางเขตเลือกตั้งมีคะแนนมากกว่าผู้มาใช้สิทธิ์ และการส่งบัตรเลือกตั้งจากประเทศนิวซีแลนด์ล่าช้าว่า การจะมองสมรรถภาพของ กกต.ชุดนี้ อาจจะต้องมองในส่วนของภาพรวม คือ 1.รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมคือ มีลักษณะของการปันส่วนผสม จึงทำให้ กกต.ชุดนี้ทำงานได้ยากขึ้น และ 2.ประสบการณ์ของกรรมการชุดนี้ยังไม่มากพอในการทำงานการเลือกตั้งในระดับชาติ จึงอาจเป็นผลให้เกิดความบกพร่องในการทำงาน ซึ่งเกิดได้จากหลายๆ ปัจจัย

ทั้งนี้ ในฐานะที่ตนเองเคยจัดการเลือกตั้งระดับชาติมาแล้ว 2 ครั้ง ก็ยอมรับว่าการทำงานในส่วนของการจัดการเลือกตั้งในแต่ละครั้งความบกพร่องสามารถเกิดขึ้นได้ แต่ต้องมีการชี้แจงให้สื่อมวลชนและประชาชนได้รับทราบถึงข้อเท็จจริง ที่สำคัญ กกต.ชุดนี้ ควรมีการประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งที่ถึงลูกถึงคนมากกว่านี้ รวมทั้งมีการชี้แจงปัญหาต่างๆชัดเจน อาทิ ปัญหาที่ไม่สามารถประกาศผลการเลือกตั้ง 100 เปอร์เซ็นต์ ก็ต้องอธิบายว่าอะไรคือเหตุผล ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะ กกต.ชุดนี้ได้รับเรื่องร้องเรียนก่อนวันเลือกตั้งถึง 110 เรื่อง ในบางเขตที่มีการร้องเรียนจึงอาจต้องมีการระงับไว้ก่อน และประกาศเฉพาะเขตที่ไม่มีการร้องเรียน

ส่วนกรณีที่คนในสังคมออนไลน์ ได้รวบรวมรายชื่อเพื่อถอดถอน กกต. กฎหมายวางหลักเกณฑ์ไว้ตามมาตรา 114 ว่าการดำเนินการถอดถอนมี 2 กรณี คือ ผ่านรัฐสภา ซึ่งในขณะนี้ไม่มีรัฐสภามีเพียง สนช. จึงต้องยื่นการถอดถอนให้เป็นอำนาจของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ซึ่งไม่ใช่เพียงการรวมรวมรายชื่อในสังคมออนไลน์ แต่ต้องมีการระบุชื่อ และบัตรประชาชนเป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจนจำนวน 20,000 รายชื่อ พร้อมกับหลักฐานการกระทำผิด(ทุจริต) ต่อประธาน ป.ป.ช. จากนั้นก็จะมีการไต่สวน ซึ่งทางกกต. สามารถต้องแก้ข้อหาในชั้น ปปช. ได้ ถ้าปปช.ลงมติกึ่งหนึ่งแล้วก็จะต้องยื่นไปที่อัยการสูงสุด อัยการสูงสุดจะเป็นผู้ฟ้องไปที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมืองจะเป็นผู้พิจารณาถอดถอน ซึ่งในระหว่างการถอดถอนการทำงานของ กกต.ซึ่งเป็นองค์กรอิสระจะต้องหยุดชะงักลง