‘มาลัยหลายชาย’ ธรรมเนียมเก่าแก่ฮินดู ให้สตรีสมรส ‘ยกครัว’

‘มาลัยหลายชาย’  ประเพณีเก่าแก่ หนึ่งหญิงหลายชาย ที่ยังคงมีปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน โดยทั่วไปแล้ว ปัญหาภายในครอบครัวที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในสังคมไทย หรือตามหลักความเชื่อในบางศาสนาเป็นที่ทราบกันดีว่า ประเพณที่ทั่วโลกทราบกัน คือการมีภรรยามากกว่า 1 คน เป็นเรื่องที่หลายคนคุ้นชิน แต่ในขณะที่ยังมีคนอีกมากมาย ยังไม่ทราบว่าแท้จริงแล้วมีประเพณีที่กำหนดให้สตรีสามารถสมรสกับชายได้มากกว่าหนึ่งคนเช่นกัน…

Home / NEWS / ‘มาลัยหลายชาย’ ธรรมเนียมเก่าแก่ฮินดู ให้สตรีสมรส ‘ยกครัว’

‘มาลัยหลายชาย’  ประเพณีเก่าแก่ หนึ่งหญิงหลายชาย ที่ยังคงมีปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน

โดยทั่วไปแล้ว ปัญหาภายในครอบครัวที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในสังคมไทย หรือตามหลักความเชื่อในบางศาสนาเป็นที่ทราบกันดีว่า ประเพณที่ทั่วโลกทราบกัน คือการมีภรรยามากกว่า 1 คน เป็นเรื่องที่หลายคนคุ้นชิน แต่ในขณะที่ยังมีคนอีกมากมาย ยังไม่ทราบว่าแท้จริงแล้วมีประเพณีที่กำหนดให้สตรีสามารถสมรสกับชายได้มากกว่าหนึ่งคนเช่นกัน

‘Polyandry’ (พอลลิแอน’ดรี) มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก สามารถแทนความหมายของการมีสามี หรือภรรยาหลายคนในเวลาเดียวกัน หรือการสมรสหมู่ ที่มีเจ้าบ่าวหรือเจ้าสาวมากกว่า 1 คน หรืออาจจะหมายรวมถึงการมีความสัมพันธ์ทางเพศมากกว่า 1 คน โดยที่ปราศจากการแต่งงานก็ได้

ในบางพื้นที่ของประเทศเนปาล, จีน, ตอนเหนือของอินเดีย รวมไปถึงทิเบต และประเทศในแถบแอฟริกา อย่างไนจีเรีย, แทนซาเนีย, เคนยา เมื่อพี่น้องเพศชาย ออกเรือนสมรสกับสะใภ้ไปแล้ว ทันใดนั้นเมื่อพี่น้องเพศชายคนอื่นๆ เข้าสู่วัยที่สามารถออกเรือนได้เช่นเดียวกับพี่ชาย ก็จะต้องเข้าพิธีสมรสกับภรรยาของพี่ชายตัวเองเช่นเดียวกัน

นอกจากนี้ ยังมีเหตุผลในด้านของการรักษาผืนดินให้เป็นปึกแผ่น กล่าวคือ ธรรมเนียมของผู้ที่อาศัยอยู่บนเทือกเขาหิมาลัยบางส่วน จะสืบทอดให้พี่น้องผู้ชายมีภรรยาคนเดียวกัน เพื่อแก้ไขปัญหาการแบ่งแยกผืนดินออกไป หรือการแบ่งสมบัติให้ลูกผู้ชายแต่ละคน และมีทรัพย์สินร่วมกัน เมื่อเขาออกเรือนมีภรรยา

200487196-001

ดังนั้นเมื่อพวกเขามีภรรยาคนเดียวกัน ก็จะถือว่าพวกเขายังคงเป็นครอบครัวเดียวกันนั่นเอง ซึ่งรูปแบบแนวคิดดังกล่าว จะปรากฏอยู่ในครอบครัวทุกฐานะ ไม่เพียงแต่ครอบครัวที่มีฐานะยากจนเท่านั้น

นอกจากธรรมเนียมดังกล่าว ที่ยกเหตุผลทางด้านการรักษาผืนดินให้เป็นปึกแผ่นในหิมาลัยแล้ว ยังปรากฏอยู่ในสังคมเกษตรกรรม ของรัฐปัญจาบ ของอินเดียเช่นเดียวกัน

ส่วนประเทศในแถบแอฟริกา การมีสามีหลายคนถือเป็นเรื่องปกติ ในขณะที่หากฝั่งเพศชาย มีภรรยามากกว่า 1 คน ถือเป็นเรื่องผิดปกติ และยอมรับได้ยาก…?

ในขณะที่ประเทศทางฝั่งที่ได้ขึ้นชื่อว่าพัฒนาแล้วอย่างฝั่งยุโรป ก็เคยปรากฏรูปแบบ “มาลัยหลายชาย” ในแคว้นอังกฤษโบราณ ที่จารึกไว้ว่า บางครั้งพ่อและลูกชาย ก็สามารถใช้ภรรยาร่วมกันได้ รวมถึงในกรุงโรม ที่เคยมีการลุกฮือให้แก้กฎหมาย อนุญาตให้สตรีสามารถสมรสกับบุรุษได้ถึง  2 ราย

อย่างไรก็ตาม รูปแบบของการถือปฏิบัติธรรมเนียมแบบ มาลัยหลายชาย หรือ Polyandry มักจะปรากฏให้เห็นอยู่ในสังคม หรือประเทศ ที่มีพื้นฐานทางสังคม ที่ยกย่อง และต้องการเพศชาย มากกว่าเพศหญิง

หรือการเกิดเป็นหญิง เป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ในสังคมนั้น ๆ ทำให้เกิดความไม่สมดุลทางเพศ มีสัดส่วนของประชากรเพศชายมากกว่าเพศหญิงหลายเท่า จึงเกิดแนวคิดการใช้ภรรยาร่วมกันในครอบครัวที่ยังยึดถือธรรมเนียมดังกล่าวอยู่ในปัจจุบันในบางสังคม

ทว่า ประเพณีดังกล่าว มิได้เพิ่งเกิดขึ้นในยุคปัจจุบัน หากแต่ปรากฏให้เห็นมานาน นับตั้งแต่อดีต โดยนักมานุษยวิทยา เผยว่ามีอย่างน้อย 20 ชนเผ่า ที่เคย และยังคงยอมรับธรรมเนียมดังกล่าว

เมื่อมองทางด้านสังคมที่ระบุไว้ข้างต้นแล้ว หากกล่าวถึงทางด้านความเชื่อ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่สนับสนุนธรรมเนียมดังกล่าวอย่างแน่นอน แต่มหากาพย์ฮินดูโบราณบางเรื่อง เคยปรากฏเรื่องราวของการบังคับให้ตัวละครเพศหญิง แต่งงานกัน 5 พี่น้อง ในขณะที่หลายศาสนา มีบทลงโทษ ต่อสตรี หรือบุตรที่เกิดจากสตรีที่มีสามีมากกว่า 1 คนอย่างรุนแรง

อย่างไรก็ตาม แม้เรื่องราวดังกล่าว จะเป็นเรื่องราวที่ไม่อาจยอมรับได้ในบางสังคม แต่กระนั้น แต่ละสังคมย่อมมีบริบทที่แตกต่างกัน และเลือกใช้วิธีต่างๆ มาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งแต่ละสังคม ย่อมมีรูปแบบทางศีลธรรมที่แตกต่างกันออกไป อยู่ที่ว่าวิธีการดังกล่าว ที่กำหนดขึ้นมานั้น จะไม่ก่อให้เกิดความวุ่นวายในสังคมนั้น ๆ เป็นสำคัญ…

 

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ news.mthai.com

MThai News

ที่มา theatlantic