กกต ผู้กองปูเค็ม ยุบพรรคอนาคตใหม่ ยุบพรรคเพื่อชาติ

‘ผู้กองปูเค็ม’ ยื่นเรื่อง กกต. ร้องยุบพรรค อนาคตใหม่-เพื่อชาติ

‘ผู้กองปูเค็ม’ เดินทางมายื่นเรื่องต่อ กกต.ให้วินิจฉัยยุบพรรคอนาคตใหม่และพรรคเพื่อชาติ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2562 เวลา 09.30 น. ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ร.อ.ทรงกลด ชื่นชูผล หรือ’ผู้กองปูเค็ม’ อดีตนายทหารสังกัดกองทัพบก…

Home / NEWS / ‘ผู้กองปูเค็ม’ ยื่นเรื่อง กกต. ร้องยุบพรรค อนาคตใหม่-เพื่อชาติ

‘ผู้กองปูเค็ม’ เดินทางมายื่นเรื่องต่อ กกต.ให้วินิจฉัยยุบพรรคอนาคตใหม่และพรรคเพื่อชาติ

เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2562 เวลา 09.30 น. ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ร.อ.ทรงกลด ชื่นชูผล หรือ’ผู้กองปูเค็ม’ อดีตนายทหารสังกัดกองทัพบก และผู้เคลื่อนไหวทางการเมืองกลุ่มพันธมิตร ได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน ระบุว่าได้ทำหนังสือมายื่นต่อกกต. ให้วินิจฉัยยุบพรรคอนาคตใหม่ ฐานหมิ่นศาลฯจนทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจผิดว่าการดำเนินคดีกับนายทักษิณ ชินวัตร เป็นการกลั่นแกล้งเข้าข่ายผิดตามมาตรา 92 และกรณีให้สัมภาษณ์ต่อสื่อต่างประเทศหลายครั้ง เป็นสร้างความขัดแย้ง มากกว่าจะเข้ามาช่วยแก้ปัญหา 

ส่วนในกรณีที่มีการเรียกร้องให้ยุบพรรคเพื่อชาตินั้นมาจากกรณีที่นายจตุพร พรหมพันธุ์ ใช้อำนาจ อิทธิพล ครอบงำพรรคฯ และสมาชิกพรรคฯ ทั้งๆ ที่ตนเองไม่ได้เป็นสมาชิกพรรค หรือกรรมการบริหารพรรคฯ แต่ทำให้ลูกพรรคฯทำงานไม่เป็นอิสระ จากกรณีที่ พ.ต.ท.สมชาย เพศประเสิรฐ ลาออกจากกรมการบริหารพรรคเนื่องจากเกิดปัญหาสมาชิกไม่พอใจการจัดลำดับส.ส.ปาร์ตี้ลิส์ที่ต้องได้รับการเห็นชอบจากนายจตุพร เข้าข่ายผิดกฎหมายตามมาตรา 28 และมาตรา 92 

อย่างไรก็ตาม ร.อ.ทรงกลดฯ ยังกล่าวอีกว่าตนไม่ได้มาในฐานะพรรคใด ถึงแม้ส่วนตัวจะเคยเป็นอดีตสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ และเคยร่วมเคลื่อนไหวกับกลุ่ม กปปส. แต่ตนนั้นไม่ชอบการโกง การฉ้อฉล ในการบริหารบ้านเมืองของนักการเมือง ตงดังนั้นตนจึงขอสนับสนุนให้ คสช.สานต่อนโยบาย ไม่ควรให้ฝ่ายอื่นมารื้อทำใหม่ 

อย่างไรก็ตามผู้กองปูเค็มเปิดเผยว่าสาเหตุที่ได้มีการเดินทางเข้ามาที่ กกต. ก่อนเวลาที่ได้แจ้งไว้บนสื่อสังคมออนไลน์นั้น เนื่องจากถูกกลุ่มผู้สนับสนุนนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่โจมตีอย่างหนัก โดยหลังให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน ร.อ.ทรงกลดฯ ได้เข้ายื่นหนังสือต่อเจ้าหน้าที่ กกต. ก่อนเดินทางกลับ 

ใครเป็นผู้วินิจฉัยยุบพรรค

การพิจารณายุบพรรคการเมืองนั้น จะเป็นหน้าที่ขององค์กรสององค์กรได้แก่ หนึ่ง คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นผู้วินิจฉัย ในกรณีที่พรรคดำเนินการขัดต่อหลักเกณฑ์ตามข้อ 1 ถึง 7 กับ สอง ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้วินิจฉัย ในกรณีที่พรรคดำเนินการขัดต่อหลักเกณฑ์ตามข้อ 8 ถึง 21 ทั้งนี้ หากศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้ยุบพรรคการเมืองใดแล้ว ให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้นด้วย โดยไม่ได้กำหนดเวลาว่าให้ตัดสิทธิเป็นเวลานานเท่าใด

นอกจากนี้ หากพรรคการเมืองใดถูกยุบพรรค ให้คณะกรรมบริหารพรรคที่ถูกยุบห้ามไปจดทะเบียนพรรคการเมืองใหม่ หรือเป็นกรรมการบริหารพรรคหรือมีส่วนร่วมในการจัดพรรคใหม่ ภายในเวลา 10 ปี หลังวันที่มีคำสั่งยุบพรรค