บัตรเขย่ง บัตรเขย่ง คืออะไร เลือกตั้ง62

ย้อนรอยการเลือกตั้งไทย “บัตรเขย่ง” เคยมีมาก่อนหรือไม่?

หลังจากที่ กกต. ได้ได้แถลงผลคะแนนการเลือกตั้ง 100% อย่างไม่เป็นทางการออกมา ก็มีผู้ตั้งข้อสังเกตุว่า “ทำไมมีจำนวนผู้มาใช้สิทธิไม่ตรงกับยอดบัตรที่ใช้ จำนวน 9 ใบ” โดยให้คำตอบว่า อาจเกิดจากบัตรเขย่ง ทำให้เกิดกระแสสังคมเป็นที่สงสัยกันว่า บัตรเขย่งคืออะไร, เกิดขึ้นได้อย่างไร,…

Home / NEWS / ย้อนรอยการเลือกตั้งไทย “บัตรเขย่ง” เคยมีมาก่อนหรือไม่?

หลังจากที่ กกต. ได้ได้แถลงผลคะแนนการเลือกตั้ง 100% อย่างไม่เป็นทางการออกมา ก็มีผู้ตั้งข้อสังเกตุว่า “ทำไมมีจำนวนผู้มาใช้สิทธิไม่ตรงกับยอดบัตรที่ใช้ จำนวน 9 ใบ” โดยให้คำตอบว่า อาจเกิดจากบัตรเขย่ง ทำให้เกิดกระแสสังคมเป็นที่สงสัยกันว่า บัตรเขย่งคืออะไร, เกิดขึ้นได้อย่างไร, ก่อนหน้านี้เคยมีมาหรือไม่? ฯลฯ

บัตรเขย่ง :

มาจากการนับคะแนนตัวเลขผู้มาใช้สิทธิกับตัวเลขบัตรที่ถูกใช้ไปไม่ตรงกัน โดยอาจจะเกิดจากการที่ผู้ใช้สิทธิมาลงชื่อและเดินทางกลับไปก่อน โดยไม่ทันได้รับบัตรเลือกตั้ง เช่น นาย เอ ไปรายงานตัวเพื่อใช้สิทธิ แต่รอคิวนานเลย “สละสิทธิ” จึงเป็นที่มาที่ทำให้ “ตัวเลขผู้มาใช้สิทธิกับตัวเลขบัตรที่ถูกใช้ไปไม่ตรงกัน”

ภาพเอกสารเผยแพร่ของ กกต. ที่เมื่อนำจำนวนผู้มาใช้สิทธิ์ ลบด้วยจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ใช้ จะมีจำนวนบัตรที่ไม่ได้ถูกใช้ 9 ใบ

โดยปรกติแล้ว หากเกิดกรณีเช่นนี้ ทาง กกต.ประจำหน่วยก็จะให้มีการนับคะแนนใหม่ แต่หากยังไม่ตรงกัน ก็จะส่งให้ กกต.พิจารณา ซึ่งอาจจจะทำให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่ ในหน่วยนั้นๆ โดยบัตรเขย่งไม่ใช่เรื่องใหม่ ถูกนำมาใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2475

ย้อนรอยการเลือกตั้งไทย บัตรเขย่งเคยมีมาก่อนหรือไม่?

หลังจากคำชี้แจงของกกต. จบลง กระแสในโลกออนไลน์ก็วิ่งขึ้นมาทันที ด้วยแฮชแท็ก #บัตรเขย่ง ที่ต่างสร้างความงุนงงและสงสัยกันว่า คืออะไร เป็นอย่างไร และเคยมีมาก่อนหรือไม่ ซึ่งทางทีมงาน MThai News ได้รวบรวมสถิติตัวเลขการเลือกตั้งในประเทศไทยมาให้ดูกันว่า แท้จริงแล้ว “บัตรเขย่ง” ที่ว่านั้น เคยเกิดมาก่อนหรือไม่?

เลือกตั้ง’ 54 บัตรเขย่งเป็น 0

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไปครั้งที่ 26 ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554สำหรับ การเลือกตั้งในปี พ.ศ.2554 อยู่ภายใต้การจัดการของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ของ นายอภิชาต สุขัคคานนท์ , นายประพันธ์ นัยโกวิท , นางสดศรี สัตยธรรม , นายสมชัย จึงประเสริฐ และ นายสุเมธ อุปนิสากร เป็นประธานกรรมการและกรรมการการเลือกตั้ง ชุดที่ 3

สถิติ “บัตรเขย่ง” ในการเลือกตั้งปี 54 ที่มีจำนวนเป็น “ศูนย์” ทั้งแบบแบ่งเขต และบัญชีรายชื่อ 

โดยในการเลือกตั้ง’ 54 นั้นผลปรากฏว่า พรรคเพื่อไทย ได้ที่นั่งผู้แทนราษฎรเกินกึ่งหนึ่ง 265 ที่ นับเป็นครั้งที่สองในรอบทศวรรษที่มีพรรคการเมืองได้รับคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งในสภาผู้แทนราษฎร และ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถือเป็นว่าที่นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นพรรคฝ่ายค้านหลัก โดยได้ที่นั่งผู้แทนราษฎร 159 ที่

เลือกตั้ง’ 50 บัตรเขย่ง 6 ใบ

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 เป็นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550และครั้งแรกภายหลังการรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยกำหนดให้มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 480 คน โดยเป็นสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 400 คน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วนจำนวน 80 คน ทำให้การเลือกตั้งแบบแบ่งเขต จะมีจำนวนการเลือก ส.ส. มากกว่า 1 เบอร์ และไม่เท่ากันในแต่ละจังหวัด ทำให้ไม่สามารถคิดคะแนนรวมเพื่อหาจำนวน “บัตรเขย่ง” ที่เกิดขึ้นได้

บัตรเขย่ง ในการเลือกตั้งปี 50 มีจำนวน 6 ใบด้วยกัน

สำหรับ การเลือกตั้งในปี พ.ศ.2550 อยู่ภายใต้การจัดการของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ของ นายอภิชาต สุขัคคานนท์ , นายประพันธ์ นัยโกวิท , นางสดศรี สัตยธรรม , นายสมชัย จึงประเสริฐ และ นายสุเมธ อุปนิสากร เป็นประธานกรรมการและกรรมการการเลือกตั้ง ชุดที่ 3

เลือกตั้ง’ 49 บัตรเขย่ง 0 ใบ

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป เมษายน พ.ศ. 2549 เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จัดขึ้นในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 โดยมีสาเหตุเนื่องมาจากนายกรัฐมนตรี พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ได้ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 อย่างไรก็ตาม หลังการเลือกตั้งเสร็จสิ้น ศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ ทำให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2549

แต่ก่อนจะถึงการเลือกตั้งใหม่ ได้เกิดการก่อรัฐประหาร ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 ยึดอำนาจการปกครองประเทศจากรัฐบาลภายใต้การรักษาการนายกรัฐมนตรี ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และภายหลังการรัฐประหารนั้น คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้มีคำสั่งแถลงการณ์ฉบับที่ 3 จึงทำให้การเลือกตั้งในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ถูกยกเลิก

บัตรเขย่ง ในการเลือกตั้งปี 49 กลับมาเป็น 0 ทั้งแบบบัญชีรายชื่อและแบบแบ่งเขต

สำหรับ การเลือกตั้งในปี พ.ศ.2549 อยู่ภายใต้การจัดการของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ของ พลเอกจารุภัทร เรืองสุวรรณ และยังคงใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

เลือกตั้ง’ 48 บัตรเขย่งรวม 35  ใบ

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 มีขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 สาเหตุมาจาก นายทักษิณ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครบวาระ 4 ปี และต้องพ้นจากตำแหน่งตามวาระ

โดยในการเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคไทยรักไทย ของ นายทักษิณ ชินวัตร ได้รับการเลือกตั้งเกินครึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร คือ 377 ที่นั่ง จากจำนวนทั้งหมด 500 ที่นั่ง แม้ก่อนหน้านี้จะได้รับเสียงเกินครึ่งของสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว

บัตรเขย่ง ในการเลือกตั้งปี 48 เป็นปีที่เกิด “บัตรเขย่ง” มากที่สุด

สำหรับ การเลือกตั้งในปี พ.ศ.2548 อยู่ภายใต้การจัดการของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ของ พลเอกจารุภัทร เรืองสุวรรณ และยังคงใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

สรุปบัตรเขย่ง เกิดได้-ไม่ได้

จากตัวเลขย้อนหลังการเลือกตั้งไทยทำให้เราน่าจะได้ข้อสรุปว่า ปัญหา “บัตรเขย่ง” นั้นเกิดเคยเกิดขึ้นมาก่อนแล้ว ไม่ต่างจากเคสอื่น ๆ ของการเลือกตั้งเช่น “ฉีกบัตร” ที่มักจะมีเกิดขึ้นแทบทุกครั้ง ด้วยความเข้าใจผิดของการสื่อสารนั่นเอง

แม้ว่า ในปีนี้ หลายคูหาจะมีโต๊ะที่ให้ลงชื่อ-รับบัตรตั้งอยู่ติดกัน การเซ็นรับ-กลับก่อน ดูจะเป็นเรื่อง “น่ากังขา” สำหรับหลายคน แต่จากตัวเลขที่พบเห็นนั้นทำให้เห็นได้ว่า ปัญหานี้มีเกิดขึ้นมานานแล้ว เพียงแต่ด้วยโลกโซเซียลในปัจจุบัน ทุกอย่างแพร่กระจายไปเร็วมากขึ้น การตรวจสอบของภาคประชาชนเกิดได้เร็วขึ้น ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น ผ่านทางออนไลน์ ดังนั้นสิ่งที่อยากเห็นคือการที่ภาครัฐเปิดข้อมูลต่าง ๆ ให้ภาคประชาชนสามารถเข้าถึง ร่วมกันตรวจสอบได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น ดูน่าจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งของการร่วมกันสร้างความโปร่งใส ตรวจสอบได้ในสังคม และภาคประชาชนก็จะได้ร่วมกันตรวจสอบอย่างตรงไปตรงมา

เมื่อได้ตัวเลขเหล่านี้มา ย่อมสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างหน่วยงานรัฐ-ฝ่ายการเมือง-ประชาชน ได้มากขึ้นนั่นเอง