นอกราชอาณาจักรไทย เลือกตั้ง 62

สถิติการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร

จากกรณีที่ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ที่มีจำนวนผู้คนกว่า 3,000 คน มารอเลือกตั้งจนแน่นขนัดเป็นเวลานาน จนมีคนเป็นลม แต่สถานทูตกลับจัดให้ลงคะแนนแค่ 3 คูหา แถมมีภาพแชร์ว่อนโลกออนไลน์ที่ทำคูหาทำจากลังกระดาษ จนเกิดข้อครหาถึงความไม่พร้อมในการเลือกตั้ง…

Home / NEWS / สถิติการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร

จากกรณีที่ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ที่มีจำนวนผู้คนกว่า 3,000 คน มารอเลือกตั้งจนแน่นขนัดเป็นเวลานาน จนมีคนเป็นลม แต่สถานทูตกลับจัดให้ลงคะแนนแค่ 3 คูหา แถมมีภาพแชร์ว่อนโลกออนไลน์ที่ทำคูหาทำจากลังกระดาษ จนเกิดข้อครหาถึงความไม่พร้อมในการเลือกตั้ง

หรือกรณีที่ เมืองหนานจิง ประเทศจีน ซึ่งผู้ใช้ทวิตเตอร์ KOPFER ได้โพสต์ว่า บัตรเลือกตั้งของคนไทยหายไปจำนวน 500 กว่าใบ และยังมีการใส่เบอร์โทรศัพท์ปริศนาลงไปแทน ซึ่งทำให้เกิดข้อสงสัยแก่ประชาชน ทั้งนี้ การเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคม 2562 ถือเป็นการเลือกตั้งในรอบ 5 ปี จึงทำให้ประชาชนคนไทยตื่นตัวออกมาใช้สิทธิ์ของตนเองมากขึ้น

MThai จึงได้รวมสถิติการเลือกตั้นอกราชอาณาจักร ตั้งแต่ปี พ.ศ.2544 – พ.ศ.2554

สถิติการใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร

หากย้อนดูสถิติการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร 4 ครั้งที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าการเลือกตั้งในแต่ละครั้งได้รับความสนใจจากคนไทยที่อยู่นอกราชอาณาจักเป็นจำนวนมาก เพราะในแต่ละปีจะมีคนลงทะเบียนเพื่อใช้สิทธิเพิ่มมากยิ่งขึ้น อาทิ

ปี พ.ศ.2544 จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 42,759,001 คน จากจำนวนราษฎร 61,661,701 คน ในจำนวนนี้มี ผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร 40,670 คน มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 14,521 คน คิดเป็น 35.70%

ขณะที่ ปี พ.ศ.2548 จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 44,572,101 คน จากจำนวนราษฎร 63,079,765 คน ในจำนวนนี้มีผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร 104,136 คน มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 41,882 คน คิดเป็น 40.22% เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ.2544 

ต่อมาในปี พ.ศ.2550 จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 44,002,593 คน จากจำนวนราษฎร 62,828,706 คน ในจำนวนนี้มีผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร 80,161 คน มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 58,807 คน คิดเป็น 73.36% ซึ่งแม้จำนวนผู้ลงทะเบียนจะน้อยกว่าปี พ.ศ.2548 แต่การออกมาใช้สิทธิเพิ่มขึ้นจากสองครั้งที่ผ่านมา

และในปีล่าสุดที่มีการเลือกตั้ง พ.ศ.2554 จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 46,939,549 คน จากจำนวนราษฎร 63,878,267 คน ในจำนวนนี้มีผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร 146,133 คน มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 76,615 คน คิดเป็น 52.43% ทั้งนี้ หากเทียบกับการเลือกตั้ง 3 ครั้งที่ผ่านมา ปีนี้ถือเป็นปีที่มีผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิและออกมาใช้สิทธิมากที่สุด

การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร แม้จะไม่ครอบคลุมครบทุกทวีป แต่นั่นก็เป็นการเปิดโอกาสให้คนไทยที่อยู่ทุกแห่งหนทั่วโลก ได้ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งหากดูจากจำนวนตัวเลขอาจน้อยนิด แต่ถือเป็นตัวแปรสำคัญในการตัดสินผู้นำประเทศคนใหม่ได้

การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร

การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร คือการเลือกตั้งทั่วไป ทั้งการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในช่วงเวลาเดียวกันกับการเลือกตั้งทั่วไปที่จัดขึ้นในประเทศไทย เพียงแต่เป็นการจัดการเลือกตั้งนอกประเทศไทย

โดยมีสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่เป็นผู้จัดการเลือกตั้งให้คนไทยทุกคน ที่มีสิทธิเลือกตั้งในประเทศไทย สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรได้ ตามที่สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
1.เป็นผู้มีสัญชาติไทยหรือมีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
2.เป็นผู้มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง
3.เป็นผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่า 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง

การลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร
1. ลงทะเบียนก่อนการเลือกตั้งอย่างน้อย 30 วัน
2. ในกรณีที่พำนักอยู่ในต่างประเทศ ลงทะเบียนได้ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
ในกรณีที่ยังอยู่ในประเทศไทย (แต่จะเดินทางไปต่างประเทศในช่วงการเลือกตั้ง) ลงทะเบียนได้ที่สำนักทะเบียนท้องถิ่น หรือ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัด (กกต. จังหวัด) โดยท่านต้องกรอกแบบคำร้องลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรตามข้อ ต่อไป

การยื่นคำร้องลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร
ยื่นแบบคำร้องขอใช้สิทธิเลือกตั้งฯ พร้อมเอกสารแสดงตน ได้แก่ หนังสือเดินทาง หรือบัตรประชาชนไทย (ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก) โดยขอลงทะเบียนด้วยตนเอง หรือทางโทรสาร หรือทางไปรษณีย์มายังสถานเอกอัครราชทูตฯ

การลงคะแนนใช้สิทธิเลือกตั้งฯ

เอกอัครราชทูต/กงสุลใหญ่ จะเป็นผู้กำหนดวิธีการลงคะแนนซึ่งดำเนินการได้ 3 ลักษณะ ดังนี้
การลงคะแนน ณ ที่เลือกตั้ง (คูหาลงคะแนน) เป็นการลงคะแนนโดยกำหนดสถานที่เลือกตั้งซึ่งอาจเป็นที่สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ หรือสถานที่อื่นซึ่งเอกอัครราชทูต/กงสุลใหญ่เป็นผู้กำหนด โดยจะมีการตั้งคูหาและหีบบัตร

การลงคะแนนทางไปรษณีย์ เมื่อสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ กำหนดให้มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งทางไปรษณีย์ สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ จะจัดส่งบัตรเลือกตั้งและเอกสารคำแนะนำการใช้สิทธิเลือกตั้งให้แก่ผู้มีสิทธิเพื่อทำการลงคะแนนและผู้มีสิทธิจะต้องส่งเอกสารคืนสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ ภายในวันรับคืนที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะประเทศที่มีพื้นที่กว้างใหญ๋ อย่างสหรัฐอเมริกา และจีน เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีวิธีอื่นๆ  การจัดหน่วยเลือกตั้งเคลื่อนที่หรือสัญจรไปรับการลงคะแนนเลือกตั้งตามสถานที่ต่างๆ เช่น โรงงานหรือที่พักของแรงงานไทย วัดไทย หรือชุมชนที่มีคนไทยอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น