เมื่อมติสุดท้าย ‘ธัมมชโย’ ไม่ปาราชิก!?

กลับมาเป็นกระแสร้อนอีกครั้งสำหรับ ‘วงการสงฆ์’ หลังกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ (DSI) มีหนังสือแจ้งไปยังมหาเถรสมาคม (มส.) ให้รื้อฟื้นอธิกรณ์ ที่คณะสงฆ์ได้วินิจฉัยไปแล้ว เพื่อใช้กฎนิคหกรรมปรับอาบัติปาราชิก ‘พระเทพญาณมหามุนี’ หรือ ‘ธัมมชโย’ เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย…

Home / NEWS / เมื่อมติสุดท้าย ‘ธัมมชโย’ ไม่ปาราชิก!?

กลับมาเป็นกระแสร้อนอีกครั้งสำหรับ ‘วงการสงฆ์’ หลังกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ (DSI) มีหนังสือแจ้งไปยังมหาเถรสมาคม (มส.) ให้รื้อฟื้นอธิกรณ์ ที่คณะสงฆ์ได้วินิจฉัยไปแล้ว เพื่อใช้กฎนิคหกรรมปรับอาบัติปาราชิก ‘พระเทพญาณมหามุนี’ หรือ ‘ธัมมชโย’ เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ตามพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราชฯ สกลมหาสังฆปริณายก

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2541 ‘ธัมมชโย’ ถูกกล่าวหาว่า ยักยอกเงินและที่ดินที่บรรดาญาติโยมบริจาคให้วัด และมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม รวมถึงพฤติกรรมใกล้การชิดสีกา และการอวดอุตริมนุสธรรม ซึ่งพยานปากสำคัญในขณะนี้คือ พระอดิศักดิ์ วิริสโก อดีตพระลูกวัดพระธรรมกาย

เรื่องดังกล่าวจึงต้องมีการตรวจสอบกันอย่างเร่งด่วน โดยกรมที่ดินได้สำรวจพบว่า ‘ธัมมชโย’ มีชื่อเป็นเจ้าที่ดินและบริษัทที่เกี่ยวกับวัดพระธรรมกายกว่า 400 แปลง เนื้อที่กว่า 2 พันไร่ ใน จ.พิจิตร และ จ.เชียงใหม่ ภายหลังการตรวจสอบเมื่อพบว่ามีการกระทำผิดจริง

สมเด็จพระสังฆราชฯ สกลมหาสังฆปรินายก ได้มีพระลิขิตให้คืนที่ดินและทรัพย์สินขณะเป็นพระให้วัดพระธรรมกาย แต่ ‘ธัมมชโย’ ไม่ยอมปฏิบัติตาม กรมการศาสนาจึงได้เข้าแจ้งความต่อกองปราบปราม

โดยถูกดำเนินคดีในข้อหายักยอกทรัพย์และเงินบริจาคของวัดพระธรรมกาย จำนวน 6.8 ล้านบาท ไปซื้อที่ดินเขาพนมพา ต.หนองพระ อ.วังทรายพูน จ.พิจิตร โดยโอนกรรมสิทธิ์ใส่ชื่อนายถาวร จำเลยที่ 2 และนำเงินอีกเกือบ 30 ล้านไปซื้อที่ดินกว่า 900 ไร่ ใน จ.พิจิตร และที่ จ.เพชรบูรณ์ โดยโอนกรรมสิทธิ์ให้นายถาวร พรหมถาวร ลูกศิษย์

ซึ่งเรื่องดังกล่าวก็ยังไม่ได้ข้อสรุปหรือมีบทลงโทษต่อ ‘ธัมมชโย’ อย่างชัดเจน จนมีหลายหน่วยงาน และองค์กรต่างๆ รวมถึง ‘พุทธะอิสระ’ โดดร่วมวงติดตามคดีนี้อย่างใกล้ชิด โดยได้มีการยื่นเรื่องให้ทางดีเอสไอเข้าตรวจสอบทันที

ต่อมาเมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2558 ได้มีการประชุมขึ้น โดยมหาเถรสมาคม โดยมี สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ‘สมเด็จช่วง’ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นประธาน มีมติให้ ‘ธัมมชโย’ เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ไม่ต้องอาบัติปาราชิก เนื่องจาก ‘ธัมมชโย’ ได้คืนทรัพย์สินและที่ดินกว่า 900 ล้านบาท ให้กับวัดพระธรรมกายแล้ว ตั้งแต่ปี 2549 ทำให้เรื่องนี้ยิ่งเพิ่มความร้อนระอุต่อ ‘วงการสงฆ์’ เป็นอย่างมาก

จนเมื่อวันที่ 4 ก.พ. ที่ผ่านมา ดีเอสไอ ได้ส่งหนังสือถึงสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) และมหาเถรสมาคม (มส.) เพื่อสอบถามถึงการปฏิบัติหน้าที่ของ พศ. และ มส. ตามที่มีการร้องเรียนให้ พระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ต้องอาบัติปาราชิก จากคดียักยอกเงินและที่ดินตามพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราชนั้น ได้ดำเนินการอย่างไรแล้วบ้าง

อย่างไรก็ตามภายหลังการยื่นหนังสือไปถึง พศ. และ มส. จึงต้องมีการประชุมกันเร่งด่วนในวันที่ (10 ก.พ.) ซึ่งล่าสุด ผลการประชุม โดยมี สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ‘สมเด็จช่วง’ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช และเป็นพระอุปัชฌาย์ ของ ‘ธัมมชโย’ เป็นประธานการประชุม

มติให้ พระเทพญาณมหามุนี ‘ธัมมชโย’ เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ไม่ต้องปาราชิก เพราะเรื่องได้ยุติที่ศาลชั้นต้น ไม่ได้มีการยื่นอุทธรณ์

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ news.mthai.com

MThai News