เรื่องต้องรู้! สิทธิผู้โดยสาร เรียกร้องได้หากถูก ‘ยกเลิกเที่ยวบิน’

เรื่องต้องรู้ ‘สิทธิผู้โดยสาร’ สายการบินภายในประเทศ ที่เรียกร้องได้หากถูก ‘ยกเลิกเที่ยวบิน’ กระทันหัน จากกรณีที่เกิดเหตุความวุ่นวายของสายการบินนกแอร์ ที่ทำให้ต้องยกเลิกเที่ยวบินอย่างกระทันหันไปจำนวน 9 เที่ยวบิน เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ส่งผลให้มีผู้โดยสารถึงจำนวนกว่า 3…

Home / NEWS / เรื่องต้องรู้! สิทธิผู้โดยสาร เรียกร้องได้หากถูก ‘ยกเลิกเที่ยวบิน’

เรื่องต้องรู้ ‘สิทธิผู้โดยสาร’ สายการบินภายในประเทศ ที่เรียกร้องได้หากถูก ‘ยกเลิกเที่ยวบิน’ กระทันหัน

จากกรณีที่เกิดเหตุความวุ่นวายของสายการบินนกแอร์ ที่ทำให้ต้องยกเลิกเที่ยวบินอย่างกระทันหันไปจำนวน 9 เที่ยวบิน เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ส่งผลให้มีผู้โดยสารถึงจำนวนกว่า 3 พันคน ต้องได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก โดยไม่สามารถเรียกร้องความรับผิดชอบจากสายการบินได้นอกจากคำขอโทษจากผู้บริหารสายการเท่านั้น

ThailandAirport
สิทธิผู้โดยสาร ที่เรียกร้องได้หากถูก ‘ยกเลิกเที่ยวบิน’

โดยหลังจากเกิดกรณีดังกล่าว จึงเป็นข้อถกเถียงกันว่า หากผู้โดยสารต้องถูกยกเลิกเที่ยวบินแบบนี้ จะมีอะไรคุ้มครองสิทธิให้กับผู้โดยสารที่ต้องตกอยู่ในสภาวะเช่นนี้ได้  วันนี้ ทีมข่าว MThai จะนำข้อมูลที่เกี่ยวกับสิทธิของผู้บริโภคเมื่อต้องเผชิญกับการยกเลิกเที่ยวบิน, เที่ยวบินล่าช้า หรือ ถูกสายการบินปฏิเสธการขนส่ง มาเสนอเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้เดินทางภายในประเทศ

สำหรับข้อมูลดังกล่าวนำมาจาก มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเรื่อง “สิทธิของผู้โดยสาร” ซึ่งใช้บริการสายการบินภายในประเทศ กรณีการ “ยกเลิกเที่ยวบิน” ตามประกาศของกระทรวงคมนาคมเรื่องสิทธิของผู้โดยสารซึ่งใช้บริการสายการบินของไทยในเส้นทางบินประจำภายในประเทศ คุณควรได้รับการชดเชยอย่างไร ในฐานะผู้บริโภค ต่อกรณี

1. ถูกยกเลิกเที่ยวบิน (Fight Cancellation) คือ การที่สายการบินยกเลิกการบินเที่ยวบินใดๆ ตามตารางการบินที่ประกาศไว้ ซึ่งรวมถึงการยกเลิกเที่ยวบินพิเศษ (Extra Flight) กรณีนี้ผู้โดยสารมีสิทธิได้รับคืนค่าโดยสารหรือเปลี่ยนแปลงเที่ยวบินหรือเดินทางวิธีอื่น พร้อมทั้งการดูแลค่าที่พักพร้อมรับ-ส่งสนามบิน รวมทั้งได้รับเงินชดเชย 1,200 บาท (ดูรายละเอียดจาากตารางข้างล่าง)

2. ถูกสายการบินปฏิเสธการขนส่ง(Denied Boarding) คือ การที่สายการบินปฏิเสธที่จะรับผู้โดยสารเพื่อเดินทางไปกับเที่ยวบินที่ระบุไว้ในบัตรโดยสาร แม้ว่าผู้โดยสารจะได้มาแสดงตนเพื่อการขึ้นเครื่อง(Check in) ภายในระยะเวลาที่สายการบินระบุไว้ล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษร รวมทั้งการแจ้งผ่านสื่ออิเล็กทรอนิคส์ เช่น เว็บไซต์ หรือ เอสเอ็มเอส(SMS) ฯลฯ หรือถ้ายสายการบินไม่ได้ระบุเวลาไว้ ให้ถือเวลาไม่น้อยกว่า 45 นาทีก่อนเวลาที่ระบุไว้ในตารางการบินที่ประกาศ  

3. เที่ยวบินล่าช้า(Filght Delay) คือ กรณีทำการบินเที่ยวบินล่าช้าเกินกว่าเวลาที่กำหนดในตารางการบินที่ประกาศไว้เกินควร

เช็คมาตรการคุ้มครองที่ผู้โดยสารควรได้รับการชดเชยตามสิทธิ มีดังนี้

56c1a057a1b8d

56c1a057ae423

56c1a057bd8ab

ทั้งนี้ กรณีที่สายการบินไม่ปฏิบัติตามมาตรการคุ้มครองสิทธิฯ ขั้นพื้นฐานนี้ ผู้โดยสารสามารถร้องเรียนได้ที่ กรมการบินพลเรือน (กรมการขนส่งทางอากาศเดิม) เลขที่ 71 ซอยงามดูพลี ถนนพระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์: 02-287-0320-9 โทรสาร: 02-286-3373

 

ที่มา มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

MThai News