‘ม็อบพระ’ ปะทะ ‘ทหาร’ รอยร้าววงการสงฆ์!?

ภาพการกระทบกระทั่งระหว่างทหารกับพระสงฆ์ ในงานสัมมนาสกัดแผนล้มการปกครองคณะสงฆ์ไทย ยิ่งเป็นตัวตอกย้ำให้รู้ว่าเส้นทางการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์ใหม่ ยังเต็มไปด้วยความเห็นต่าง และมีแนวโน้มที่จะขยายรอยร้าวในวงการสงฆ์ไทย เหตุการณ์ชุมนุมของภาคีเครือข่ายองค์กรชาวพุทธ ในงานสัมมนาสกัดแผนล้มการปกครองคณะสงฆ์ไทย นำไปสู่เหตุกระทบกระทั่งกันระหว่างพระกับทหาร กำลังสร้างข้อกังวลให้กับรัฐบาล และเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเส้นทางการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์ใหม่ กำลังสร้างรอยร้าวในวงการสงฆ์ให้ขยายวงกว้างออกไป หากย้อนกลับไป เหตุความวุ่นวายเกิดขึ้นกินเวลาหลายชั่วโมงของวันที่ 15 กุมภาพันธ์…

Home / NEWS / ‘ม็อบพระ’ ปะทะ ‘ทหาร’ รอยร้าววงการสงฆ์!?

ภาพการกระทบกระทั่งระหว่างทหารกับพระสงฆ์ ในงานสัมมนาสกัดแผนล้มการปกครองคณะสงฆ์ไทย ยิ่งเป็นตัวตอกย้ำให้รู้ว่าเส้นทางการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์ใหม่ ยังเต็มไปด้วยความเห็นต่าง และมีแนวโน้มที่จะขยายรอยร้าวในวงการสงฆ์ไทย

เหตุการณ์ชุมนุมของภาคีเครือข่ายองค์กรชาวพุทธ ในงานสัมมนาสกัดแผนล้มการปกครองคณะสงฆ์ไทย นำไปสู่เหตุกระทบกระทั่งกันระหว่างพระกับทหาร กำลังสร้างข้อกังวลให้กับรัฐบาล และเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเส้นทางการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์ใหม่ กำลังสร้างรอยร้าวในวงการสงฆ์ให้ขยายวงกว้างออกไป

หากย้อนกลับไป เหตุความวุ่นวายเกิดขึ้นกินเวลาหลายชั่วโมงของวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ที่พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม กระทั่งสามารถยุติลงได้ หลังพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เปิดรับ 4 ข้อเสนอของภาคีเครือข่ายฯ คือ

23-3

1.ห้ามหน่วยงานภาครัฐมาก้าวก่ายเรื่องทางสงฆ์ ขอให้ทำหน้าที่อุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาตามแบบไทย

2.ขอให้รัฐยึดถือธรรมเนียมที่สืบทอดกันมา คือการดำเนินการใดๆเกี่ยวกับการปกครองคณะสงฆ์ รัฐบาลจะต้องปรึกษาและได้รับความเห็นชอบจากมหาเถรสมาคมก่อน

3. ขอให้นายกรัฐมนตรียึดถือมติมหาเถรสมาคม ที่เสนอชื่อสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เป็นสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20

4 .ขอให้รัฐบาลสั่งหน่วยงานราชการ ปฏิบัติต่อคณะสงฆ์โดยไม่ข่มขู่ คุกคาม ด้วยการใช้กฎหมาย

5. คือการบรรจุพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญและคุยเพื่อหารือทางออกร่วมกัน นั้น ให้เป็นบทบาทของคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่รัฐบาลจะไม่ขอเข้าไปก้าวก่าย

ขณะที่เมื่อพิจารณาข้อเรียกร้องทั้งหมดดูเหมือนว่าการเร่งรัดให้สถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์ใหม่ ยังเป็นเรื่องที่รัฐบาลย้ำจุดยืนเดิม คือ จะไม่ดำเนินการ หากยังมีความขัดแย้ง

ส่วนข้อสงสัยจากคนบางกลุ่ม ที่เชื่อว่าการออกมาแสดงพลังของเครือข่ายสงฆ์โดยการนำของพระเมธีธรรมาจารย์ เลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย เป็นไปเพราะมีวาระซ่อนเร้น เนื่องจากเวลานี้มีปัจจัยที่ทำให้การสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์ใหม่ต้องหยุดชะงัก

ทั้งกรณีการถูกตั้งคำถามถึงความสัมพันธ์กับ พระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย รวมถึงกระบวนการตรวจสอบสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ โดยเฉพาะกรณีการถือครองรถจดประกอบ ซึ่งผลสอบของดีเอสไอ ล่าสุดระบุว่า ผิดกฎหมาย เชื่อว่าจะทำให้สถานการณ์ร้อนขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และยังต้องติดตามว่าเครือข่ายสงฆ์จะออกมาตอบโต้หรือไม่อย่างไร

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ news.mthai.com

MThai News