อนาคตทีวีดิจิทัล ปี59 ใครทุนหนา คนนั้นรอด !?

เป็นเวลากว่า 2 ปีแล้ว ที่ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงการออกรายการโทรทัศน์จากระบบ ‘อนาล็อก’ ให้เป็นระบบ ‘ทีวีดิจิทัล’ โดยเริ่มจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้มีการจัดประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในเดือนธันวาคม 2556 หลังจากนั้นจึงมีช่องรายการทีวีดิจิทัลเกิดขึ้น และปัจจุบันมีช่องเหลือเพียง…

Home / NEWS / อนาคตทีวีดิจิทัล ปี59 ใครทุนหนา คนนั้นรอด !?

เป็นเวลากว่า 2 ปีแล้ว ที่ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงการออกรายการโทรทัศน์จากระบบ ‘อนาล็อก’ ให้เป็นระบบ ‘ทีวีดิจิทัล’ โดยเริ่มจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้มีการจัดประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในเดือนธันวาคม 2556 หลังจากนั้นจึงมีช่องรายการทีวีดิจิทัลเกิดขึ้น และปัจจุบันมีช่องเหลือเพียง 22 ช่อง

tvdigital-450x300

ดูเหมือนว่าพิษธุรกิจ ‘ทีวีดิจิทัล’ กำลังสร้างความอกสั่นขวัญหาย โดยระยะเวลาที่ผ่านมาปฏิเสธไม่ได้เลยว่าวงการ ‘ทีวีดิจิทัล’ ได้เกิดปัญหาต่างๆ มากมายมาโดยตลอด ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ที่พบ เป็นเรื่องของการที่ผู้ประกอบการต้องแบกรับต้นทุนที่มีราคาสูงมาก จนไม่สอดคล้องกับกำไรที่ได้มา และปัญหาเหล่านี้

ส่งผลให้เมื่อเดือนพฤษภาคมของปี 2558 ที่ผ่านมา นางพรรพันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยทีวี จำกัด หรือ “เจ๊ติ๋ม” ต้องขอยกเลิกใบอนุญาตประกอบกิจการช่องไทยทีวี และ โลก้า จนนำไปสู่การประกาศปิดตัวในที่สุด โดย เจ๊ติ๋ม ยืนยันว่า “การที่ธุรกิจของเธอไปไม่ถึงฝัน ถือว่าเป็นความผิดของกสทช.”  ซึ่งการทำงานของกสทช.ไม่เป็นไปตามกฎหมาย และคำสัญญาที่ให้ไว้ในสัญญาประกอบกิจการ จนทำให้เกิดความเสียหายมากมายกับผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล

ต่อมาไม่นานกระแสที่ทำให้ช็อควงการสื่อ นั่นคือ สถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์ได้ประกาศปลดพนักงานแบบฟ้าผ่า โดยให้เหตุผลว่า ต้องการลดภาระของบริษัทที่มีผลประกอบการขาดทุน และต้องการปรับโครงสร้างการบริหารให้มีความกระทัดรัดคล่องตัวมากขึ้น จากการเปิดเผยผลประกอบการพบว่าสถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์ได้ขาดทุนมากถึงกว่า 170 ล้านบาท นั่นแสดงให้เห็นว่า แม้สถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์จะยังไม่ได้มีการปิดตัวลง แต่การประกาศปลดพนักงานเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายนั้น ก็สามารถเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าธุระกิจทีวีดิจิทัลกำลังมีปัญหาหรือไม่

และสิ่งที่ตอกย้ำความย่ำแย่ของธุรกิจทีวีดิจิทัลเกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อ สถานีโทรทัศน์วอยซ์ ทีวี ประกาศปลดพนักงานเช่นเดียวกัน โดยอ้างว่าเป็นการปรับโครงสร้างองค์กรให้เหมาะสมต่อการทำงานในภาวะเเข่งขันธุรกิจทีวีดิจิทัล ทั้งนี้ ในการจัดเรตติ้งของเอซี นีลสัน ที่มีผู้เผยแพร่ผ่านโซเชียลมีเดีย พบว่า เดือนมกราคม 2559 ที่ผ่านมา วอยซ์ ทีวี ซึ่งอยู่ในหมวดหมู่ช่องรายการข่าวและสาระ ถูกจัดอยู่ในอันดับสุดท้าย คือ อันดับที่ 25 โดยมีค่าเรตติ้งอยู่ที่ 0.027

ด้วยค่าใช้จ่ายที่ทีวีดิจิทัลต้องแบกรับไว้ ในวงเงินประมูลที่สูงพุ่งเกินราคาขั้นต่ำกว่าเท่าตัว ทำให้ภาระการจ่ายค่าสัมปทานเพิ่มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน โดยอย่างต่ำผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลจะต้องจ่ายถึงปีละ 1,000 ล้านบาท อีกทั้งเมื่อมีความวาดฝันว่าโฆษณาจะทำให้เม็ดเงินเข้าสถานี แต่ความเป็นจริง คือ ส่วนแบ่งเงินโฆษณายังอยู่ในช่องอนาล็อกเดิมเนื่องจากความนิยม เพราะฉะนั้นรายได้กับรายรับจึงไม่สมดุล

อนาคตของวงการทีวีดิจิทัลจะเป็นอย่างไรต่อไป เมื่อผู้ประกอบการต้องจ่ายเงินค่าใบอนุญาตที่มหาศาล และอีกทั้งผลประกอบการของแต่ละค่ายยังไม่ดีนัก ด้วยปัจจัยด้านการลงทุน การแข่งขันในธุรกิจ และความไม่พร้อมในการขยายโครงข่าย ทำให้วันนี้ พบว่ายังมีอีกหลายช่องที่กำลังพยายามปรับตัวเพื่อให้ช่องของตนเองอยู่รอด

ซึ่งหากในอนาคตยังไม่สามารถแก้วิกฤตเหล่านี้ได้ ธุรกิจทีวีดิจิติทัลอีกหลายช่อง อาจต้องมีมาตรการลดต้นทุน ซึ่งนั้นหมายถึงการต้องลดบุคลากรในบริษัทตามมา จนนำไปสู่การปิดตัวลง “และนี่ถือเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้ กสทช.ต้องหันกลับมาดูว่าจะเร่งแก้ปัญหาการขาดทุนของทีวีดิจิทัลได้อย่างไร”

 

ติดตามข่าวเศรษฐกิจอื่น ๆ ที่น่าสนใจได้ที่นี่ news.mthai.com/economy

MThai News