มหากาฬเพชร ‘โคอินัวร์’ ราชาอัญมณีจากแดนภารตะสู่ราชวงศ์อังกฤษ

เป็นข้อพิพาทกันมาเป็นเวลายาวนาน เกี่ยวกับเพชรโคห์อินัวร์ (Koh-i-Noor)ซึ่งเคยเป็นเพชรที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดในโลก เพชรโคห์อินัวร์ เพชรในตำนานที่มีประวัติยาวนาน ตามหลักฐานนั้นค้นพบในรัฐอานธรประเทศ ประเทศอินเดีย และเนื่องจากเป็นอัญมณีที่ทรงคุณค่า จึงเคยตกอยู่ในครอบครองของหลายราชวงศ์ มีขนาด 105.6 กะรัต จากขนาดเดิม 186 กะรัต โดยจากการเจียระไนในปีค.ศ.…

Home / NEWS / มหากาฬเพชร ‘โคอินัวร์’ ราชาอัญมณีจากแดนภารตะสู่ราชวงศ์อังกฤษ

เป็นข้อพิพาทกันมาเป็นเวลายาวนาน เกี่ยวกับเพชรโคห์อินัวร์ (Koh-i-Noor)ซึ่งเคยเป็นเพชรที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดในโลก

เพชรโคห์อินัวร์ เพชรในตำนานที่มีประวัติยาวนาน ตามหลักฐานนั้นค้นพบในรัฐอานธรประเทศ ประเทศอินเดีย และเนื่องจากเป็นอัญมณีที่ทรงคุณค่า จึงเคยตกอยู่ในครอบครองของหลายราชวงศ์ มีขนาด 105.6 กะรัต จากขนาดเดิม 186 กะรัต โดยจากการเจียระไนในปีค.ศ. 1852 ทำให้เพชรนี้ถูกลดขนาดลงถึง 42 เปอร์เซนต์ โดยในปัจจุบัน โคห์อินัวร์ ตกอยู่ในครอบครองของจักรวรรดิอังกฤษ และถูกเก็บรักษารวมถึงจัดแสดงที่หอคอยแห่งลอนดอน

British Royalty, Crowns, pic: circa 1952, The State Crown of Queen Elizabeth the Queen Mother, containing the famous Koh-I-Noor diamond (Photo by Popperfoto/Getty Images)
โคตรเพชร ‘โคอินัวร์’

 

หลังจากที่อังกฤษได้เพชรนี้มา เจ้าชายอัลเบิร์ต และผู้เชี่ยวชาญทางอัญมณี เจมส์ เทนแนนท์ เป็นผู้ทำการเจียระไนโคห์อินูร์โดยช่างในอัมสเตอร์ดัม เป็นเมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์  หลังจากนั้นได้นำโคห์อินัวร์ไปประดับบนมงกุฎที่สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ซึ่งขณะนั้นได้เก็บรักษาไว้ที่พระราชวังวินด์เซอร์ ทั้งที่โดยปกติแล้วเครื่องราชกกุธภัณฑ์จะต้องเก็บรักษาที่หอคอยแห่งลอนดอนเท่านั้น และกลายเป็นมรดกตกทอดจากรุ่นสู่รุ่นจนกระทั่งสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2ในปัจจุบัน

ย้อนไปเมื่อช่วงที่อังกฤษยึดครองอินเดียเป็นเมืองขึ้น ขณะเดียวกันที่เจ้าอาณานิคม แสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ในอินเดียมานานหลายศตวรรษของการ แต่ที่ผ่านมา ประชาชนชาวอินเดียบางกลุ่ม ได้ทวงสิทธิ์ในโคห์อินัวร์ เนื่องจากถือว่าถูกริบไปอย่างผิดกฎหมาย จากเมื่อครั้งสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบ็ธที่ 2 ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินเดียอย่างเป็นทางการในรัฐพิธีเฉลิมฉลองอิสรภาพครบ 50 ปีของอินเดียในปีค.ศ. 1997 ชาวอินเดียในประเทศอินเดีย และในสหราชอาณาจักรได้เรียกร้องให้มีการส่งคืนโคห์อินัวร์ให้กับอินเดีย

LONDON, UNITED KINGDOM - APRIL 19: The Crown Of Queen Elizabeth The Queen Mother (1937) Made Of Platinum And Containing The Famous Koh-i-noor Diamond Along With Other Gems. (Photo by Tim Graham/Getty Images)
โคตรเพชร ‘โคอินัวร์’

ครั้งหนึ่งในปี 2010 ขณะที่นายเดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เยือนแดนภารตะ กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวในทำนองว่า จะไม่มีการส่งมอบเพชรดังกล่าวคืนให้กับอินเดียแต่อย่างใด

โคอินัวร์ได้รับการนำขึ้นถวายพระราชินีวิคตอเรียแห่งอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1850 และมีพระราชเสาวนีย์ให้ทำการตัดและเจียระไนใหม่ในปี ค.ศ. 1862 เพื่อให้มีไฟดีขึ้น ซึ่งจากเดิมน้ำหนัก 186 กะรัต ได้ถูกเจียระไนใหม่เหลือ 105.6 กะรัต และถูกประดับเป็นเพชรเม็ดกลางของมงกุฎ ปัจจุบันตั้งโชว์อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ หอคอยแห่งลอนดอน (Tower of London)

UNITED KINGDOM - MAY 12 1937: Following the coronation of George VI, King of England, the coronation of Queen Elizabeth by the archbishop of Canterbury in Westminster Abbey. This marriage was made in the purest British tradition, which calmed things down after the stirs caused by the resignation of Edward VIII, George VI's older brother. The Queen's crown was specialy made for the ceremony and is mounted on platinum. The circle is the one belonging to the crown Victoria used to wear at the Court. At the top, the famous Koh-i-Noor diamond. (Photo by Keystone-France/Gamma-Keystone via Getty Images)
‘โคอินัวร์’

ตามตำนานฮินดูโบราณกล่าวว่า พระกฤษณะ (Krishna) เป็นผู้สวมใส่เพชรเม็ดนี้ บ้างก็ว่าเพชรนี้ถูกพบในแม่น้ำโกทาวรี (Godavari) ในอินเดียตอนกลางเมื่อ 4,000 ปีมาแล้ว ว่ากันว่า “ผู้ใดครองเพชรเม็ดนี้จักได้ครองโลก หากแต่จักพบพานความโชคร้ายต่าง ๆ ของมันด้วย” โดยตำนานนั้น ผู้ที่จะสามารถสวมใส่เพชรโคอินัวร์ ได้ จะต้องเป็นผู้หญิง หรือพระเจ้าเท่านั้น เพราะหากบุรุษคนใด สวมใส่ เขาจะพบแต่ความโชค์ร้าย จากคำสาปของเจ้าของเพชรตามคำร่ำลือ

เพชร 'โคอินัวร์'
เพชร ‘โคอินัวร์’

โดยล่าสุด (19 เม.ย.) รัฐบาลอินเดียแถลงต่อศาลฎีกา ในกรุงนิวเดลีเมื่อวันจันทร์ ว่า รัฐบาลจะไม่พยายามร้องขอคืนเพชรโคอินัวร์จากอังกฤษ เพราะเพชรเม็ดดังกล่าวไม่ได้ถูกบีบบังคับหรือถูกขโมยเอาไป แต่เป็นการมอบให้เป็นของขวัญแด่สมเด็จพระราชินีวิคตอเรียของอังกฤษ โดยกษัตริย์พระองค์หนึ่งของอินเดีย ในช่วงกลางของคริสต์ศตวรรษที่ 19 หลัง หลังจากกลุ่มสิทธิมนุษยชนกลุ่มหนึ่ง ที่ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้รัฐบาลอินเดีย พยายามหาทางนำเพชรโคอินูร์กลับคืนสู่ประเทศ

อย่างไรก็ตาม ชาวอินเดียถือว่า การสูญเสียเพชรโคอินัวร์ถือเป็นสัญลักษณ์ของการตกเป็นข้าทาสของอังกฤษ และหากได้คืนจะเป็นการชดเชยการปกครองอินเดียเป็นเจ้าอาณานิคมของอังกฤษ

MThai News

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ news.mthai.com