เสวนา หัวข้อ “ ถุงพลาสติก “ เรา “ ใช้ “ ใคร “ ต้องจ่าย ผลวิจัย คนไทยกว่า 50 % ยินดีจ่ายค่าใช้ถุงพลาสติก เพื่อช่วยโลก
วันนี้ ( 15 ธ.ค. 60) ที่ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร จัดเสวนา หัวข้อ “ ถุงพลาสติก “ เรา “ ใช้ “ ใคร “ ต้องจ่าย นำโดย คุณสุรศักดิ์ เหลืองอร่ามศรี รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, ดร.ภาวิญญ์ เถลิงศรี คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ,คุณสำเร็จ ศรีพงษ์กุลรองผู้จัดการทั่วไป ด้านกลยุทธ์ภาพลักษณ์องค์กร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)และ คุณอัญชลี พิพัฒนวัฒนากุล ผู้ประสานรณรงค์ด้านทะเลและมหาสมุทร กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สำนักงานประเทศไทย)
โครงการนี้เกิดจากคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)และคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ) ภายใต้ทุนสนับสนุนของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกันแถลงผลวิจัยมาตรการที่เกี่ยวข้องในการจัดการถุงพลาสติก ซึ่งพบว่าคนไทยมีความตระหนักและตื่นตัวสิ่งแวดล้อมมาก
โดยส่วนใหญ่เห็นความสำคัญของปัญหาขยะถุงพลาสติกและอยากให้มีมาตรการแก้ไข ทั้งนี้ผลวิจัยพบว่า คนไทยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ เห็นด้วยกับการเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ถุงพลาสติก เพราะจะช่วยลดจ านวนการใช้ ท าให้ลดปริมาณขยะถุงพลาสติก แนะทุกภาคส่วนทั้งผู้บริโภคและผู้ผลิตควรเตรียมปรับตัว ขณะที่หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องจะต้องมีการสื่อสารเชิงรุกสร้างความเข้าใจให้ทุกฝ่ายเพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
ด้านรองศาสตราจารย์ ดร. กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ รองคณบดีคณะนิเทศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ในฐานะหัวหน้าโครงการศึกษามาตรการที่เกี่ยวข้องในการจัดการถุงพลาสติก กล่าวว่า จากสถานการณ์ ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่าถุงพลาสติกก่อให้เกิดปัญหามลพิษ และปัญหาโลกร้อน นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาน้ำท่วม สร้างความเสียหายทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม
อย่างไรก็ดีผู้ใช้ถุงพลาสติกซึ่งเป็นผู้ก่อมลพิษกลับไม่ได้แบกรับต้นทุนดังกล่าว เนื่องจากได้รับถุงฟรีจากผู้ขายสินค้าและบริการ จึงไม่เกิดแรงจูงใจใดๆ ในการลดการใช้ถุงพลาสติก การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ถุงพลาสติกจึงเป็นมาตรการหนึ่งที่จะทำให้ผู้ใช้ถุงพลาสติกซึ่งเป็นผู้ก่อมลพิษต้องแบกรับต้นทุนที่ตกอยู่กับสังคม สร้างแรงจูงใจในการลดการใช้ถุงพลาสติกได้อย่างมีประสิทธิผล คณะนิเทศาสตร์นวัตกรรมการจัดการ (นิด้า) และ คณะเศรษฐศาสตร์ (มธ) ได้ร่วมกับ ท าการศึกษาความคิดเห็นของประชาชน ต่อแนวทางความเต็มใจจ่ายเงินเพื่อซื้อถุงพลาสติก (WTP) และความเต็มใจรับเงินคืน (WTA)
จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างประมาณ 2,000 คนทั่วประเทศโดยศูนย์วิจัยนิด้าโพล พบว่าร้อยละ 89 ของกลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยว่าขยะถุงพลาสติกเป็นปัญหาสำคัญที่รัฐฯ ควรแก้ไขโดยเร็ว โดยร้อยละ 88 เห็นด้วยว่าการใช้ถุงพลาสติกมีส่วนท าให้เกิดปัญหาโลกร้อน และร้อยละ 63 เห็นด้วยว่าประชาชนทุกคนควรมีส่วนร่วมในการแบกรับต้นทุนในการจัดการขยะถุงพลาสติก สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับมาตรการลดการใช้ถุงพลาสติกที่ควรนำมาใช้นั้นพบว่า ร้อยละ 78 เห็นด้วยกับนโยบายการห้ามใช้ถุงพลาสติก ในขณะที่ประชาชนร้อยละ 57 เห็นด้วยกับมาตรการเก็บค่าธรรมเนียมถุงพลาสติก อย่างไรก็ดีประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วย (กว่าร้อยละ 60) ว่ามาตรการค่าธรรมเนียมฯ จะช่วยลดการใช้ถุงพลาสติกได้อย่างมีประสิทธิผลกว่าการให้คืนเงินสดเมื่อไม่ใช้ถุงฯ หรือ การรณรงค์สร้างจิตสำนึก
ในส่วนของผลการศึกษามาตรการที่เกี่ยวข้องในการจัดการถุงพลาสติก ยังพบว่า หากมีการเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ถุงพลาสติก คนไทยอยากให้นำค่าธรรมเนียมที่ได้ไปใช้ในการจัดการกองทุนเพื่อใช้ในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมมากที่สุด หรือคิดเป็นร้อยละ 42 รองลงมา คืออยากให้นำไปใช้ในการจัดการปัญหาขยะร้อยละ 33 และช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยร้อยละ13 รองศาสตราจารย์ ดร. กุลทิพย์ กล่าวว่า จากผลการศึกษามาตรการที่เกี่ยวข้องในการจัดการถุงพลาสติก ที่ทางโครงการฯจะได้น าเสนอต่อหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ทางโครงการฯ ยังได้มีการระดมความคิดเห็นกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและจัดทำแนวทางในการจัดเก็บค่าธรรมเนียม เพื่อให้ส่วนงานที่เกี่ยวข้องได้น าไปพิจารณา
“ จากการสำรวจข้อมูล การวิเคราะห์ทางสถิติ แล คณะผู้วิจัยเสนอว่าควรจัดเก็บค่าธรรมเนียมถุงพลาสติกในอัตราเดียวกันทุกขนาด เพราะจะส่งผลให้ต้นทุนในการใช้ถุงขนาดเล็กเพิ่มขึ้นสูงมากกว่าการใช้ถุงพลาสติกขนาดใหญ่ ท าให้การใช้ถุงพลาสติกขนาดเล็กซึ่งไม่มีความจ าเป็นมากนักลดลงได้อย่างมีประสิทธิผล ส าหรับอัตราค่าธรรมเนียมคณะผู้วิจัยเสนอว่าควรอยู่ที่ 1-2 บาทต่อถุง โดยให้จัดเก็บจากผู้ซื้อสินค้าซึ่งเป็นผู้ใช้ถุงพลาสติกตามหลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย การจัดเก็บจะเริ่มจากร้านซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ และ ร้านสะดวกซื้อ เนื่องจากมีระบบการช าระเงินที่สามารถติดตามตรวจสอบได้ โดยค่าธรรมเนียมที่จัดเก็บได้ควรน าไปใช้ในการจัดการปัญหาขยะและปัญหาสิ่งแวดล้อม”
จากข้อมูลทะเบียนราษฎร์ ปี 2559 ประชากรที่มีอายุอยู่ในช่วง 15 – 65 ปี มีอยู่ประมาณ 47 ล้านคน (สมมติให้กลุ่มประชากรนี้เท่านั้นที่ซื้อสินค้า) ในแต่ละสัปดาห์แต่ละคนใช้ถุงพลาสติกคนละ 3 ถุง ดังนั้นใน 1 ปี ( 52 สัปดาห์) จะมีการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วทั้งสิ้นประมาณ 7,300 ล้านใบต่อปี หากมีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมถุงละ 1 บาท โดยสมมติให้ค่าธรรมเนียมส่งผลให้คนลดการใช้ถุงพลาสติกลง 50% รายได้จากค่าธรรมเนียมถุงพลาสติกจะอยู่ที่ประมาณ ประมาณ 3,660 ล้านบาทต่อปี
อย่างไรก็ตาม หากมีการนำมาตรการการเก็บค่าธรรมเนียมในการจัดการถุงพลาสติก ย่อมมีผู้ได้รับผลกระทบ ทั้งในด้านผู้บริโภค และผู้ผลิต ซึ่งทางโครงการฯ ได้ให้ข้อเสนอแนะว่า ควรจะต้องศึกษาอย่างละเอียดต่อไปและควรจะสร้างการรับรู้เพื่อให้มีการปรับตัว ตั้งแต่เนิ่นๆ
“แม้ว่าวันนี้จะยังไม่มีมาตรการที่เป็นรูปธรรมออกมา แต่จากสถานการณ์สิ่งแวดล้อมและทิศทางการพัฒนาที่ยั่งยืนของ UN และนโยบายของรัฐบาลในการมีส่วนช่วยลดกระทบทางสิ่งแวดล้อมให้กับโลก ก็อยากให้ผู้เกี่ยวข้องนำผลวิจัย นี้ไปศึกษา และหาทางช่วยกันปรับตัวตั้งแต่เนิ่นๆ เช่น ประชาชน ที่ไม่ต้องการเสียค่าธรรมเนียม ก็อาจจะเริ่มพกถุงผ้า ตะกร้า เป็นประจำหรือถุงพลาสติกใช้แล้วไปจับจ่ายซื้อสินค้า สำหรับผู้ผลิตถุงพลาสติก ที่จะได้รับผลกระทบจากรายได้ที่ลดลงเนื่องจากความต้องการใช้ถุงพลาสติกที่ลดลง ก็อาจจะต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ หรือปรับขนาดอุตสาหกรรมไปสู่ระดับที่เหมาะสม ในส่วนของภาครัฐก็จะต้องมีการสื่อสารประชาสัมพันธ์อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง รวมถึงสื่อสารคุณค่าที่จะเกิดขึ้นจากการปรับเปลี่ยนและใช้มาตรการเก็บค่าธรรมเนียม” รศ.ดร. กุลทิพย์ กล่าว
ทั้งนี้ผลวิจัยนี้จะช่วยสร้างความตื่นตัวและจุดประกายให้ภาคส่วนสำคัญ อีกทั้งเป็นการระดมความคิดเห็นสาธารณะ ทางโครงการได้จัดให้มีการเสวนาหัวข้อ ถุงพลาสติก “เรา” ใช้” “ใคร” ต้องจ่าย ขึ้น ซึ่งมีผู้แทนจากภาคผู้ผลิต คือ ผู้แทนภาคอุตสาหกรรมพลาสติก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย รวมถึงผู้แทนจากบริษัทซีพีออล์ที่ตัวแทนผู้ประกอบการร้านสะดวกซื้อ กลุ่มกรีนพีชซึ่งเป็นตัวแทนภาคประชาสังคม และภาคนโยบายจากคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติด้านสิ่งแวดล้อม ได้มาร่วมพูดคุยถึงผลกระทบและแนวทางรับมือ และแนวทางการปรับตัว หากมีการประกาศมาตรการเก็บค่าธรรมเนียมขึ้นในอนาคต โดยประเด็นที่ได้มีการเน้นย้ าคือ การสื่อสารอย่างเป็นระยะ และต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนได้ปรับตัว รวมถึงมีการออกแบบการสื่อสาร ณ.จุดขายให้โดนใจ เข้าใจง่ายและกระจ่าง ไม่ว่าจะเป็นที่ที่จุดชำระเงิน ในห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มารเก็ต ร้านสะดวกซื้อ และที่สำคัญคือการสร้างการรับรู้ การรณรงค์ผ่านสื่อมวลชนและสื่อสังคมที่สอดรับกับผู้บริโภคยุคปัจจุบันทุกกลุ่ม