ย้อนดูเหตุการณ์! ล่าสัตว์ป่า “ทุ่งใหญ่นเรศวร ”

จากกรณีการจับซีอีโอบริษัทใหญ่กลางป่า “ทุ่งใหญ่นเรศวร” พร้อมไรเฟิลล่าสัตว์ และของกลางเป็นซากสัตว์จำนวนมาก ย้อนกลับไปก็มีเหตุการณ์ลักษณะนี้ในหน้าประวัติศาสตร์ไทยเกี่ยวเนื่องกับผืนป่าดังกล่าว นั่นคือ เหตุการณ์เฮลิคอปเตอร์เบลล์ตกที่จังหวัดนครปฐม หรือ กรณีล่าสัตว์ทุ่งใหญ่” กลายเป็นชนวนของการปฏิวัติ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 ย้อนกลับไปเมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 29…

Home / NEWS / ย้อนดูเหตุการณ์! ล่าสัตว์ป่า “ทุ่งใหญ่นเรศวร ”
จากกรณีการจับซีอีโอบริษัทใหญ่กลางป่า “ทุ่งใหญ่นเรศวร” พร้อมไรเฟิลล่าสัตว์ และของกลางเป็นซากสัตว์จำนวนมาก ย้อนกลับไปก็มีเหตุการณ์ลักษณะนี้ในหน้าประวัติศาสตร์ไทยเกี่ยวเนื่องกับผืนป่าดังกล่าว นั่นคือ เหตุการณ์เฮลิคอปเตอร์เบลล์ตกที่จังหวัดนครปฐม หรือ กรณีล่าสัตว์ทุ่งใหญ่” กลายเป็นชนวนของการปฏิวัติ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516

ย้อนกลับไปเมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2516 เกิดอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ยี่ห้อเบลล์ลำหนึ่งของกองทัพบก หมายเลข ทบ.6102 ตกที่เขตอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ในที่เกิดเหตุมีผู้เสียชีวิต 6 คน และพบซากสัตว์ป่าจำนวนมาก โดยเฉพาะเนื้อขากระทิงขนาดใหญ่ เนื้อใส่กล่องกระดาษหลายกล่อง ปืนล่าสัตว์หลายกระบอก เหตุการณ์นี้ส่งผลให้ มีผู้เสียชีวิต 6 คน เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ และบาดเจ็บสาหัส 4 ราย

ในขณะที่นายกรัฐมนตรีจอมพลถนอม กิตติขจร ได้ให้สัมภาษณ์ว่า คณะบุคคลที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์เครื่องบินตกนั้น ตายขณะปฏิบัติหน้าที่ราชการ อันเป็นราชการลับที่เปิดเผยไม่ได้ เนื้อสัตว์ที่อยู่ในเครื่องบิน อาจเป็นของที่คนอื่นฝากมาก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงการปกป้องคนกระทำผิดของรัฐบาล

ต่อมาศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยได้จัดให้มีการประชุมหารือต่อกรณีดังกล่าวขึ้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2516 มีมติให้ศูนย์ฯดำเนินการ 8 ข้อ เช่น ให้ออกหนังสือเผยเบื้องหลังทั้งหมด จัดอภิปรายเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ฟ้องร้องผู้ล่าสัตว์ต่อศาล เป็นต้น นอกจากนี้ ยังแถลงเรียกร้องให้รัฐบาลกระทำทุกอย่างเพื่อพิสูจน์ว่าเป็นรัฐบาลของประชาชน โดยให้ลงโทษผู้กระทำผิดโดยไม่เห็นแก่หน้าผู้ใดทั้งสิ้น ซึ่งเป็นที่มาของการทำหนังบันทึกลับทุ่งใหญ่

ต่อมาการจัดอภิปรายต่อกรณีล่าสัตว์ทุ่งใหญ่ ที่หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีผู้เข้าร่วมฟังนับหมื่นคนมีการโจมตีรัฐบาลอย่างดุเดือด กระทั่งมีการีพิมพ์หนังสือ “บันทึกลับจากทุ่งใหญ่” ออกเผยแพร่

ต่อมา รัฐบาลตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวน 9 คน โดย 6 ใน 9 เป็นนายทหารและตำรวจซึ่งในที่สุดผลปรากฏว่า กรรมการเชื่อว่าการนำเฮลิคอปเตอร์ไปใช้ครั้งนี้เป็นไปตามคำสั่งของผู้บัญชาการทหารบกเพื่อปฏิบัติราชการลับ จากนั้นศาลมีคำตัดสินให้ปล่อยตัว 9 จำเลย มีเพียงพรานที่ถูกตัดสินให้จำคุก 6 เดือน กระทั่งเหตุการณ์อันเป็นปม เงื่อนสำคัญที่นำไปสู่การประท้วงต่อสู้ของนักศึกษาประชาชน