เปิดจุดยืน ‘พล.ต.อ.สล้าง บุนนาค’ เหตุหนุนสร้างรางรถไฟขนาด 1.435 เมตร

ข้อความบางช่วงที่ปรากฎบนจดหมายลาตายของ พลตำรวจเอก สล้าง บุนนาค อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ ที่ตัดสินใจปลิดชีพตนเองด้วยการกระโดดลงมาจากชั้น 7 ของห้างสรรพสินค้าย่านแจ้งวัฒนะ โดยเฉพาะข้อความที่ขอให้ทุกคนที่ทราบเรื่องการเสียชีวิตร่วมกันคัดค้านรถไฟทางคู่ ขนาด 1.000 เมตร และคัดค้านรถไฟฟ้ายกระดับ กระตุกความสนใจของผู้ที่ได้อ่านจดหมายฉบับนั้น เป็นเวลานานนับ 10…

Home / NEWS / เปิดจุดยืน ‘พล.ต.อ.สล้าง บุนนาค’ เหตุหนุนสร้างรางรถไฟขนาด 1.435 เมตร
ข้อความบางช่วงที่ปรากฎบนจดหมายลาตายของ พลตำรวจเอก สล้าง บุนนาค อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ ที่ตัดสินใจปลิดชีพตนเองด้วยการกระโดดลงมาจากชั้น 7 ของห้างสรรพสินค้าย่านแจ้งวัฒนะ

โดยเฉพาะข้อความที่ขอให้ทุกคนที่ทราบเรื่องการเสียชีวิตร่วมกันคัดค้านรถไฟทางคู่ ขนาด 1.000 เมตร และคัดค้านรถไฟฟ้ายกระดับ กระตุกความสนใจของผู้ที่ได้อ่านจดหมายฉบับนั้น เป็นเวลานานนับ 10 ปีที่ พล.ต.อ.สล้าง ร่วมเป็นแกนนำในการรณรงค์และให้ความคิดเห็นคัดค้านการสร้างรางรถไฟขนาดความกว้าง 1.000 เมตร

พล.ต.อ.สล้าง บุนนาค, รถไฟทางคู่,รถไฟฟ้ายกระดับ

โดยให้เหตุผลถึงเรื่องมาตรฐานสากล เนื่องจากรางขนาด 1.000 เมตรเป็นระบบเก่าอาจทำให้เกิดปัญหาในการเชื่อมต่อเส้นทางกับประเทศเพื่อนบ้าน จึงผลักดันให้ใช้รางขนาด 1.435 เมตร หรือ รางขนาดมาตรฐาน ที่เรียกว่า สแตนดาร์ดเกจ ซึ่งเป็นรางที่นิยมใช้กันมากที่สุดในโลก ทั้งในกลุ่มประเทศยุโรป สหรัฐอเมริกา แคนาดา จีน หรือแม้แต่เส้นทางรถไฟความเร็วสูงในประเทศญี่ปุ่น

พล.ต.อ.สล้าง บุนนาค, รถไฟทางคู่,รถไฟฟ้ายกระดับ

แต่ความคิดเห็นของ พล.ต.อ.สล้าง กลับสวนทางกับแนวคิดของนักวิชาการ และหน่วยงานภาครัฐที่มองว่า รางขนาด 1.435 เมตรไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้กับรถไฟทางคู่ของไทย เนื่องจากขนาดรางของประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา มาเลเซีย ยังคงใช้รางขนาด 1.000 เมตร และหากมีการเปลี่ยนแปลงขนาดของรางเป็น 1.435 เมตรก็จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของรถไฟ อาทิ แคร่ หรือ โบกี้ รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น สะพาน อุโมงค์ หรือ ชานชาลา

พล.ต.อ.สล้าง บุนนาค, รถไฟทางคู่,รถไฟฟ้ายกระดับ
พลตำรวจเอก สล้าง บุนนาค อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ

ส่วนความคิดเห็นในการคัดค้านรถไฟฟ้ายกระดับของ พล.ต.อ.สล้าง นั้น พบว่า ในอดีตที่ผ่านมา เคยพยายามผลักดันให้เกิดรถไฟฟ้าระบบใต้ดินจากประเทศเยอรมนี ซึ่งนักวิชาการเคยให้ความเห็นว่า รูปแบบดังกล่าวใช้งบประมาณการก่อสร้างที่สูง อีกทั้งค่าบริหารจัดการที่แพงกว่า