สาวกน้องหมา ทาสน้องแมวต้องรู้ พ.ร.บ.โรคพิษสุนัขบ้า
พระราชบัญญัติ โรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535
“สัตว์ควบคุม” หมายความว่า สุนัขหรือสัตว์อื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง “เจ้าของ” หมายความรวมถึงผู้ครอบครองด้วย “วัคซีน” หมายความว่า วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าสำหรับสัตว์ “เครื่องหมายประจำตัวสัตว์” หมายความว่า เครื่องหมายประจำตัว สัตว์ควบคุม “อาการของโรคพิษสุนัขบ้า” หมายความว่า ในกรณีของสุนัข อาการ
ผู้ครอบครอง หมายรวมถึง เจ้าของโดยตรง และผู้ที่ให้อาหาร หรือที่พักอาศัยแก่สัตว์นั้น แม้ผู้ครอบครองจะไม่ให้สัตว์นั้นเข้าไปในบริเวณบ้านของ
หน้าที่ของผู้เป็นเจ้าของสัตว์ควบคุม ตามพระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า ปี 2535 ไม่ว่าจะเป็นสุนัขหรือแมว คือ เจ้าของสัตว์ควบคุมต้องจัดการให้สุนัขได้รับการฉีดวัคซีนคร้ังแรกเมื่อสุนัขนั้นมีอายุตั้งแต่สองเดือนขึ้นไปแต่ไม่เกินสี่เดือน และได้รับการฉีดวัคซีนครั้งต่อไปตามระยะเวลาที่กําหนดในใบรับรองการฉีดวัคซีน
ในกรณีของสัตว์ควบคุมอื่น ให้เจ้าของจัดการให้สัตว์ควบคุมดังกล่าวได้รับ การฉีดวัคซีนตามระยะเวลาที่กําหนดในกฎกระทรวง กรณีเจ้าของสัตว์ควบคุมฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
มาตรา 6 วรรคสอง เจ้าของสัตว์ควบคุมต้องแสดงเครื่องหมายประจําตัวสัตว์ตามวรรคหนึ่งไว้ กรณีเจ้าของสัตว์ควบคุมฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
มาตรา 7 ในกรณีที่เครื่องหมายประจําตัวสัตว์สูญหายหรือชำรุด ให้เจ้าของสัตว์ควบคุมขอเครื่องหมายประจำตัวสัตว์ หรือใบรับรองการฉีดวัคซีนแทนของเดิม ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันทราบเหตุ
มาตรา 11 เมื่อปรากฏว่าสัตว์ควบคุมใดมีอาการของโรคพิษสุนัขบ้าให้เจ้าของสัตว์ควบคุมแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลา ที่พบว่าสัตว์ควบคุมนั้นมีอาการของโรคพิษสุนัขบ้า กรณีเจ้าของสัตว์ควบคุมฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 3,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 12 ในกรณีที่สัตว์ควบคุมใดถูกสัตว์ควบคุมอื่นที่สงสัยว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัด ไม่ว่าสัตว์ควบคุมที่ถูกกัดจะได้รับการฉีดวัคซีนแล้วหรือไม่ ให้เจ้าของสัตว์ควบคุมนั้น แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่รู้ว่าถูกกัด เพื่อให้สัตว์ควบคุมนั้นได้รับการฉีดวัคซีน ให้เจ้าของสัตว์ควบคุมเฝ้าสังเกตอาการของสัตว์ควบคุมที่ถูกกัดไว้เป็นระยะเวลา ไม่น้อยกว่า 6 เดือนนับแต่เวลาที่รู้ว่าถูกกัด
กรณีเจ้าของสัตว์ควบคุมฝ่าฝืนไม่แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 3,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนกรณีที่เจ้าสัตว์ควบคุมไม่เฝ้าสังเกตอาการของสัตว์ที่ถูกตัดมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือนปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ขณะที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ออกประกาศกฎกระทรวงกำหนดสัตว์ควบคุมและระยะเวลาการฉีดวัคซีน 2560 ลงวันที่ 23 มิ.ย.60
โดยให้แมวเป็นสัตว์ควบคุมตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) โรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535 และให้เจ้าของจัดการให้แมวได้รับการฉีดวัคซีนครั้งแรกเมื่อแมวมีอายุตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป แต่ไม่เกิน 4 เดือน และได้รับการฉีดวัคซีนครั้งต่อไปตามระยะเวลาที่กำหนดในใบรับรองการฉีดวัคซีน