สกู๊ปพิเศษ | สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์พร้อมบำบัดผู้ป่วยติดคดีกลับคืนสังคม

ในกระบวนการยุติธรรม คนกระทำความผิดจำเป็นต้องมารับโทษตามกฎหมาย แต่ในกรณีที่คนกระทำความผิด กระทำลงไปเพราะไม่สามารถบังคับร่างกายและจิตใจตนเองได้ ในทางกฎหมายไม่ถือว่าเป็นคนไม่ดี แต่เป็นผู้ป่วยจิตเวชที่ต้องได้รับการรักษามากกว่าได้รับการลงโทษ ซึ่งสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ เป็นสถาบันจิตเวชเฉพาะทางแห่งแรกที่ให้การบำบัดรักษาผู้ป่วยก่อคดี   สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ หรือชื่อเดิมคือโรงพยาบาลนิติจิตเวช เป็นโรงพยาบาลจิตเวชขนาดกลางในสังกัดกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ก่อตั้งตั้งแต่ปี 2514…

Home / NEWS / สกู๊ปพิเศษ | สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์พร้อมบำบัดผู้ป่วยติดคดีกลับคืนสังคม

ในกระบวนการยุติธรรม คนกระทำความผิดจำเป็นต้องมารับโทษตามกฎหมาย แต่ในกรณีที่คนกระทำความผิด กระทำลงไปเพราะไม่สามารถบังคับร่างกายและจิตใจตนเองได้ ในทางกฎหมายไม่ถือว่าเป็นคนไม่ดี แต่เป็นผู้ป่วยจิตเวชที่ต้องได้รับการรักษามากกว่าได้รับการลงโทษ ซึ่งสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ เป็นสถาบันจิตเวชเฉพาะทางแห่งแรกที่ให้การบำบัดรักษาผู้ป่วยก่อคดี

 

สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ หรือชื่อเดิมคือโรงพยาบาลนิติจิตเวช เป็นโรงพยาบาลจิตเวชขนาดกลางในสังกัดกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ก่อตั้งตั้งแต่ปี 2514 จนกระทั่งในปี 2545 โรงพยาบาลนิติจิตเวชได้รับพระกรุณาจากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานนามให้ใหม่เป็น “สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์”จวบจนปัจจุบัน

          วัตถุประสงค์แรกเริ่มในการก่อตั้งสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ มีเพื่อให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วยที่กระทำความผิดตามกฎหมาย หรือที่เราเรียกกันว่าผู้ป่วยคดี เนื่องจากยังไม่มีโรงพยาลจิตเวชใดที่ดูแลผู้ป่วยคดีโดยเฉพาะ

เนื่องจากในมุมมองกฎหมาย มองว่าการนำผู้ป่วยก่อคดีที่มีความเจ็บป่วยทางจิตมาบำบัดรักษา จะมีประโยชน์ต่อสังคมมากกว่านำตัวไปลงโทษตามกระบวนการยุติธรรม ขณะเดียวกันในปัจจุบันก็มีพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พุทธศักราช 2551 เข้ามารองรับและช่วยให้ผู้ป่วยเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาได้มากขึ้นและ ทำให้ผู้ป่วยคดีที่ถูกประเมินว่ากระทำผิดเพราะไม่สามารถบังคับตนเองได้ ถูกส่งมายังสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์มากขึ้นเช่นกัน

 

กระบวนการรักษาของทางสถาบัน จะใช้หลัก “กาย จิต สังคม” คือการให้ยารักษาทางกาย บำบัดฟื้นฟูทางจิตใจ และทำความเข้าใจกับสังคมและครอบครัวของผู้ป่วย โดยใช้ความร่วมมือกันระหว่างแพทย์ พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา และนักกิจกรรมบำบัด รวมถึงความร่วมมือจากเครือข่ายในชุมชนในกรณีผู้ป่วยกลับได้ไปใช้ชีวิตตามปกติที่บ้าน

ในปัจุบันสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ได้มีการปรับปรุงภาพลักษณ์เพื่อให้ผู้ป่วย และญาติรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นเมื่อมาใช้บริการ รวมไปถึงการนำเอาเทคโนโลยีการจ่ายยามาใช้เพื่อความถูกต้องแม่นยำ

ซึ่งทั้งหมดล้วนเกิดจากการใส่ใจในการให้บริการบำบัดรักษา โดยมีเป้าหมายที่จะให้ผู้ป่วยคดีและผู้ป่วยจิตเวชทั่วไปได้กลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีคุณค่า ไม่กลับไปก่อเหตุซ้ำ

กีรติ ศรีน้อย ถ่ายภาพ

ลลิตวดี ตั้งสิริตระกูล MONO 29 รายงาน