กกต พรรคพลังประชารัฐ ยุบพรรคพลังประชารัฐ เลือกตั้ง62

เลือกตั้ง62 :‘วิญญัติ’ บุก กกต. ร้องยุบพรรคพลังประชารัฐ

ร้องยุบพรรคพลังประชารัฐ วันที่ 15 ก.พ. 2562 นายวิญญัติ ชาติมนตรี เลขาธิการสมาพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิและเสรีภาพ (สกสส.) พร้อมคณะทำงาน ได้เข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อคัดค้านการประกาศชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา…

Home / NEWS / เลือกตั้ง62 :‘วิญญัติ’ บุก กกต. ร้องยุบพรรคพลังประชารัฐ

ร้องยุบพรรคพลังประชารัฐ

วันที่ 15 ก.พ. 2562 นายวิญญัติ ชาติมนตรี เลขาธิการสมาพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิและเสรีภาพ (สกสส.) พร้อมคณะทำงาน ได้เข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อคัดค้านการประกาศชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นผู้อยู่ในบัญชีรายชื่อนายกรัฐมนตรีของพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) พร้อมกล่าวโทษขอให้ไต่สวนยุบพรรค

นายวิญญัติ กล่าวว่า วันนี้ได้เข้ายื่นคำร้องคือ1.ขอให้กกต. วินิจฉัยยุบพรรคพลังประชารัฐและ 2.การคัดค้านประกาศรายชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ ในบัญชีรายชื่อนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้มองว่าปัญหาข้อกฎหมายคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามคือ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรีอยู่แล้ว อีกทั้งยังดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และต่อมารัฐธรรมนูญได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของหัวหน้า คสช. ไว้ จึงถือว่าเป็นตำแหน่งที่บัญญัติขึ้นตามกฎหมาย

นอกจากนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ยังเป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ซึ่งมีค่าตอบแทนจากงบประมาณแผ่นดินจึงถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และเมื่อพิจารณาคุณสมบัติต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 160 (6) ประกอบมาตรา 98 (15) ซึ่งกำหนดว่าเป็นพนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ดังนั้น พล.อ.ประยุทธ์ จึงเป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 88 ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งต้องพิจารณาขณะที่มีการเสนอชื่อบุคคลดังกล่าวตามนัยของมาตรา 14 (2) แห่งพรรคพลังประชารัฐว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.

อีกทั้งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 265 กำหนดให้ คสช. ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนวันประกาศรัฐธรรมนูญ ต้องยังคงอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นมาใหม่ภายหลังการเลือกตั้งครั้งแรกเข้ารับหน้าที่ ซึ่งหากพล.อ.ประยุทธ์ จะพ้นจากตำแหน่งหัวหน้า คสช. ก็ต่อเมื่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เข้าปฏิบัติหน้าที่

ดังนั้นเมื่อพิจารณาจากวันที่เสนอชื่อพล.อ.ประยุทธ์ จึงไม่สามารถเป็นนายกรัฐมนตรีได้ เนื่องจากขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้ามจึงเป็นการไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ทั้งนี้หาก พล.อ.ประยุทธ์ ประสงค์จะให้มีการเสนอชื่อตนเองจะต้องลาออกจากทุกตำแหน่งที่ถือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ

ขณะที่เมื่อพรรค พปชร. เสนอชื่อบุคคลที่ขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้ามอีกทั้งยังมีพฤติการณ์ตาม 4 ข้อดังนี้

1.การครอบงำพรรคพรรคพลังประชารัฐ ของพลเอกประยุทธ์

2.เจ้าหน้าที่รัฐใช้ตำแหน่งเป็นคุณหรือเป็นโทษต่อผู้สมัครและพรรคการเมือง และยินยอมให้มีการใช้ทรัพยากรของรัฐ

3.สมคบใช้นโยบายของรัฐเพื่อเป็นนโยบายพรรคการเมืองเพื่อเอื้อประโยชน์ จูงใจ ในการหาเสียงเลือกตั้ง

4.พรรคพลังประชารัฐกระทำการอันเป็นปฎิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยการเสนอชื่อพลเอกประยุทธเป็นนายกฯ อันเป็นการขัดเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ เนื่องจากพลเอกประยุทธ์ เป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ( คสช.) โดยการยึดอำนาจและบริหารประเทศ ซึ่งขัดกับหลักการระบอบประชาธิปไตย ประกอบกับพลเอกประยุทธ์ ยังเคยยอมรับว่าตนเองเป็นผู้นำมาจากการยึดอำนาจพร้อมแนบหลักฐานชัดเจนประกอบด้วย

จึงขอให้ กกต. ทบทวนประกาศรายชื่อของ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นผู้อยู่ในบัญชีรายชื่อนายกรัฐมนตรี และดำเนินการเพิกถอนรายชื่อบุคคลดังกล่าว และขอให้มีการวินิจฉัยยุบพรรคพลังประชารัฐต่อไป