น้อมนำคำสอนพระพุทธเจ้า ป้ายหาเสียง อุ้มหมาไปหาหมอ เลือกตั้ง 62

เลือกตั้ง 62 : สีสันป้ายหาเสียง

ในช่วงของการหาเสียงเลือกตั้งอย่างนี้ เราจะเห็น ผู้สมัคร ส.ส. จากหลายพรรคต่างนำป้ายหาเสียงไปติดตั้งตามจุดต่างๆ เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลผู้สมัคร ที่มีชื่อ เบอร์ พรรคการเมือง และผลงานที่ผ่านมา ซึ่งก็มีหลายป้ายหาเสียงที่เห็นแล้วชวนสงสัยถึงการสื่อความหมาย ขณะที่หลายป้ายก็ถูกไปแชร์ผ่านโลกโซเชียลมีเดียถึงความแปลก อย่างเช่นป้ายหาเสียง ของนายทองใบ เสริฐสอน…

Home / NEWS / เลือกตั้ง 62 : สีสันป้ายหาเสียง

ในช่วงของการหาเสียงเลือกตั้งอย่างนี้ เราจะเห็น ผู้สมัคร ส.ส. จากหลายพรรคต่างนำป้ายหาเสียงไปติดตั้งตามจุดต่างๆ เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลผู้สมัคร ที่มีชื่อ เบอร์ พรรคการเมือง และผลงานที่ผ่านมา ซึ่งก็มีหลายป้ายหาเสียงที่เห็นแล้วชวนสงสัยถึงการสื่อความหมาย ขณะที่หลายป้ายก็ถูกไปแชร์ผ่านโลกโซเชียลมีเดียถึงความแปลก

อย่างเช่นป้ายหาเสียง ของนายทองใบ เสริฐสอน ผู้สมัคร ส.ส. เขต 4 จังหวัดนนทบุรี พรรครวมพลังประชาชาติไทย กับภาพอุ้มสุนัขพันธุ์บลูด็อกตัวอ้วนกลม พร้อมข้อความ “ผลงานที่ผ่านมา อุ้มหมาไปหาหมอเพื่อฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า”

 

นายทองใบ อธิบายว่า ข้อความบนป้ายหาเสียง อยากสื่อถึงผลงานของตนเองที่ทำมาตลอดหลายปี ซึ่งปกติแล้วมักจะนำเจ้าหน้าที่แพทย์ไปตั้งจุดฉีดวัคซีนให้สุนัขและแมวเป็นประจำ บางครั้งหากชาวบ้านอุ้มไม่ไหวก็จะช่วยอุ้มเพื่อให้แพทย์ฉัดวัคซีนได้ง่ายขึ้น ส่วนกระแสตอบรับป้ายหาเสียงมีทั้งแง่บวกและแง่ลบ แต่ก็รู้สึกดีใจที่ประชาชนจำตนเองได้มากขึ้น

ขณะที่อีกหนึ่งป้ายหาเสียง ที่ถูกพูดถึงในโลกโซเชียลมีเดีย และถูกนำไปตัดต่อ เป็นจำนวนมาก คือป้ายของนายไพบูลย์ นิติตะวัน หัวหน้าพรรคประชาชนปฎิรูป พร้อมข้อความน้อมคำสอนพระพุทธเจ้ามาปฎิบัติ เพื่อแก้ไขปัญหาทุกร้อนให้ประชาชน

 

 

นายไพบูลย์ บอกว่า แนวคิดของป้ายหาเสียง ต้องการนำเสนอเรื่องดีๆ ให้สังคม ให้ฉุกคิดเหมือนพรรคประชาชนปฎิรูปที่นำคำสอนของพระพุทธเจ้ามาปฏิบัติ ทำให้ประชาชนสนใจเรื่องของพระพุทธศาสนา มากกว่าโจมตีกันไปมา หรือ ข้อความสัญญาว่าจะให้ เหมือนการเมืองน้ำเน่าในอดีต และไม่รู้สึกโกรธที่ไปยื่นร้อง กกกต. เรื่องป้ายหาเสียงและถูกนำไปล้อเลียน เพราะใช้หลักของพระพุทธศาสนาเพื่อสงบจิตใจ

ขณะที่การหาเสียงในครั้งนี้ หลายพรรคการเมืองได้ให้ความสำคัญกับป้ายเลือกตั้งมากขึ้น ทำให้มีการสร้างสรรค์ป้ายออกมาหลากหลายรูปแบบ อย่างป้ายของพรรคพลังท้องถิ่นไทย ที่คล้ายกับภาพยนต์ซุปเปอร์ฮีโร หรือ ป้ายของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ใช้หาเสียงผ่านโซเชียลมีเดีย ที่ทำให้เข้ากับเทศกาลวันแห่งความรักหรือวันวาเลนไทน์

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้การเลือกตั้งครั้งนี้ กกต.ได้กำหนดกติกา การติดตั้งป้ายหาเสียงเพิ่มขึ้น เช่นการจำกัดพื้นที่ แต่ป้ายหาเสียง ก็ยังเป็นสื่อสำคัญ ระหว่างนักการเมือง กับ ประชาชน หากป้ายหาเสียงที่ทำออกมานั้นน่าสนใจ ก็ทำให้ประชาชนนั้นจดจำได้ง่ายขึ้น

แต่จะมีผลต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงหรือไม่นั้น คงต้องไปรอฟังผลในวันที่ 24 มีนาคมนี้กันอีกครั้ง