​ไขปม! อาชญากรต่างชาติ เลือกไทยเป็นแหล่งกบดาน

เผยปัจจัยที่ทำให้อาชญากรต่างชาติเลือกไทยเป็นแหล่งกบดาน ดร.นัทธี จิตสว่าง ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย ได้เคยเปิดเผยผลการศึกษาเรื่องแก๊งอาชญากรชาวต่างชาติที่เข้ามากระทำความผิดในไทย โดยระบุว่า จากการสัมภาษณ์แก๊งอินโดนีเซียที่เข้ามาโจรกรรมทรัพย์สินในรถยนต์ในไทย เมื่อปี 2557 บอกว่ากฎหมายไทยเบา เมื่อเทียบกับประเทศอื่นที่คดีลักทรัพย์อาจถึงขั้นโบย หรือถูกตัดมือ แต่ไทยแค่ติดคุก จึงเลือกที่จะมาเสี่ยงในไทย จุดสำคัญที่หลายฝ่ายมองว่า…

Home / NEWS / ​ไขปม! อาชญากรต่างชาติ เลือกไทยเป็นแหล่งกบดาน

เผยปัจจัยที่ทำให้อาชญากรต่างชาติเลือกไทยเป็นแหล่งกบดาน

ดร.นัทธี จิตสว่าง ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย ได้เคยเปิดเผยผลการศึกษาเรื่องแก๊งอาชญากรชาวต่างชาติที่เข้ามากระทำความผิดในไทย โดยระบุว่า จากการสัมภาษณ์แก๊งอินโดนีเซียที่เข้ามาโจรกรรมทรัพย์สินในรถยนต์ในไทย เมื่อปี 2557 บอกว่ากฎหมายไทยเบา เมื่อเทียบกับประเทศอื่นที่คดีลักทรัพย์อาจถึงขั้นโบย หรือถูกตัดมือ แต่ไทยแค่ติดคุก จึงเลือกที่จะมาเสี่ยงในไทย

จุดสำคัญที่หลายฝ่ายมองว่า เป็นช่องโหว่ให้อาชญากรต่างชาติเข้ามา คือการที่ไทยเป็นเมืองท่องเที่ยว เน้นอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวเข้าออกประเทศอย่างง่ายดาย ทั้งการยกเว้นวีซ่านักท่องเที่ยว และการอนุญาตให้ทำวีซ่า ณ ด่านตรวจคนเข้าเมือง (Visa on arrival)

โดยชาวต่างชาติบางกลุ่มเลือกที่จะเข้ามาอยู่ในประเทศไทยด้วยวีซ่านักท่องเที่ยว 90 วัน แล้วใช้วิธี Visa-Run คือการออกนอกประเทศไปก่อนหมดกำหนดวีซ่า แล้วขอวีซ่าเข้ามาใหม่อีกครั้งจากสถานกงสุลไทย หรือขอวีซ่าหน้าด่านตามชายแดนประเทศเพื่อนบ้านเป็นรอบๆ ไป

ย้อนไปก่อนหน้านี้ตำรวจไทย สามารถจับอาชญากรต่างชาติที่หนีมากบดานในไทยได้หลายราย เช่น คดีจับกุม นายชิเกฮารุ ชิเรอิ วัย 72ปี อดีตสมาชิกแก๊งยากุซ่า อันดับ 1 ของประเทศญี่ปุ่น ที่หนีคดีฆาตกรรมยากุซ่าด้วยกัน มากบดานในไทยนานกว่า 10ปี โดยแฝงตัวเป็นคนเร่ร่อน และกบดานอยู่ในจังหวัดลพบุรี

ส่วนอีกคดีที่สร้างความฮือฮาไม่แพ้กันคือ การจับกุม นาย Momade Assif Abdul SATAR สัญชาติ โมซัมบิก ผู้ต้องหารายสำคัญในฐานความผิดครอบครองอาวุธ ฆาตกรรม และลักพาตัว หนีมากบดานในประเทศไทยตามหมายแดง (Red Notice) ของ INTERPOL ซึ่งก่อเหตุลักพาตัวนักธุรกิจไปเรียกค่าไถ่ คิดเป็นเงินไทยประมาณ 100 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังพบว่าก่อเหตุฆาตกรรมมาแล้ว 2 ราย และก่อเหตุในลักษณะเช่นนี้อีกหลายประเทศในทวีปแอฟริกา