เปิดเส้นทาง ‘นักบิน’ อาชีพในฝันที่กำลังขาดแคลน

เปิดเส้นเส้นทางนักบินอาชีพในฝันที่กำลังขาดแคลน เผยประเทศไทยผลิตได้เพียงปีละ 200 – 300 คน ทำให้ไม่ทันกับธุรกิจสายการบินที่เพิ่มมากขึ้น ช่วงที่ผ่านมา ‘อาชีพนักบิน’ กลายเป็นประเด็นร้อนในสังคมอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในนั้นคือปัญหาการขาดแคลนนักบิน ซึ่งไม่สามารถผลิตขึ้นมาทดแทนได้ทัน สวนทางกับการเติบโตของสายการบินพาณิชย์ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก มีความต้องการนักบินใหม่…

Home / NEWS / เปิดเส้นทาง ‘นักบิน’ อาชีพในฝันที่กำลังขาดแคลน

เปิดเส้นเส้นทางนักบินอาชีพในฝันที่กำลังขาดแคลน เผยประเทศไทยผลิตได้เพียงปีละ 200 – 300 คน ทำให้ไม่ทันกับธุรกิจสายการบินที่เพิ่มมากขึ้น

ช่วงที่ผ่านมา ‘อาชีพนักบิน’ กลายเป็นประเด็นร้อนในสังคมอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในนั้นคือปัญหาการขาดแคลนนักบิน ซึ่งไม่สามารถผลิตขึ้นมาทดแทนได้ทัน สวนทางกับการเติบโตของสายการบินพาณิชย์ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก มีความต้องการนักบินใหม่ มากถึง 216,000 ตำแหน่ง ภายในระยะเวลา 20 ปีข้างหน้านี้

จากข้อมูลสมาคมนักบินไทย พบว่า ไทยมีนักบินพาณิชย์ที่ใช้งานอยู่ประมาณ 3,000 คน แต่ด้วยปริมาณสายการบินที่เพิ่มมากขึ้น เส้นทางการบินที่หลากหลาย ทำให้นักบิน เป็นที่ต้องการมากของตลาด ขณะที่การผลิตนักบินแต่ละคนนั้นต้องใช้เวลาในการเรียนรู้และฝึกฝนเป็นเวลานาน โดยไทยผลิตได้เพียงปีละ 200 – 300 คน ทำให้ไม่ทันกับธุรกิจสายการบินที่เพิ่มมากขึ้น จนเกิดการดึงตัวนักบินระหว่างสายการบิน

สำหรับเส้นทางการจะเป็นนักบินพาณิชย์ได้ หลังจาก จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สามารถเลือกได้ 3 เส้นทาง คือ

เรียนปริญญาตรีในมหาวิทยาลัย คณะที่เกี่ยวกับการบินจนได้ใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี แล้วสอบ Qualified pilot หรือเรียนปริญญาตรีสาขาใดก็ได้ จากนั้นเรียนการบินในสถาบันการบินเองเพื่อให้ได้ใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี แล้วสอบ Qualified pilot และเรียนปริญญาตรีสาขาใดก็ได้ จากนั้นมาสอบชิงทุน Student Pilot

ทั้งนี้ ค่าเล่าเรียน CPI ในเมืองไทยอยู่ที่ 2 ล้านบาท สำหรับ Student Pilot หรือนักเรียนทุนสามารถผ่อนชำระตามเงื่อนไขของเเต่ละบริษัท

เมื่อผู้เรียนผ่านการทดสอบจากสถาบันการบินแล้ว จะถูกส่งไปยังสายการบินแต่ละแห่ง เพื่อทำการทดสอบอีกมากมาย ประมาณ 1 ปีครึ่ง ไล่ตั้งแต่การเรียนรู้หลักสูตรของแต่ละสายการบิน กฎระเบียบทั้งในระดับประเทศและสากล การทดสอบบนเครื่องบินจำลอง ก่อนก้าวขึ้นเป็น “นักบินฝึกหัด” เก็บชั่วโมงบิน ไต่ระดับไปเป็น “นักบินผู้ช่วย”

รวมระยะเวลาตั้งแต่เรียนวันแรก กระทั่งเป็นนักบินผู้ช่วย ใช้เวลาประมาณ 2 ปีครึ่ง และกว่าจะเป็นได้ “กัปตัน” ต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 8 ปี บางสายการบินต้องใช้เวลาถึง 12 ปี

ปัจจุบันสถาบันสานฝันการเป็นนักบินในเมืองไทยมีอยู่ประมาณ 11 แห่ง อาทิ สถาบันการบินพลเรือน วิทยาลัยการบินนานาชาติ มหาวิทยาลัยนครพนม โรงเรียนการบินกรุงเทพ บริษัท บางกอกเอวิเอชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด สถาบันการบิน มหาวิทยาลัยรังสิต