ทำบุญ หมิง ชาลิสา

หมิง ชาลิสา เสริมความปัง! สะสมบุญในวันสำคัญของศาสนา

อดีตนางสาวไทยสายมูตัวจริงเสียงจริงหมิง ชาลิสา  บุญครองทรัพย์ ที่ชอบเดินสายทำบุญอยู่เป็นประจำ แม้กระทั่งวันสำคัญของศาสนาก็ไม่เคยพลาด โดยเฉพาะวันเข้าพรรษาของปีนี้ได้รวมตัวคนสายมู  เก่ง ธชย และคนสนิทมาสวดมนต์ทำวัตรเย็น พร้อมปล่อยนก 44 ตัว ที่เรือนพระปัณณวิชญ์ เพื่อเสริมบุญขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้มีแต่เรื่องปังๆ เข้ามาในชีวิต

Home / NEWS / หมิง ชาลิสา เสริมความปัง! สะสมบุญในวันสำคัญของศาสนา

อดีตนางสาวไทยสายมูตัวจริงเสียงจริง “หมิง ชาลิสา” บุญครองทรัพย์ ที่ชอบเดินสายทำบุญอยู่เป็นประจำ แม้กระทั่งวันสำคัญของศาสนาก็ไม่เคยพลาด โดยเฉพาะวันเข้าพรรษาของปีนี้ได้รวมตัวคนสายมู “เก่ง ธชย” และคนสนิทมาสวดมนต์ทำวัตรเย็น พร้อมปล่อยนก 44 ตัว ที่เรือนพระปัณณวิชญ์ เพื่อเสริมบุญขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้มีแต่เรื่องปังๆ เข้ามาในชีวิต

โดย หมิง ได้โพสต์แคปชั่นว่า เริ่มต้นการเข้าพรรษาปีนี้ พวกเรามาสวดมนต์ทำวัตรเย็น ปล่อยนก 44 ตัว ที่เรือนพระปัณณวิชญ์ บ้านหลังที่2 ของพวกเรา ขอถวายลมหายใจในการปฏิบัติวันนี้แด่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และองค์พ่อร่วมกันนะคะ สาธุค้า 

#moonoitumboon

#อาจารย์เชียง

  • วันเข้าพรรษา เป็นหนึ่งในวันสำคัญของศาสนาพุทธ ที่ต่อเนื่องมาจากวันอาสาฬหบูชา โดยเป็นวันที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดระยะเวลา 3 เดือน
  • วันเข้าพรรษา ยังมีประเพณีสำคัญอีก 2 ประเพณีคือ ประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝน และประเพณีแห่เทียนพรรษา 
  • ประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝน เกิดขึ้นโดยมีเรื่องเล่าว่า ในสมัยพุทธกาล ครั้งหนึ่งนางวิสาขา มหาอุบาสิกาต้องการจะนิมนต์พระภิกษุไปฉันภัตตาหารที่บ้านจึงให้หญิงรับใช้ไปพระวิหารเชตวันเพื่อนิมนต์พระ ปรากฏว่านางไปเห็นพระภิกษุเปลือยกายอาบน้ำฝนอยู่ ก็กลับมารายงานด้วยความเข้าใจผิดว่าไม่พบพระ เห็นแต่พวกชีเปลือย นางวิสาขาก็รู้ด้วยปัญญาว่าคงเป็นพระอาบน้ำฝนอยู่ จากนั้นจึงได้ทูลขอพรจากพระพุทธเจ้า ขอถวายผ้าอาบน้ำฝนแด่พระภิกษุและภิกษุณีเป็นประจำแต่นั้นมา จึงเกิดเป็นประเพณีที่ชาวพุทธปฏิบัติสืบต่อมาจนทุกวันนี้ และกล่าวกันว่า ผู้ที่ถวายผ้าอาบน้ำฝนจะได้รับอานิสงส์เหมือนการถวายผ้าอื่นๆตามนัยที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ คือ ทำให้เป็นผู้มีผิวพรรณผ่องใส สวยงาม ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ มีความสะอาดผ่องใสทั้งกายและใจ
  • ประเพณีแห่เทียนพรรษา เกิดจากความจำเป็นที่ว่าสมัยก่อนยังไม่มีไฟฟ้าใช้เช่นปัจจุบัน ดังนั้น เมื่อพระภิกษุอยู่รวมกันมากๆเพื่อปฏิบัติกิจวัตร เช่น การสวดมนต์ตอนเช้ามืดและพลบค่ำ การศึกษาพระปริยัติธรรม การบูชาพระรัตนตรัย ฯลฯ จำเป็นต้องใช้แสงสว่างจากเทียน โดยชาวบ้านจึงได้ร่วมกันนำเทียนมาถวาย ซึ่งช่วงต้นก็คงจะถวายเป็นเทียนเล็กๆ ธรรมดา ต่อมาก็ได้มีการมัดเทียนเล็กๆ มารวมกันเป็นต้น คล้ายต้นกล้วยหรือลำไม้ไผ่ แล้วติดกับฐาน ที่เรียกกันว่า ต้นเทียน หรือ ต้นเทียนพรรษา และก็วิวัฒนาการมาเรื่อยๆ จนเป็นเทียนพรรษาอย่างที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก IG : ming.charri