มาตรการแจกเงิน 500 แก้ปัญหาความยากจนได้จริงหรือไม่ !!

คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มอง การแจกเงิน 500 บาทมีนัยทางการเมือง ขณะที่อีกมุมเห็นว่าการกระจายรายได้เป็นสิ่งที่สามารถทำได้เพื่อช่วยเหลือ ‘ผู้มีรายได้น้อย’ สำหรับการแจกเงินสด 500 บาท เป็นมาตรการที่ถูกวิจารณ์รุนแรงมากที่สุดนับตั้งแต่มีโครงการสวัสดิการของรัฐออกมาอุดหนุนผู้มีรายได้น้อย โดยกลุ่มที่วิจารณ์อย่างหนักในตอนนี้คือกลุ่มคนชั้นกลาง ที่มองว่าภาษีถูกเอาไปใช้แบบไม่คุ้มค่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อนุสรณ์ ธรรมใจ…

Home / NEWS / มาตรการแจกเงิน 500 แก้ปัญหาความยากจนได้จริงหรือไม่ !!

คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มอง การแจกเงิน 500 บาทมีนัยทางการเมือง ขณะที่อีกมุมเห็นว่าการกระจายรายได้เป็นสิ่งที่สามารถทำได้เพื่อช่วยเหลือ ‘ผู้มีรายได้น้อย’

สำหรับการแจกเงินสด 500 บาท เป็นมาตรการที่ถูกวิจารณ์รุนแรงมากที่สุดนับตั้งแต่มีโครงการสวัสดิการของรัฐออกมาอุดหนุนผู้มีรายได้น้อย โดยกลุ่มที่วิจารณ์อย่างหนักในตอนนี้คือกลุ่มคนชั้นกลาง ที่มองว่าภาษีถูกเอาไปใช้แบบไม่คุ้มค่า

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต มองว่า การแจกเงิน 500 บาท มีนัยทางการเมืองที่ต้องการหาเสียงหรือคะแนนนิยม และความได้เปรียบทางการเมืองในช่วงใกล้เลือกตั้งนี้ อีกทั้งยังปลูกฝังระบบอุปถัมภ์ในสังคมไทยโดยไม่เกิดการพัฒนารายได้อย่างยั่งยืน

อีกมุมหนึ่งก็มีความเห็นว่า การกระจายรายได้เป็นสิ่งที่สามารถทำได้เพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย แต่ควรมองถึงการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วย ในโลกโซเชียลมีเดียมีวิวาทะที่เผ็ดร้อนจากชนชั้นกลางเกี่ยวกับการทำนโยบายประชานิยมผ่าน บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพราะกลุ่มนี้เป็นผู้เสียภาษีหลักของประเทศ

ปัจจุบันกรมสรรพากรเป็นผู้จัดเก็บภาษีหลักของประเทศ ในปีงบประมาณ 2560 จัดเก็บภาษีได้ทั้งสิ้น 1.79 ล้านล้านบาท เป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 3.14 แสนล้านบาท หรือ ประมาณร้อยละ 17.5 ของจัดเก็บภาษีทุกประเภท ซึ่งมาจากฐานผู้เสียภาษีที่ยื่นแบบเสียภาษีประมาณ 10.4 ล้านราย

และในจำนวนดังกล่าว กลุ่มที่มีเงินได้ 7 แสน- 2 ล้านบาทต่อปี คือ กลุ่มผู้เสียภาษีหลัก หรือประมาณร้อยละ 60 จากจำนวนผู้เสียภาษีทั้งหมด นั่นคือกลุ่มผู้ที่มีเงินเดือนประมาณ 5 หมื่นบาท ถึง 1.6 แสนบาทต่อเดือน

พนักงานบริษัทเอกชนรายหนึ่ง กล่าวว่า ตนเองไม่ได้ประโยชน์จากมาตรการของรัฐที่ออกมาในขณะนี้ ซึ่งส่วนตัวไม่ได้คัดค้านการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย แต่ควรช่วยเหลือแบบยั่งยืนให้มีอาชีพ มีรายได้เลี้ยงตัว เพราะการแจกเงินไม่ใช่การแก้ปัญหาความยากจน

และเห็นว่ารัฐควรดูแลประชาชนให้ครอบคลุมทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม ซึ่งหากมองในฐานะชนชั้นกลาง เห็นว่าสิ่งที่ทุกคนเข้าถึงได้คือเรื่องสวัสดิการจากรัฐ

ทั้งนี้ หากพิจารณารายละเอียดงบประมาณที่ใช้ดำเนินมาตรการของขวัญปีใหม่สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยใช้เงินจากกองทุนประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม ไม่น้อยกว่า 3 หมื่น 8 พันล้านบาท โดยกองทุนประชารัฐฯ เป็นกองทุนหมุนเวียนที่ได้รับเงินทุนประเดิมตามเงื่อนไขในพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย ประจำปี 2561 จากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น จำนวน 2,730 ล้านบาท

และได้รับการจัดสรรจากงบประมาณประจำปี เติมเข้ามาในกองทุนฯ เดือนละ 3,600 ล้านบาท หรือ ปีละ 4 หมื่นล้านบาท และการทำ 4 มาตรการของขวัญปีใหม่เพิ่มเติมเข้ามา ก็ใช้วิธีการขอรับการจัดสรรงบประมาณเพิ่มอีก 4 หมื่นล้านบาท