ข่าวสดวันนี้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

ผ่านฉลุย! พ.ร.บ.มั่นคงไซเบอร์ฯ ให้อำนาจ จนท.ค้นสถานที่-ยึดคอมฯ ได้

สนช. มีมติเอกฉันท์ ผ่านวาระ 3  พ.ร.บ.มั่นคงไซเบอร์แล้ว ให้อำนาจจนท.ค้นสถานที่-ยึดคอมฯได้ หากพบคุกคามฯ เล็งประกาศใช้เป็นกฎหมสยบังคับใช้ต่อไป รายงานข่าวแจ้งว่า การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. เพื่อพิจารณาวาระ 3 ร่างพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์…

Home / NEWS / ผ่านฉลุย! พ.ร.บ.มั่นคงไซเบอร์ฯ ให้อำนาจ จนท.ค้นสถานที่-ยึดคอมฯ ได้
สนช. มีมติเอกฉันท์ ผ่านวาระ 3  พ.ร.บ.มั่นคงไซเบอร์แล้ว ให้อำนาจจนท.ค้นสถานที่-ยึดคอมฯได้ หากพบคุกคามฯ เล็งประกาศใช้เป็นกฎหมสยบังคับใช้ต่อไป

รายงานข่าวแจ้งว่า การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. เพื่อพิจารณาวาระ 3 ร่างพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. …. ตามที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญฯ ที่มีนางเสาวณี สุวรรณชีพ เป็นประธานเสนอ วันนี้ (28 ก.พ. 2562) ที่ประชุมได้มีมติ 133 เสียง งดออกเสียง 16 เสียง เห็นชอบวาระ 3 ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว โดยใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง 20 นาที ในพิจารณา

ซึ่งรายงานได้เผยว่า การประชุมพิจารณาร่าง พ.ร.บ. วาระ 3 ดังกล่าว ไม่มีกมธ.หรือสมาชิกสนช.ติดใจสงวนคำแปรญัตติ ขณะที่การอภิปรายของสมาชิกเป็นเพียงการตั้งคำถามเพื่อให้อธิบายในรายละเอียด โดยไม่มีข้อเสนอให้แก้ไขหรือปรับปรุงตามบทบัญญัติที่กมธ.เสนอแต่อย่างใด

สำหรับ ร่าง พ.ร.บ..การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ฯ ฉบับนี้มีสาระสำคัญคือ

1.นิยามภัยคุกคามไซเบอร์ตีความได้กว้างครอบคลุมเนื้อหาบนโลกออนไลน์
2.เจ้าหน้าที่รัฐสามารถขอข้อมูลจากใครก็ได้เพื่อประโยชน์ในการทำงาน
3.กฎหมายให้อำนาจเจ้าหน้าที่ ยึด-ค้น-เจาะ-ทำสำเนาคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์ หากคิดว่าเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคง

4.เมื่อมีภัยคุกคามไซเบอร์ร้ายแรงขึ้นไป เจ้าหน้าที่รัฐสามารถสอดส่องข้อมูลได้แบบเรียลไทม์
5.ในกรณีจำเป็นเร่งด่วน เจ้าหน้าที่สามารถใช้อำนาจได้ โดยไม่ต้องขอหมายศาล
6.การใช้อำนาจยึด ค้น เจาะ หรือขอข้อมูลใดๆ ไม่สามารถอุทธรณ์เพื่อยับยั้งได้
7.เมื่อมีภัยคุกคามไซเบอร์ระดับวิกฤติ ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสภาความมั่นคงแห่งชาติ
และ 8.ผู้ใดฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามคำสั่งมีโทษปรับและโทษจำคุก

อนึ่ง กมธ.ได้มีข้อสังเกตแนบท้ายไปถึงรัฐบาล โดยให้หน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ จัดหลักสูตรพัฒนาบุคลากร เพื่อรองรับการปฏิบัติหน้าที่ และเพื่อให้การทำงานด้านดังกล่าวซึ่งถือเป็นของใหม่ สอดคล้องกับเจตนารมย์ของกฎหมาย

ขณะที่การทำงานของสำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ซึ่งต้องเชื่อมโยงกับการทำงานระหว่างประเทศ ควรทำเป็นข้อตกลงระหว่างหน่วยงานแทนความตกลงที่มีผลผูกผันระหว่างรัฐ รวมถึงการทำข้อตกลงต้องอยู่ในภายใต้อำนาจและหน้าที่ของสำนักงานฯ เท่านั้น

ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก