ประเด็นน่าสนใจ
- ศบค. ชุดใหญ่เห็นชอบขยายระยะเวลา พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ อีก 2 เดือน เพื่อควบคุมสถานการณ์โควิด-19
- มีการปรับระดับพื้นที่สถานการณ์ทั่วราชอาณาจักร เริ่ม 1 เม.ย. 65
- อนุญาตให้เล่นน้ำสงการนต์ได้ เฉพาะพื้นที่ที่ควบคุมเท่านั้น ห้ามประแป้ง ปาร์โฟม ดื่มแอลกอฮอล์
วันนี้ (18 มี.ค.65) ที่ประชุมศบค.ชุดใหญ่ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม เป็นประธานได้เห็นชอบมาตรการป้องกันโควิด-19 ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2565 โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.การเตรียมตัวก่อนร่วมงาน
- ประชาชนที่เดินทางกลับภูมิลำเนา เข้าร่วมงานสงกรานต์ และกลุ่ม 608 ต้องได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์
- ประเมินความเสี่ยงของตนเอง หากพบว่ามีอาการ หรือมีความเสี่ยง ขอให้หลีกเลี่ยงการเข้าร่วมงาน หรือให้พิจารณาตรวจ ATK ก่อนเดินทาง/ร่วมงานภายใน 72 ชั่วโมง
- ขณะเดินทางโดยขนส่งสาธารณะให้เข้มงวดการสวมหน้ากากตลอดเวลา ล้างมือบ่อยๆ และงดรับประทานอาหาร
- ผู้จัดงาน และกิจการ/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานสงกรานต์ให้ลงทะเบียนบนระบบ TSC2+ และ ประเมินตนเองตามประเภทมาตรการ COVID Free Setting ได้แก่ การจัดกิจกรรมพิเศษ (แสดงคอนเสิร์ต/ดนตรี งานอีเวนท์ งานเทศกาล มหกรรม) การจัดกิจกรรมรวมกลุ่มในชุมชน ศาสนสถาน ร้านอาหาร ขนส่งสาธารณะ ฯลฯ
- การขออนุญาตจัดงานให้เป็นไปตามเขตพื้นที่สถานการณ์ หรือตามที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กรุงเทพมหานคร กำหนด สำหรับการจัดกิจกรรมในชุมชนให้แจ้งต่อ ศปก.ต./ศปก.อ. ผู้น าชุมชน และกำหนดให้มีมาตรการ ในการควบคุมกำกับอย่างเข้มงวด
2.ระหว่างช่วงงานสงกรานต์
- อนุญาตให้เล่นน้ำและจัดกิจกรรมตามประเพณี เช่น รดน้ำด้ำหัว สรงน้ำพระ การละเล่น การแสดงทางวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น ขบวนแห่ การแสดงดนตรีโดยต้องปฏิบัติตามมาตรการ COVID Free Setting และมีการก ากับอย่างเคร่งครัด
- ห้ามประแป้ง ปาร์ตี้โฟม จำหน่ายและบริโภคแอลกอฮอล์ในพื้นที่จัดงาน
- กำหนดช่องทางเข้า-ออกจากงาน จัดจุดคัดกรอง และควบคุมความหนาแน่นในพื้นที่จัดงาน (1 ต่อ 4 ตารางเมตร)
- สวมหน้ากากตลอดเวลา พกเจลแอลกอฮอล์ รักษาระยะห่าง ตลอดเวลาที่ร่วมงาน
พื้นที่สาธารณะไม่มีการควบคุม เช่น ท้องถนน ฯลฯ ห้ามเล่นน้ำ ประแป้ง และปาร์ตี้โฟม
กิจกรรมรวมกลุ่มในครอบครัว เช่น รดน้ำดำหัว การรับประทานอาหารร่วมกัน ฯลฯ
- จัดกิจกรรมในที่มีการระบายอากาศได้ดี หรือที่โล่ง ไม่หนาแน่นหรือคับแคบ
- สวมหน้ากากตลอดเวลา งดกิจกรรมการสัมผัสใกล้ชิด หรือใช้สิ่งของร่วมกัน
- เลี่ยงการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มร่วมกันเป็นเวลานาน
- ผู้สูงอายุที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ ควรได้รับวัคซีนให้ครบก่อนร่วมกิจกรรมสังสรรค์ และสัมผัสใกล้ชิดลูกหลาน
- ผู้ติดเชื้อและผู้สัมผัสเสี่ยงสูงห้ามร่วมกิจกรรม
3.หลังกลับจากงานสงกรานต์
- หลังจากกลับจากสงกรานต์ สังเกตุอาการตนเอง 7 วัน โดยเฉพาะในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อ การป่วยรุนแรง และผู้ที่จะไปพบปะกับผู้คนจำนวนมาก หากพบว่ามีอาการสงสัยติดเชื้อ ให้ทำการตรวจ ATK
- ขอให้หลีกเลี่ยงการพบปะผู้คนจำนวนมากโดยไม่จ าเป็น ในช่วงการสังเกตอาการ
- พิจารณามาตรการ WFH ให้เป็นไปตามความเหมาะสม และการพิจารณาของหน่วยงาน
นอกจากนี้ที่ประชุม ศบค.ชุดใหญ่เห็นชอบขยายระยะเวลา ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 17) ออกไปอีก 2 เดือน จากวันที่ 1 เม.ย.-31 พ.ค. 2565 เพื่อเอื้อต่อการบริหารจัดการด้านสาธารณสุข รวมถึงการบริหารจัดการการเดินทางสัญจรข้ามจังหวัด และการรวมกลุ่มของประชาชนในช่วงเทศกาลสงกรานต์
ปรับระดับพื้นที่สถานการณ์ทั่วราชอาณาจักร เริ่ม 1 เม.ย. 65
พื้นที่ควบคุม 20 จังหวัด
ตาก นครนายก นครปฐม นครราชสีมา นครศรีธรรมราช บุรีรัมย์ ประจวบคีรีขันธ์ พระนครศรีอยุธยา พัทลุง พิจิตร พิษณุโลก ระนอง ระยอง ราชบุรี สงขลา สมุทรปราการ สมุทรสาคร สุราษฎร์ธานี อุดรธานี อุตรดิตถ์
พื้นที่เฝ้าระวังสูง 47 จังหวัด
กาฬสินธุ์ กำแพงเพชร ขอนแก่น จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชัยนาท ชัยภูมิ ชุมพร เชียงราย ตรัง ตราด นครพนม นครสวรรค์ นราธิวาส น่าน บึงกาฬ ปราจีนบุรี ปัตตานี พะเยา เพชรบูรณ์ แพร่ มหาสารคาม มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ยโสธร ยะลา ร้อยเอ็ด ลพบุรี ลำปาง ลำพูน เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สตูล สมุทรสงคราม สระแก้ว สระบุรี สิงห์บุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อ่างทอง อำนาจเจริญ อุทัยธานี อุบลราชธานี
พื้นที่สีฟ้า (นำร่องท่องเที่ยว) 10 จังหวัด
กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี กระบี่ ชลบุรี เชียงใหม่ นนทบุรี ปทุมธานี พังงา เพชรบุรี ภูเก็ต (จังหวัดอื่นดำเนินการบางพื้นที่)