พายุปาบึก

สรุปไทม์ไลน์ และเกาะติดสถานการณ์ “พายุปาบึก”

เกาะติดสถานการณ์พายุโซนร้อน ปาบึก Tweets by mthai รวมเบอร์โทรศัพท์ติดต่อฉุกเฉิน สำนักงาน ปภ. จังหวัดนครศรีธรรมราช โทร. 075-358-440 ถึง 4 สำนักงาน ปภ. จังหวัดสุราษฯ …

Home / NEWS / สรุปไทม์ไลน์ และเกาะติดสถานการณ์ “พายุปาบึก”

เกาะติดสถานการณ์พายุโซนร้อน ปาบึก

รวมเบอร์โทรศัพท์ติดต่อฉุกเฉิน

  • สำนักงาน ปภ. จังหวัดนครศรีธรรมราช โทร. 075-358-440 ถึง 4
  • สำนักงาน ปภ. จังหวัดสุราษฯ  โทร.077-272400, 077-272075 หรือ สายด่วน 199
  • ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองทัพภาคที่ 4 โทร 075-383405
  • ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพบก (ส่วนกลาง) โทร 02-2977648
  • สายด่วน 1748
  • ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม จังหวัดชุมพร โทร 077 501 207

……………………………………

หลังจากที่มีรายงานการปรากฏตัวของ พายุปาบึก ซึ่งถือเป็นหนึ่งในพายุลูกใหญ่ลูกแรกแห่งปี 2562 และถือเป็นลูกที่ใหญ่มากทีเดียวในรอบหลายปี ที่จะพัดขึ้นฝั่งในบ้านเรา โดยความรุนแรงนั้นทำให้เกิดฝนตกหนัก ถึงหนักมาก ในหลายๆ บริเวณด้วยกัน

แนวเส้นทางพายุโซนร้อนปาบึก

รู้จักพายุปาบึก

พายุโซนร้อน “ปาบึก” (PABUK) เป็นชื่อที่ถูกตั้งขึ้นจากชื่อ “ปลาบึก” โดยเป็นการเสนอชื่อจาก สปป.ลาว หมายถึง ปลาบึกนั่นเอง  โดยพายุปาบึกนั้น ได้ก่อตัวขึ้นในบริเวณทะเลจีนใต้  โดยเริ่มต้นก่อตัวตั้งแต่ราววันที่ 31 ธ.ค. 2561 ในลักษณะของหย่อมความกดอากาศต่ำ ก่อนที่จะก่อตัวมีระดับความรุนแรงมากขึ้นตามลำดับ กลายเป็นพายุโซนร้อนในช่วงเช้าของวันที่ 1 ม.ค. 2562

โดยล่าสุด เมื่อ 10.00 น. ของวันนี้ ( 2 ม.ค. 62) พายุปาบึกมีความเร็วใกล้จุดศูนย์กลางประมาณ 65 กม.ต่อชั่วโมง เคลื่อนที่มุ่งหน้าเข้าอ่าวไทยด้วยความเร็ว ราว 10 กม. ต่อชั่วโมง โดยคาดว่าจะขึ้นฝั่งในประเทศไทยราววันที่ 4-5 ม.ค. 2562 บริเวณจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี

จุดที่ต้องเฝ้าระวัง

ในช่วงวันที่ 4-5 ม.ค. ที่คาดว่า พายุโซนร้อน ปาบึกจะขึ้นฝั่ง จะทำให้เกิดฝนตกได้ตั้งแต่ จังหวัดเพชรบุรีลงไปถึงนราธิวาส

บริเวณที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดจะเป็นบริเวณที่พายุโซนร้อน ปาบึก พัดขึ้นฝั่ง นั่นคือบริเวณของตอนล่างของจ.ประจวบคีรีขันธ์ (ตอนล่าง) ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช (ตอนบน)

และอีกจุดหนึ่งคือบริเวณตอนกลางของพายุ นั่นคือบริเวณ เกาะสมุย เกาะเต่า เกาะนางยวน

ไทม์ไลน์เพื่อเตรียมรับมือพายุโซนร้อน ปาบึก

วันที่ 2 ม.ค. 2562

ยังไม่มีอะไรน่าเป็นห่วงมากนัก เนื่องจากพายุปาบึกนั้นยังอยู่ห่างฝั่งอยู่ มีเพียงขอบๆ บางส่วนที่เริ่มเข้ามาแตะขอบบริเวณจังหวัดนราธิวาส บางส่วน ซึ่งทำให้เริ่มมีฝนตกบ้าง แต่ยังไม่หนักมากแต่อย่างใด

ภาพข้อมูลจากแบบจำลองสภาพอากาศเชิงตัวเลข ปริมาณน้ำฝนสะสม ในช่วงวันที่ 2 ม.ค. 62

วันที่ 3 ม.ค. 2562

พายุโซนร้อน ปาบึก จะเริ่มพัดเข้าสู่กลางอ่าวไทย แต่ยังไม่ขึ้นฝั่ง ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้น จะทำให้มีฝนตกหนัก ถึง หนักมาก ในจังหวัดทางภาคใต้ ฝั่งอ่าวไทย แถวจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส กระบี่ ตรัง และสตูล

ภาพแสดงพื้นที่ที่คาดว่าจะมีฝนตกหนัก ถึง หนักมาก ในช่วงวันที่ 3 – 4 ม.ค.

ซึ่งจากภาพการคาดการณ์ จะพบว่า ปริมาณฝนตกหนักมาก และคาดว่าปริมาณฝนตกสะสมมากกว่า 90 มม. จะประกอบไปด้วยพื้นที่

  • บริเวณเกาะสมุย เกาะเต่า เกาะนางยวน เกาะแตน เกาะวัวตาหลับ เกาะพะลวย จังหวัดสุราษฏร์ธานี
  • อำเภอ ขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช

วันที่ 4 ม.ค. 2562 วันพายุพัดขึ้นฝั่ง

ภาคใต้จะมีฝนตกเป็นบริเวณกว้างและจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งกับมีลมแรงบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

ทะเลจะมีคลื่นลมแรงทั้งฝั่งอ่าวไทย และฝั่งอันดามัน โดยฝั่งอ่าวไทย จะมีคลื่นสูงระหว่าง 3-5 เมตร ส่วนฝั่งอันดามันจะมีคลื่นสูงราว 2-3 เมตร ดังนั้นบ้านเรือนที่อยู่บริเวณชายฝั่ง ขอให้ระวังคลื่นลมแรง

ภาพแสดงปริมาณน้ำฝนจากแบบจำลอง ในช่วงวันที่ 3 ม.ค. 62

จากแบบจำลองสภาพอากาศ คาดว่าในวันที่ 3 ม.ค. 62 พื้นที่ที่จะมีฝนตกหนัก โดยคาดว่า จะมีฝนตกหนักมากกว่า 100มม. ในบริเวณดังต่อไปนี้

  • จ.เพชรบุรี บริเวณอ.ชะอำ
  • จ.ประจวบคีรีขันธ์ ทั้งจังหวัด
  • จ.ชุมพร บริเวณอ.ท่าแซะ และ อ.ปะทิว

นอกจากนี้ ยังคาดการณ์ว่า อาจจะเกิด Storm surge หรือคลื่นพายุซัดฝั่งในบริเวณดั่งกล่าวอีกด้วย

วันที่ 5 ม.ค. 2562

เป็นวันที่พายุโซนร้อนปาบึก กำลังจะพัดผ่านประเทศไทย จะทำให้ฝนทางภาคใต้เริ่มลดลง ทำให้เหลือพื้นที่ฝนตกหนักไม่มากนัก โดยจะมีฝนตกหนัก หลงเหลือบริเวณจังหวัดเพชรบุรีประจวบคีรีขันธ์ บางส่วนของราชบุรี

 

ภาพแสดงปริมาณน้ำฝนจากแบบจำลอง ในช่วงวันที่ 5 ม.ค. 62

จากภาพจะเห็นว่า ปริมาณฝนตกหนักมากที่สุดจะหลงเหลืออยู่ในบริเวณของ

  • จังหวัดเพชรบุรี
  • ตอนบนของประจวบคีรีขันธ์

วันที่ 6 ม.ค. 2562

ตัวของพายุโซนร้อนปาบึก จะพัดผ่านประเทศไทยออกไป ดังนั้นพื้นที่ที่จะมีฝนตกหนักนั้นจะหายไป คงเหลือแต่ฝนฟ้าคะนองกระจายบ้างส่วนที่ยังคงส่งผลกระทบต่อประเทศไทย บริเวณทางใต้และภาคตะวันตกของประเทศ

ปริมาณน้ำฝนสะสม ที่คาดการณ์ว่า จะมีฝนตกหนัก-หนักมาก

สรุปกราฟแสดงประมาณน้ำฝนสะสมในจังหวัดที่คาดว่าจะมีปริมาณฝนตกหนัก – หนักมาก ระหว่างวันที่ 2 – 10 ม.ค. 62 ที่เป็นผลกระทบจากพายุโซนร้อนปาบึก

คาดการณ์ปริมาณฝนสะสม รายอำเภอ ของจ.ชุมพร

 

คาดการณ์ปริมาณฝนสะสม รายอำเภอ ของจ.สุราษฯ
คาดการณ์ปริมาณฝนสะสม รายอำเภอ ของจ.สุราษฯ

 

คาดการณ์ปริมาณฝนสะสม รายอำเภอ ของจ.นครศรีธรรมราช

 

คาดการณ์ปริมาณฝนสะสม รายอำเภอ ของจ.ปัตตานี
คาดการณ์ปริมาณฝนสะสม รายอำเภอ ของจ.ปัตตานี

 

คาดการณ์ปริมาณฝนสะสม รายอำเภอ ของจ.นราธิวาส

 

คาดการณ์ปริมาณฝนสะสม รายอำเภอ ของจ.เพชรบุรี

แผนที่แสดงปริมาณน้ำฝนสะสมจากแบบจำลองสภาพอากาศเชิงตัวเลข

ย้อนหลังพายุโซนร้อนพัดขึ้นฝั่งบุกไทย 

จากอดีตที่ผ่านมานั้น ประเทศไทยเคยมีพายุโซนร้อน-พายุไต้ฝุ่น พัดขึ้นฝั่งมาเป็นระยะๆ หากนับระยะเวลาจากพายุโซนร้อนลินดา พัดขึ้นฝั่งประจวบคีรีขันธ์เมื่อปี 2540 หรือเมื่อราว 21 ปีก่อน พายุโซนร้อนปาบึก จึงถือเป็นพายุลูกใหญ่ที่สุดในรอบ 20 ปี ก็ว่าได้ ที่จะพัดขึ้นเข้าประเทศไทย แต่ยังถือว่า เป็นพายุที่มีความเร็วใกล้จุดศูนย์กลางน้อยที่สุด คือราว 65 กม./ชม. เท่านั้น

ภาพถ่ายดาวเทียม พายุโซนร้อนปาบึก

พายุโซนร้อน แฮเรียต

หากย้อนหลับไปเมื่อราว 37 ปีก่อน (พ.ศ.2505) พายุโซนร้อนแฮเรียต พัดขึ้นฝั่งประเทศไทยในช่วงเดือน ต.ค. โดยก่อตัวขึ้นราวฝันที่ 22 ต.ค. ก่อนจะสลายตัวไปในวันที่ 30 ต.ค. 2505

พายุแฮเรียต มีความเร็วลมใกล้จุดสูงกลางสูงถึง 90 กม./ชม.  โดยขึ้นฝั่งที่แหลมตะลุมพุก ก่อให้เกิดความเสียหายกับทางภาคใต้ของประเทศอย่างมาก กินพื้นที่ 12 จังหวัดภาคใต้

พายุไต้ฝุ่นเกย์

พายุไต้ฝุ่นนั้นเป็นพายุที่มีความรุนแรงมากกว่า พายุโซนร้อน ซึ่งพายุไต้ฝุ่นเกย์นั้น ก่อตัวขึ้นทางอ่าวไทยช่วงวันที่ 1 พ.ย. 2532 หลังจากนั้นพัดข้ามคาบสมุทรมลายู และทวีกำลังแรงขึ้นเรื่อย ก่อนสลายตัวไปในวันที่ 10 พ.ย. 2532

พายุเกย์นั้นพัดขึ้นฝั่งบริเวณอ.บางสะพาน อ.บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขัน, อ.ท่าแซะ อ. ปะทิว จังหวัดชุมพร ด้วยความเร็วลมใกล้จุดศูนย์กลางราว 185 กม./ชม.

พายุใต้ฝุ่นลินดา

ก่อตัวขึ้นบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง ก่อนทวีความรุนแรงเป็นพายุโซนร้อน และเคลื่อนตัวผ่านประเทศเวียดนาม หลังจากนั้นได้เพิ่มความรุนแรงขึ้นไปอีก กลายเป็นพายุไต้ฝุ่น เคลื่อนตัวเข้าอ่าวไทยก่อนจะเริ่มอ่อนกำลังลงอีกครั้ งกลายเป็นพายุโซนร้อนลินดา ขึ้นฝั่งที่บริเวณอ.ทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีความเร็วลมใกล้จุดศูนย์กลางราว 80 กม./ชม

พายุโซนร้อนลินดา ได้สลายตัวไปในช่วงวันที่ 10 พ.ย. 2540 หลังจากก่อตัวครั้งแรกในช่วงประมาณวันที่ 31 ต.ค. 2540