ประเด็นสำคัญ
- จากสถานการณ์ความรุนแรงในเมียนมา ทำให้ 2 บริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการพลังงานสัญชาติฝรั่งเศส และ สหรัฐฯ ประกาศเตรียมถอนตัวจากการลงทุในเมียนมา
- โดยจะถอนตัวจากแหล่งยาดานา ซึ่งเป็นหนึ่งในแหล่งก๊าซที่ผลิตมี ปตท.สผ.ของไทยร่วมลงทุนด้วย
- และราว 70% ของพลังงานที่ผลิตได้จากแหล่งก๊าซยาดานา ถูกส่งมายังประเทศไทย
- คิดเป็นสัดส่วนราว 9% ของการจัดหาก๊าซธรรมชาติของประเทศ
…
จากสถานการณ์ที่ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในประเทศเมียนมาในตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา นับตั้งแต่การรัฐประหารเมียนมา ตั้งแต่เมื่อเดือน กุมภาพันธ์ 2565 ที่กองทัพเมียนมาได้ยึดอำนาจจากพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) ของนางออง ซาน ซูจี โดยอ้างว่า มีการทุจริตในการเลือกตั้ง
นับตั้งแต่นั้นสถานการณ์ในเมียนมาก็ลุกลามและรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงหลังที่มีการประกาศรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติพม่า และมีการจัดตั้งกองทัพคุ้มครองประชาชน เพื่อต่อสู้กับรัฐบาลทหารของเมียนมา มีการเปิดฉากการโจมตี นำไปสู่การสังหารหมู่ประชาชนจำนวนหลายราย และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2 บ.ยักษ์ใหญ่ประกาศถอนตัว
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ โททัลเอเนอร์จีส์ (TotalEnergies) บริษัทน้ำมันรายใหญ่ของฝรั่งเศส ได้ประกาศว่า เตรียมจะถอนตัวออกจากประเทศเมียนมา เนื่องจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในขระนี้
โดยทาง โททัลเอเนอร์จีส์ ได้ออกแถลงการณ์ระบุว่า หลังจากการรัฐประหารที่เกิดขึ้นในเมียนมา เมื่อเดือน กุมภาพันธ์ 2564 ก็มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ทางบริษัทได้ระงับโครงการที่กำลังดำเนินการอยู่ แต่ยังคงผลิตก๊าซจากแหล่งยาดานา เนื่องจากมีความจำเป็นในการผลิตไฟฟ้าให้กับชาวเมียนมา และประเทศไทย
แม้จะมีการดำเนินการอยู่ แต่มีข้อเรียกร้องจากผู้ถือหุ้น ประชาคมโลกที่เรียกร้องให้มีการหยุดเป็นช่องทางการหารายได้ให้รัฐบาลทหารของเมียนมา ผ่านทางบริษัท ซึ่งเป็นผู้ผลิตก๊าซจากแหล่งยาดานา แม้ว่าทางบริษัทจะได้หาทางออกในการคว่ำบาตรรัฐบาลเมียนมาแล้ว แต่ก็ไม่พบแนวทางอื่นใด นอกจากการยุติการผลิตในประเทศเมียนมา
ซึ่งโททัลเอเนอร์จีส์ จึงตัดสินใจที่จะเริ่มการถอนตัวออกจากประเทศเมียนมา และยุติการผลิตก๊าซจากแหล่งยาดานา โดยในขณะนี้ยังคงเหลืออายุสัญญาอีก 6 เดือน และในช่วงเวลาที่เหลืออยู่นี้ จะยังคงส่งมอบก๊าซให้กับประชาชน และคู่ค่าต่อไป
ในขณะที่ทาง บริษัทเชฟรอน (Chevron) บริษัทน้ำมันรายใหญ่ของสหรัฐฯ ก็ได้แถลงการณ์ในช่วงเวลาที่ไล่เลี่ยกัน โดยอ้างถึงสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในประเทศเมียนมา และเตรียมในการถอนการลงทุนออกจากเมียนมาด้วยเช่นกัน จากแหล่งยาดานาแห่งนี้
จับตาผลกระทบกับไทย
สำหรับแหล่งก๊าซ ยาดานาแห่งนี้ สามารถผลิตก๊าสได้ราวปีละ 6 พันล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่ง 70% หรือราว 4200 พันล้านลูกบาศก์เมตร จะถูกส่งให้กับประเทศไทย โดยโครงการผลิตก๊าซธรรมชาติยาดานา และ MGTC ประกอบด้วยผู้ร่วมทุน ได้แก่
- บริษัท TotalEnergies EP Myanmar ถือสัดส่วน 31.2% และเป็นผู้ดำเนินการ
- บริษัท Unocal Myanmar Offshore (UMOCL) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ Chevron ถือสัดส่วน 28.3%
- บริษัท PTTEPI สัดส่วน 25.5%
- Myanma Oil and Gas Enterprise (MOGE) 15%
โดยในขณะนี้ ทางปตท.สผ. อยู่ระหว่างการพิจารณาแนวทางการบริหารจัดการในเรื่องนี้ ซึ่งจะเน้นความมั่นคงสุงสุดทางด้านพลังงานของประเทศไทยและเมียนมา เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการใช้พลังงานของทั้งสองประเทศ และในขั้นตอนต่าง ๆ จะแจ้งความคืบหน้าให้ทราบต่อไป
ซึ่งจะเห็นได้ว่า ในหุ้นเกินครึ่ง จากของ Total และ Chevron ได้ประกาศถอนตัวออกไปแล้ว และเหลือเวลาอีกไม่ถึง 6 เดือนในการแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
ปตท.สผ. มีโครงการในประเทศเมียนมาที่ดำเนินการผลิตแล้วได้แก่
- โครงการซอติก้า
อยู่นอกชายฝั่งอ่าวเมาะตะมะ เป็นแหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติ
- โครงการเยตากุน
เป็นแหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติ และคอนเดนเสท โดยมีรายงานการหยุดผลิตชั่วคราวเมื่อช่วงเดือน ก.ค. 64 ที่ผ่านมา
- โครงการยาดานา
เป็นแหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติ และเพิ่งมีการขุดเจาะเสร็จสิ้นอีกหนึ่งหลุม เมื่อเดือน สิงหาคมที่ผ่านมา
- โครงการ เมียนมา เอ็ม 3
โดยโครงการนี้ยังอยู่ในระหว่างการสำรวจและเตรียมการ โดยเป็นโครงการในอ่าวเมาะตะมะ ซึ่งเมื่อ ก.ย. 64 ที่ผ่านมา บ. Mitsui ของญี่ปุ่น ก็ได้ประกาศยุติการลงทุนนับตั้งแต่เดือน ต.ค. 64 ที่ผ่านมา (สัดส่วนลงทุน 20%) ทำส่งผลให้ ปตท.สผ. กลายเป็นลงทุนในสัดส่วน 100% ของโครงการนี้
- โครงการเมียนมา เอ็ม 11
โดยโครงการอยู่ในอ่าวเมาะตะมะ และเป็นโครงการที่ปตท.สผ. ลงทุน 100%
- โครงการเมียนมา เอ็มโอจีอี 3
เป็นแหล่งบนบก
โดยจากทั้ง 3 โครงการคือซอติก้า, เยตากุน และยาดานา นั้นในขณะนี้มีสัดส่วนราว 14% ของการจัดหาก๊าซธรรมชาติในประเทศไทย โดยเฉพาะแหล่งยาดานานั้น มีการนำเข้ามาตั้งแต่ปี 2541 และมีสัดส่วนมากที่สุดคือ ราว 9% ของปริมาณการจัดหาก๊าซธรรมชาติในประเทศไทย
ในช่วงหลังปี 2556 เป็นต้นมา ไทยมีสัดส่วนของความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติจะชะลอตัวลงก็ตาม และการนำเข้าก๊าซจากเมียนมาจะลดลงจาก 16% เมื่อปี 2561 ลงเหลือ 14% ในปี 2564 ที่ผ่านมาก็ตาม
แต่ก็ยังถือว่า สัดส่วนดังกล่าวยังคงอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง และถูกใช้สำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นในระยะเวลา 6 เดือนที่เหลืออยู่นี้ คงต้องติดตามแผนในการแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นนี้ว่าจะเป็นไปในทิศทางใด
ซึ่งหากการจัดหาก๊าซจากเมียนมายังคงเดินหน้าต่อไป ก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยเท่าใดนัก หากแต่การดำเนินการหยุดชะงักไปและการจัดหาก๊าซจากแหล่งอื่น ที่มีต้นทุนที่สูงกว่า ก็น่าจะส่งผลกระทบต่อ “ค่าไฟฟ้า” ของไทยได้
และที่ผ่านมา จากการปิดซ่อมแซมท่อก๊าซจากแหล่งยาดานานั้น ทำให้ต้องมีการสำรองน้ำมันเตา น้ำมันดีเซล สำหรับโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้น รวมถึงการปรับแผนสำรองก๊าซจากฝั่งตะวันออก เพื่อชดเชยส่วนที่หายไป สำหรับโรงไฟฟ้าฝั่งตะวันตกประกอบด้วย
- โรงไฟฟ้าราชบุรี
- โรงไฟฟ้าราชบุรีพาวเวอร์
- โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ
- โรงไฟฟ้าพระนครใต้
- โรงไฟฟ้าไตรเอ็นเนอยี่
- โรงไฟฟ้าวังน้อย
แต่ทั้งหมดเกิดขึ้นในช่วงสั้น ๆ ไม่กี่วัน จึงไม่ก่อให้เกิดผลกระทบกับการผลิตไฟฟ้าและค่าไฟฟ้า
ดังนั้นสถานการณ์ที่เกิดขึ้น จึงคงต้องเฝ้าติดตามการ
ที่มา
- https://totalenergies.com/media/news/press-releases/totalenergies-withdraws-myanmar
- https://www.set.or.th/set/pdfnews.do?newsId=16427214121201&sequence=0
- https://www.theguardian.com/world/2022/jan/21/chevron-and-total-withdraw-from-myanmar-gas-project
- http://www.eppo.go.th/