ข่าวสดวันนี้ พายุปลาบึก มาเลเซีย เวียดนาม

‘พายุปาบึก’ ไม่ได้จ่อถล่มแค่ไทย เวียดนาม มาเลย์ โดนด้วย

พายุปาบึกส่งผลกระทบต่อหลายประเทศ อาทิ มาเลเซีย เวียดนาม และทางตอนใต้ของประเทศไทย ผลกระทบต่อมาเลเซีย กรมอุตุนิยมวิทยามาเลเซีย (MetMalaysia)ออกประกาศระบุว่า พายุโซนร้อนปาบึก จะพัดมาขึ้นฝั่งมาเลเซียในวันที่ 3-4 ม.ค. 2561 คาดว่าจะมีลมแรงบริเวณน่านน้ำนอกรัฐกลันตัน ตรังกานูและปะหัง…

Home / NEWS / ‘พายุปาบึก’ ไม่ได้จ่อถล่มแค่ไทย เวียดนาม มาเลย์ โดนด้วย

พายุปาบึกส่งผลกระทบต่อหลายประเทศ อาทิ มาเลเซีย เวียดนาม และทางตอนใต้ของประเทศไทย

ผลกระทบต่อมาเลเซีย

กรมอุตุนิยมวิทยามาเลเซีย (MetMalaysia)ออกประกาศระบุว่า พายุโซนร้อนปาบึก จะพัดมาขึ้นฝั่งมาเลเซียในวันที่ 3-4 ม.ค. 2561 คาดว่าจะมีลมแรงบริเวณน่านน้ำนอกรัฐกลันตัน ตรังกานูและปะหัง

ทั้งนี้ทางการมาเลเซียได้เตือนภัยในระดับสีส้ม หลังจากพายุกระทบฝั่งตะวันออกในเช้าวันนี้และคาดว่าพายุจะเข้าโจมตีทางฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือต่อไป โดยมีการแจ้งเตือนทุกหน่วยงานเพื่อเตรียมความพร้อมที่จะเผชิญกับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น นอกจากนี้ยังมีการเตรียมเบอร์โทรสายด่วนในกรณีที่ประชาชนเผชิญเหตุฉุกเฉิน หรือต้องการความช่วยเหลือใด ๆ

ผลกระทบต่อเวียดนาม

หน่วยบริการทางการบินในเวียดนามปรับเปลี่ยนเที่ยวบินระหว่างโฮจิมินห์ซิตี้และเมืองแคนโถว รวมถึงเกาะกาดดาวในจังหวัดชายฝั่งทะเลทางใต้ของเมืองบาเรีย เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น หลังจากพายุปาบึกก่อตัวขึ้น  นอกจากนี้ยังมีการยกเลิกเที่ยวบินในบางพื้นที่ในวันที่ 2-3 ธันวาคม 2561 ด้วย

ทั้งนี้เกิดฝนตกหนักในหลายพื้นที่ มีปริมาณน้ำฝนในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงโฮจิมินห์มีแนวโน้มอยู่ในช่วง 40-80 มม. และคาดว่าอาจจะมีปริมาณน้ำฝนสูงถึง 200 มม. ต่อวัน

พายุปาบึก เคลื่อนตัวอยู่ห่างจากทางตอนใต้ของเวียดนามราว ๆ 460 กิโลเมตร ความเร็วลมสูงถึง 75 กม. ต่อชั่วโมงในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา โดยเคลื่อนที่ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ไปทางอ่าวไทยและมุ่งหน้าไปยังจังหวัดชายฝั่งทะเลของจังหวัดนครศรีธรรมราช ชุมพรและสุราษฎร์ธานี

วิธีการรับมือกับวาตภัย

1. การเตรียมความพร้อมของหน่วยงาน มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

-การเตรียมความพร้อมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมรับสถานการณ์วาตภัย ที่จะต้องหาทางช่วยเหลือ ป้องกันชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน ไม่ให้เกิดความเสียหายหรือพยายามให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด มีวิธีดังนี้

-จัดตั้งหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการรับผิดชอบงานด้านนี้โดยเฉพาะ เพื่อให้ทันในเวลาฉุกเฉิน ซึ่งจะมีหน้าที่ในการวางแผนปฏิบัติการ จัดเตรียมอุปกรณ์ และเผยแพร่ความรู้ต่าง ๆ ให้กับประชาชนด้วย

-มีการจัดตั้งระบบเพื่อใช้ในการเตือนภัย และช่วยเหลือผผู้ประสบภัย โดยจะต้องมีการกระจายข่าว ประกาศย้ำเตือนบ่อย ๆ เมื่อเกิดลมพายุ ซึ่งหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการรับผิดชอบคือ กรมอุตุนิยมวิทยา กรมประชาสัมพันธ์ กรมการปกครอง กรมทางหลวง องค์การรถไฟ กรมเจ้าท่า กรมประมง กองตำรวจน้ำ กองทัพเรือกองทัพอากาศ และกรมประชาสงเคราะห์

2. การเตรียมตัวป้องกันอันตรายเมื่อทราบข่าวว่ากำลังจะเกิดวาตภัย เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ให้เราทำตามดังนี้

-ติดตามฟังข่าวจากแหล่งที่น่าเชื่อถือได้ และปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด

-หากอาศัยอยู่ในที่ราบหรือบริเวณริมน้ำ ควรรีบทำการอพยพผู้คน สัตว์เลี้ยง และทรัพย์สินขึ้นไปอยู่ในที่สูง เพื่อเป็นการป้องกันน้ำท่วมเฉียบพลัน

-ปิดประตู-หน้าต่าง ให้แน่นหนา โดยเฉพาะประตู-หน้าต่างที่เป็นกระจก ควรหาไม้ตอกตรึง หรือหาเทป กาวหนังกาวกระดาษปิดทับให้แน่น เพื่อป้องกันลมแรงกระจกแตก การปิดประตูหน้าต่าง จะช่วยปิดกั้นช่องการพัดผ่านของลมได้

-ก่อนที่พายุจะมา ให้เราเก็บสิ่งของต่าง ๆ เช่น รถยนต์ เสื้อผ้า ฯลฯ และอพยพสัตย์เลี้ยงไว้บนที่สูง

-เตรียมเครื่องมือช่างเอาไว้ด้วย เช่น ตะปู ค้อน ลวด ฯลฯ เพื่อนำมาทำเป็นแพไม้หรือแพถังน้ำมัน สำหรับใช้ในการอพยพ

-ควรดับไฟในเตา ปลดสะพานไฟฟ้า ปิดวาล์วแก๊ส

-จัดเตรียมน้ำ อาหารแห้ง ยารักษาโรค ให้พร้อม

-เตรียมตะเกียง ไม้ขีดไฟ ไฟฉาย พร้อมถ่านแบตเตอรี่เอาไว้ด้วย เผื่อไฟฟ้าเกิดดับขึ้นมา เราจะได้ไม่ต้องลำบากในการหาไฟฉาย เพราะมันอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ (ถ้าเราอยู่ในที่มืด ทำให้ขยับตัวได้ยาก)

3. ขณะที่กำลังเกิดวาตภัย เราต้องพยายามที่จะต้องควบคุมสติให้ดี ขณะที่กำลังเกิดพายุ

-ไม่ควรเดินออกมาภายนอกอาคาร
-ไม่ควรอยู่ในพื้นที่ลุ่ม หรือริมน้ำ

4. หลังจากเกิดวาตภัย เราควรปฎิบัติดังนี้

-เมื่อพายุสงบลงแล้ว เราควรที่จะรอสักประมาณ 3 ชั่วโมง แล้วค่อยออกไปข้างนอกอาคาร เพื่อความปลอดภัยของตนเอง

-หากมีผู้ได้รับบาดเจ็บให้เข้าช่วยเหลือในทันที หรือนำตัวส่งโรงพยาบาล

-หากมีสิ่งของหักพัง หรือต้นไม้ล้ม ควรเก็บหรือจัดการให้ปลอดภัย

-ถ้าท่อน้ำประปาแตก ไม่ควรใช้น้ำประปา เพราอาจทำให้เกิดโรคได้ เราควรที่จะรีบแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบแล้วทำการแก้ไข

-หากมีเสาไฟฟ้าล้ม สายไฟขาด อย่าเข้าใกล้ ให้ทำเครื่องกีดขวาง เพื่อแจ้งอันตราย และแจ้งให้เจ้าหน้าที่มาจัดการโดยเร็ว

ที่มา e.vnexpress.net