ข่าวต่างประเทศ รังสีคอสมิก อิสราเอล

ดาวเทียมอิสราเอล ‘เทาแซต-3’ เริ่มทดสอบเทคโนโลยีป้องกัน ‘รังสีคอสมิก’

เทาแซต-3 (TauSat-3) ดาวเทียมของอิสราเอล เดินทางถึงสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) แล้ว

Home / NEWS / ดาวเทียมอิสราเอล ‘เทาแซต-3’ เริ่มทดสอบเทคโนโลยีป้องกัน ‘รังสีคอสมิก’

ประเด็นน่าสนใจ

  • เทาแซต-3 (TauSat-3) ดาวเทียมของอิสราเอล เดินทางถึงสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) แล้ว
  • ถูกออกแบบมาเพื่อทดสอบเทคโนโลยีการป้องกันระบบในอวกาศจากรังสีคอสมิก
  • เป็นเทคนิคสำหรับการตรวจจับและลดความเสียหายจากรังสีคอสมิกที่มีต่อระบบต่าง ๆ ในอวกาศ

มหาวิทยาลัยเทลอาวีฟ (TAU) เปิดเผยว่าเทาแซต-3 (TauSat-3) ดาวเทียมของอิสราเอลซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อทดสอบเทคโนโลยีการป้องกันระบบในอวกาศจากรังสีคอสมิก ได้เดินทางถึงสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) อย่างปลอดภัยแล้ว

เทาแซต-3 ซึ่งมีขนาดเท่ากับกล่องรองเท้า เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อทดสอบเทคนิคใหม่ที่เรียกว่า “คอตส์-แคปซูล” (COTS-Capsule) ซึ่งเป็นเทคนิคสำหรับการตรวจจับและลดความเสียหายจากรังสีคอสมิกที่มีต่อระบบต่าง ๆ ในอวกาศ

คณะผู้เชี่ยวชาญจากมหาลัยฯ ออกแบบและสร้างดาวเทียมดังกล่าว โดยดาวเทียมนี้จะประจำการและปฏิบัติหน้าที่บนสถานีอวกาศนานาชาติ โดยปัจจุบันดาวเทียมดังกล่าวกำลังดำเนินการเชื่อมต่อกับสถานีภาคพื้นโลก

คณะนักวิจัยเผยว่าคอตส์-แคปซูลจะทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เชิงพาณิชย์สมัยใหม่สามารถใช้งานในอวกาศได้ด้วยการผนวกปกรณ์เหล่านั้นในไว้สภาพแวดล้อมที่ได้รับการปกป้อง

คณะนักวิจัยระบุว่าปัจจุบัน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศนั้นจะต้องผ่านการดัดแปลงโดยเฉพาะ เพื่อหลีกเลี่ยงรังสี ทว่าการป้องกันโดยคอตส์-แคปซูลจะทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เชิงพาณิชย์สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องมีการดัดแปลง

“เทคนิคนี้จะทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัยสามารถใช้งานได้เลย ทั้งประหยัดเวลาในการพัฒนาและประหยัดต้นทุนผลิตภัณฑ์อวกาศได้อย่างมีนัยสำคัญ” คณะนักวิจัยกล่าว

ทั้งนี้ ดาวเทียมเทาแซต-3 ถูกยิงขึ้นสู่อวกาศโดยจรวดฟัลคอน 9 (Falcon 9) จากศูนย์อวกาศเคนเนดี ในรัฐฟลอริดาของสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. ก่อนจะถูกส่งไปยังสถานีอวกาศนานาชาติด้วยยานคาร์โก ดรากอน ซี209 (Cargo Dragon C209)

ที่มา : Xinhua