ย้อนดูอีกครั้ง ภาพเมื่อครั้งงูเหลือมเลื้อยพันรอบอนุสาวรีย์เสด็จเตี่ย ก่อนเกิดพายุไต้ฝุ่นเกย์พัดถล่มชุมพรเมื่อปี 2532
วันนี้ (4 ม.ค. 2562) ในโลกออนไลน์ได้เกิดเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง เมื่อผู้คนจำนวนมากได้พากันส่งต่อภาพหาชมยากขณะเกิดเหตุมีงูเหลือมขนาดใหญ่เลื้อยพันรูปปั้นของกรมหลวงชุมพร ที่ประดิษฐานอยู่บริเวณสวนสาธารณะของจังหวัดชุมพร ก่อนเกิดเหตุการณ์พายุไต้ฝุนเกย์พัดถล่ม เมื่อปี 2532
โดยภาพดังกล่าวถูกเผยแพร่ผ่านผู้ใช้เฟซบุ๊ก SalaWut Chimpan ที่โพสต์ไว้เมื่อปี 2014 และเว็บไซต์ chumphonland.com ซึ่งเผยให้เห็นว่ามีชาวบ้านจำนวนหนึ่งช่วยกันแกะงูเหลือมตัวขนาดใหญ่ ออกจากอนุสาวรีย์ของกรมหลวงชุมพรฯ หรือ เสด็จเตี่ย หลังจากมันได้เลื้อยพันรอบตัว เพื่อเป็นที่พึ่งพิงในการหลบหนีภัยพิบัติในครั้งนี้ ก่อนที่ผู้โพสต์จะมีข้อความระบุว่า
พี่น้องครับเคยได้ยินแต่เรื่องเล่า…งูเหลือม ขึ้นกรมหลวงชุมพร 20 กว่าปีก่อน ที่ จ.ชุมพร
บ้างป่ะครับ เป็นเรื่องจริงนะครับ เพิ่งจะได้เห็นภาพก็วันนี้แหละครับ เห็นแล้วขนลุก สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยเห็นภาพดังกล่าว กับสิ่งที่หน้าแปลก และหน้าอัศจรรย์มากๆ
ทั้งนี้แม้ภาพดังกล่าวถูกเผยแพร่มาแล้วเมื่อหลายปีก่อน เนื่องจากเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนพายุเกย์จะพัดถล่มชุมพรเพียง 1 วัน แต่ก็ยังทำให้มีคนนำมาแชร์ พร้อมเชื่อมต่อกับเหตุการณ์พายุโซนร้อนปาบึกพัดถล่มในหลายจังหวัดทางภาคใต้ของไทยอยู่ในขณะนี้ ที่เผยว่า
ก่อนเกิดเหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติ พวกสัตว์ต่างๆ และระบบนิเวศน์มักจะส่งสัญญาณแปลกๆ เสมอ แถมไม่กี่วันที่พายุโซนร้อนจะพัดขึ้นฝั่งในวันนี้ (4 ม.ค. 2562) ก็ได้เกิดภาพแปลกตาท้องฟ้าในหลายจังหวัดที่คาดว่าพายุลูกนี้จะพัดผ่านก็เกิดเป็นสีแดงดูสวยงาม แต่แฝงความน่ากลัวอย่างไม่น่าเชื่อด้วย
สำหรับ พายุไต้ฝุ่นเกย์ เป็นพายุหมุนเขตร้อนทรงพลัง ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างหนักในจังหวัดชุมพร และประเทศอินเดียฝั่งตะวันออก ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2532 โดยเคลื่อนเข้าสู่ภาคใต้ตอนบนด้วยความเร็วถึง 185 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ซึ่งเป็นความเร็วของพายุไต้ฝุ่นในระดับ 3 ถล่ม อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ อำเภอบางสะพานน้อย และอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อำเภอท่าแซะ และอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร สร้างความเสียหาย มหาศาล แก่บ้านเรือน พื้นที่เกษตรกรรม และทำให้ มีผู้เสียชีวิตไปถึง 537 คน บาดเจ็บ 154 คน
ซึ่งพายุไต้ฝุ่นเกย์ถือเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่สร้างความเสียหายให้กับประเทศไทยมากที่สุดลูกหนึ่ง นับตั้งแต่พายุโซนร้อนแฮเรียตถล่มแหลมตะลุมพุก ในปีพ.ศ. 2505
ข้อมูลภาพจาก SalaWut Chimpan และ chumphonland.com